เบต้ากลูแคน ตัวช่วยเสริมภูมิคุ้มกันสำหรับคนทุกวัย

เบต้ากลูแคน ตัวช่วยเสริมภูมิคุ้มกันสำหรับคนทุกวัย

 เบต้ากลูแคน เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกัน ทำงานได้ดี ซึ่งเราควรกินอาหารที่มี เบต้ากลูแคน

เบต้ากลูแคน คือ อะไร?

 เบต้ากลูแคน (Beta Glucan) อาจไม่ใช่ชื่อเรียกที่คุ้นหูใครหลายคน แต่จริง ๆ แล้ว เบต้ากลูแคนเป็นสารอาหารประเภทใยอาหารชนิดละลายน้ำที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะกับการสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต้านทานต่อโรค ชะลอความเสื่อมและบำรุงร่างกายให้แข็งแรง ซึ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่หรือคนทำงานที่มