6 โรค ที่เกิดในฤดูร้อน

6 โรค ที่เกิดในฤดูร้อน



ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ฤดูร้อน อากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคอย่างมาก โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย ยิ่งพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาด ยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาดของโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ จึงของให้ระมัดระวังความสะอาดของอาหารและน้ำดื่มเป็นพิเศษ และยึดหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวันง่ายๆ ได้แก่ กินร้อน คือ กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ หากยังไม่กิน ต้องเก็บในตู้เย็นหรืออุ่นให้ร้อนก่อนกิน ใช้ช้อนกลางในการกินอาหารร่วมกัน  ล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังใช้ห้องน้ำห้อมส้วม ดื่มน้ำที่สะอาด เช่น น้ำดื่มบรรจุขวดที่มีเครื่องหมาย อย. หรือน้ำต้มสุก

1. โรคอุจจาระร่วง เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปโตซัว พยาธิ ทำให้มีการถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นมูกเลือด




2. โรคอาหารเป็นพิษ ติดต่อโดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ มักพบในอาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ ซึ่งมีอยู่ทั้งในเนื้อสัตว์ ไข่ รวมทั้งอาหารกระป๋อง อาหารทะเล นมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ หรืออาหารที่ปรุงทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาการที่มักมีไข้ ปวดท้อง เชื้อที่ได้รับสามารถทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะอาหารและลำไส้ ปวดท้อง ปวดเมื่อยคลื่นไส้ อาเจียน อุจจารร่วง หรือการติดเชื้อจากอวัยวะอื่น เช่น ข้อกระดูก ถุงน้ำดี หัวใจ ปอด ไต เยื่อหุ้มสมองไปจนถึงโลหิตเป็นพิษ ถ้าเกิดในทารถ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ จะทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้



3. โรคบิด เกิดจากแบคทีเรียหรืออะมิบา ติดต่อได้โดยการรับประทานอาหาร ผักดิบ น้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค อาการสำคัญ คือ ถ่ายอุจจาระบ่อย อุจจาระมีมูกหรือมูกปนเลือด มีไข้ ปวดท้องแบบปวดเบ่ง



4.  อหิวาตกโรค เกิดจากเชื้ออหิวาตกโรค ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียติดต่อจากอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อปน จะเกิดอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำคราวละมากๆ โดยไม่มีอาการปวดท้อง และมีอาการขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว เช่น กระหายน้ำ อ่อนเพลีย ปัสสาวะน้อย ชีพจรเต้นเร็ว อาจเกิดภาวะช็อก หมดสติจากการเสียน้ำ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจถึงตายได้



5. ไข้ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดน้อย ติดต่อจากอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระและปัสสาวะของผู้ป่วย ทำให้มีไข้ปวดหัว เมื่อย เบื่ออาหาร อาจท้องผูกหรือท้องเสีย อาจมีเชื้อปนออกมากับอุจจาระและปัสสาวะเป็นครั้งคราว และเป็นพาหะนำโรคได้ โรคติดต่อทางอาหารและน้ำส่วนใหญ่เชื้อจะติดต่อทางการรับประทานอาหารและน้ำดื่ม ควรรับประทานอาหารสุกใหม่ ไม่รับประทานอาหารที่มีแมลงวันตอม การรักษาเริ่มแรก ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (โออาร์เอส) ในสัดส่วนที่ถูกต้อง คือ ผสมน้ำตาลเกลือแร่ 1 ซอง ผสมน้ำสุกที่เย็น 1 แก้ว ให้ดื่มบ่อยๆ และควรดื่มน้ำและอาหารเหลว เช่น น้ำชา น้ำข้าว น้ำแกงจืด น้ำผลไม้ หรือข้าวต้มหากมีอาเจียนมากขึ้น ไข้สูงชัก ควรนำส่งแพทย์โดยเร็ว



6. โรคพิษสุนัขบ้า หรือ โรคกลัวน้ำ มักเกิดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน ส่วนใหญ่พบในสุนัข แมว ติดต่อได้ทั้งการโดนกัด หรือถูกเลียบริเวณที่มีแผลถลอก หรือ น้ำลายสัตว์ที่มีเชื้อเข้าตา ปาก จมูก หากถูกกัด ให้รีบล้างแผลด้วยสบู่หรือน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง แล้วรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำและฉีดวัคซีนป้องกัน ถ้าไม่ได้รับการรักษา จะมีอาการภายใน 15-60 วัน บางรายอาจนานเป็นปี โรคพิษสุนัขบ้ายังไม่มียารักษา ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตทุกรายภายใน 2-7 วัน หลังแสดงอาการ จึงต้องรีบให้วัคซีนทันทีเมื่อได้รับเชื้อ และแจ้งให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบทันที เพื่อเข้าควบคุมโรคในพื้นที่



ด้วยความปราถนาดีจาก
โรงพยาบาลสายไหม
www.saimai.co.th
0-2991-89999

#โรคที่เกิดในฤดูร้อน

กินถั่วเมล็ดรูปไต ป้องกันโรคมะเร็ง

กินถั่วเมล็ดรูปไต 
ป้องกันโรคมะเร็ง


กล่าวเรื่องคุณประโยชน์ของถั่วกันไม่มีวันหมด



วันนี้จะขอกล่าวถึงคุณค่าถั่วเมล็ดรูปไต อันได้แก่ ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วขาว ถั่วกันเนลลินี ถั่วปิ่นโต และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ที่คนไทยอย่างเราๆ คุ้นเคย หาซื้อง่าย ราคาสบายกระเป๋า ก็คือ ถั่วแดงและถั่วดำ

สรรพคุณโดดเด่นของถั่วเมล็ดรูปไตคือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงกระดูก ลดระดับคลอเรสเตอรอล รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล ช่วยควบคุมน้ำหนัก เพราะเส้นใยที่มีมากในถั่ว ช่วยคุณรู้สึกอิ่มท้องได้นานขึ้น ทำให้ร่างกายมีพลังงานสม่ำเสมอ

อีกทั้งสารลิกแนน สารซาโพนิน และสารยับยั้งโปรทีเอสในถั่วเมล็ดรูปไตยังช่วยป้องกันโรคมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก

มาเพิ่มเมนูถั่วให้อยู่คู่ครัวกันเถอะค่ะ



Tips
-  เพื่อลดปริมาณก๊าชของถั่วเมล็ดรูปไตจากคาร์โบไฮเดรสที่ชื่อ โอลิโกแลคซาไรด์ ควรนำถั่วไปแช่น้ำและเทน้ำทิ้งก่อนนำไปปรุงอาหาร

- เพิ่มความสะดวกในการนำถั่วมาประกอบอาหาร โดยการต้มถั่วครั้งละมากๆ แล้วแบ่งใส่ถุงเล็กๆ เก็บไว้ในช่องแช่แข็งได้นาน 2 สัปดาห์

- นำถั่วที่ต้มแล้วมาบดผสมกับน้ำมะนาว น้ำมันมะกอก ปรุงรสด้วยเกลือและพริกไทย ใช้ทา
แซนวิสแทนมายองเนส ได้ประโยชน์พร้อมความอร่อย






#ป้องกันโรคมะเร็ง

หอมหัวใหญ่สู้โรคหัวใจ+มะเร็ง

หอมหัวใหญ่สู้โรคหัวใจ+มะเร็ง


ถึงแม้ว่าจะเสียน้ำตาทุกครั้งที่ต้องปอกและหั่นหอมหัวใหญ่ ทานสลัดหรือใส่ในน้ำสต๊อก ชมนาดก้ไม่เคยต้อแต้

เพราะเป็นแฟนคลับผักกลิ่นฉุนกำลังดีชนิดนี้อย่างเหนียวแน่น

ยิ่งมาอ่านงานวิจัยมากมายที่ยืนยันประโยชน์ของหอมหัวใหญ่ จึงมีความรักให้ผักชนิดนี้เกินร้อย


กินหอมหัวใหญ่กำราบสารพัดโรค
โรคหัวใจและหลอดเลือด

ข้อมูลจากหนังสือ สารานุกรมผัก ของ ศาสตราจารย์ ดร.ทวีทอง  พงษ์วิวัฒน์ อธิบายว่า

มีความเชื่อมาตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 แล้วว่า หอมหัวใหญ่ สรรพคุณ  ช่วยรักษาหัวใจและการหมุนเวียนเลือดในร่างกาย โดยชาวฝรั่งเศสใช้หอมหัวใหญ่เลืียงม้าที่มีปัญหาการไหลเวียนเลือด



ในปี ค.ศ.1975  นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ พบว่า ในหอมหัวใหญ่มีสารไซโคลแอลลิซีนที่สามารถละลายลิ่มเลือดที่จับตัวกันในหลอดเลือดได้ และในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน การวิจัยในฮอลแลนด์และฟินแลนด์ พบว่า เควอร์เซทิน (Quencetin) ซึ่งเป็นสารฟลาโวนอยด์ชนิดหนึ่ง มีมากในพืชตระกูลหอม ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน

ในปี ค.ศ.1985 นักวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบหลอดเลือดแห่งเมือนบอสตัน สหรัฐอเมริกา พบว่า หอมหัวใหญ่ไม่เพียงแค่ช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลรวมในเลือดเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มคลอเรสเตอรอลดี หรือ HDL (High-density Lipoprotein) ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้อย่างมีนัยสำคัญ

สารพัดมะเร็ง
นอกจากนี้ผักสุดโปรดของชมนาดยังติดอันดับหนึ่งในสิบของผักที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งด้วย

มีงานวิจัยเรื่องหนึ่งทำการศึกษากับจำนวนคน 582 คน พบว่า คนที่เพิ่มปริมาณการกินหอมหัวใหญ่ จะช่วยลดความเสียงของการเกิดมะเร็งปอดได้


นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร็เนลด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า การกินหอมหัวใหญ่จะมีกลิ่นฉุน จะมีสารที่ออกฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่ได้ดีกว่าหอมหัวใหญ่ที่มีกลิ่นอ่อนๆ

อีกทั้งนักวิจัยกลุ่มหนึ่งในสหรัฐอเมริกายังพบว่า หอมหัวใหญ่ ซีเรียล และธัญพืชชนิดต่างๆ ถือเป็นอาหารที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้

โรคกระดูกพรุน
นอกจากนี้ยังมีการตีพิมพ์ผลการศึกษาเรื่องหนึ่งใน Journal of Agriculture and Food Chemistry ว่า หอมหัวใหญ่จะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก จึงช่วยลดโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้


มากมายประโยชน์ขนาดนี้ เป็นใครก็ต้องเสียน้ำตาให้การหั่นหอมหัวใหญ่ ใช่ไหม

#หอมหัวใหญ่ สรรพคุณ

ธรรมชาติบำบัดดูแล "้หัวใจ" ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว

ธรรมชาติบำบัดดูแล "หัวใจ" 
ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว


หัวใจแข็งแรง แฝงไว้ 2 ความหมาย
อาจหมายถึง ความเข้มแข็งทางจิตใจ
หรือสุขภาพของหัวใจที่แข็งแรง

ใน 2 ความหมายนี้ มีส่วนเชื่อมโยงกันอยู่
หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแข็งแรงสมบูรณ์ดี
อีกฝ่ายก็น่าจะแข็งแรงตามไปด้วย

เพราะฉะนั้นมาดูแล "หัวใจ" ด้วยพืชสมุนไพรกันดีกว่า
หาง่าย ไม่แพง แถมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย

ได้แก่


กระเทียม ช่วยลดการอุดตันของไขมันในหลอดเลือด

พริก ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดสุมดุล ลดอาการใจสั่น

ขิง ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด

ใบแปะก๊วย ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดงและดำ

เตยหอม ช่วยบำรุงหัวใจ ดับกระหาย สดชื่น



ใครชอบแบบไหนเลือกแบบนั้นเลยจ้า..... 

อาหารเช้าคือมือที่สำคัญที่สุด

อาหารเช้าคือมือที่สำคัญที่สุด




ในสังคมปัจจุบันนี้เกือบ 80 เปอร์เซนต์ที่คนส่วนใหญ่ 
มิได้ให้ความสำคัญกับอาหารเช้า เนื่องจากต้องเร่งรีบเวลา
เพื่อไปเรียนหรือทำงาน คนไทยเราจะให้ความสำคัญกับอาหารเย็น เน้นว่าเป็นมื้อที่ต้องรับประทานอาหารหนักๆ มากกว่ามื้อกลางวัน ส่วนมื้อเช้านั้นบางคนข้ามไปเลย บางคนก็ดื่มกาแฟเพียง 1 ถ้วยเท่านั้น 
บางคนก็กินขนมปังสักแผ่นเดียว สังเกตให้ดีจะพบว่า จะรู้สึกไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า ถ้ามื้อเช้าคุณไม่ได้ให้สารอาหารที่ร่างกายต้องการ คือ อาหารที่มีโปรตีนสูงและไขมันอย่างพอเพียง 




อาหารเช้าที่หนักเกินไปก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ร่างกายต้องการเพียงสารอาหารที่ครบถ้วนในปริมาณไม่มากนัก เพื่อที่คุณจะได้มีกำลังวังชา สมองปลอดโปร่ง กระปรี้กระเปร่า 

พลังงานจะอยู่ในร่างกายคุณเป็นเวลานาน และทำให้คุณไม่หิวบ่อย ถ้าได้รับประทานอาหารเช้าที่ดี อาหารเย็นไม่ควรเป็นมื้อหนักสำหรับเรา



เด็กเป็นอีสุกอีใส

เด็กเป็นอีสุกอีใส

การดูแลและปฏิบัติตัวเมื่อเด็กเป็นอีสุกอีใส

โรคสุกใส หรือ อีสุกอีใส เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า วาริเซลล่า (Varicella-Zoster Virus) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด (Herpes Zoster)



การติดต่อ
ติดต่อได้ง่ายๆ โดยการหายใจรดกัน ไอจามใส่กัน การสัมผัสกับตุ่มแผลหรือตุ่มน้ำที่ผิวหนังของผู้ป่วยโดยตรง หรือสัมผัสกับของใช้ของผู้ป่วย เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม เสื้อผ้า ที่นอน หมอน เป็นต้น โดยโรคอีสุกอีใส มีระยะฟักตัว ประมาณ 10-21 วัน

อาการ
อาการของโรคจะเริ่มจากการมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดท้อง บางรายมีแผลในช่องปาก ลิ้นเปื่อยหรือเจ็บคอ ต่อมาผิวหนังจะขึ้นผื่น โดยขึ้นที่หน้าและลำตัวก่อน แล้วตามด้วยแขนขา ผื่นจะเป็นผื่นแดง เม็ดเล็กๆ มีอาการคัน แล้วกลายเป็นตุ่มพองน้ำใส (หรือตุ่มหนอง ถ้าติดเชื้อแบคทีเรีย) ผื่นหรือตุ่ม จะไม่ขึ้นพร้อมกันทั่วร่างกาย โดยผื่นหรือตุ่มแต่ละบริเวณของร่างกายอาจมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่นบางที่จะออกเป็นผื่นแดงราบ บางที่เป็นตุ่มน้ำใสๆ บางที่เป็นตุ่มกลัดหนอง และบาที่ก็เริ่มตกสะเก็ด บางรายที่มีไข้สูง มีผื่นขึ้นตามตัวมาก หรือมีอาการที่รุนแรงขึ้นจะหายใจหอบซึมลงได้ อาจพบภาวะแทรกซ้อน ซึ่งมักเกิดในผู้ใหญ่ เช่นการติดเชื้อแบคทีเรีย ปอดอักเสบ สมองอักเสบ


การดูแลและปฏิบัติตัวเมื่อเด็กเป็นอีสุกอีใส
โดยทั่วไปโรคอีสุกอีใสเป็นโรคไม่รุนแรงและหายได้เองภายใน 7-10 วัน พบภาวะแทรกซ้อนน้อยในเด้ก จึงควรดูแลให้ดี

1. แยกเด็กที่ป่วย เช่น แยกห้องเพื่อป้องกันติดเด็กคนอื่นๆ และให้หยุดเรียนไม่ไปโรงเรียน

2. ให้เด็กพักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ นอนหลับให้เพียงพอ

3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และย่อยง่าย ควรรับประทานอาหารจำพวกโปรตีน นม ไข่ ถั่วต่างๆ

4. ถ้ามีไข้ให้ยาลดไข้ พาราเซทตามอล ไม่ควรให้ยาลดไข้แอสไพริน เพราะเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่ม อาการไรน์ (Reye's syntrome) ซึ่งจะเกิดความผิดปกติกับสมองและตับได้ ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อยๆ หรือใช้แผ่นเจลลดไข้ช่วยอีกทางหนึ่งเป็นการเสริมการใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว

5. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกันหรือปะปนกันกับผู้ป่วย ทั้งของใช้และของกิน

6. เมื่อมีอาการคันให้ยาแก้คัน ยาแก้แพ้ หรือยาทา คาลาไมน์โลชั่น ตัดเล็กเด็กให้สั้น และพยายามไม่แกะหรือเกาตุ่มคัน ซึ่งอาจทำให้ติดเชื้อจนเป็นตุ่มหนองตามมาได้

7. ควรอาบน้ำ ฟอกสบู่ให้สะอาด

8. ถ้ามีอาการปากเปี่อยหรือลิ้นเปื่อย ให้ใช้น้ำเกลือกลั้วปาก

9. หากมีอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น ไข้สูง ซึม ตุ่มพอง เป็นหนอง ไอมีเสมหะมาก เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย ให้รีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน

10. เมื่อหายจากโรคอีสุกอีใสแล้ว มักไม่ค่อยมีแผลเป็น หากมีสามารถใช้ครีมลดรอยแผลเป็นทาให้รอยหายได้ เช่น ครีมที่มีส่วนผสมของนมผึ้ง ใบบัวบก ว่านหางจระเข้ วิตามินอี เป็นต้น



คุยเฟื่องเรื่อง สุขภาพ
เภสัชกรประวิทย์  ตันติสุวิทย์กุล

อย่ากลัว "แดด" มากไป

อย่ากลัว "แดด" มากไป


แสงแดดเป็นตัวการทำร้ายผิวสวย 
ใครๆ.. ก็รู้ 
จะไม่ให้กลัวได้...

แต่การกลัวแดดมากไปจนเกินพอดี หรือพฤติกรรมในยุคปัจจุบัน
ที่ต่างพากันหลบแดด นั่งทำงานอยู่แต่ในห้องแอร์
และทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงๆ
ร่างกายจะขาดหรือพร่องวิตามิน D ได้
ทำให้มีผลต่อกระดูกและร่างกาย
ทำงานไม่ปกติ (อาจไม่เกิดทันทีทันใด)

มีงานวิจัยว่า
คนไทย 1 ใน 3 จะขาดวิตามิน D
และคนกรุงเทพพบถึงร้อยละ 64
ที่พร่องวิตามิน D
(ไม่ใช่เล่นๆ เลยนะเนี่ย)



อย่ากลัวแดดมากไปเลย
ใช้เวลาสัก 15 นาที ในตอนเช้าแดดอ่อนๆ
ออกมาสัมผัสแสงแดดบ้างๆ
สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ก็ยังดี
เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว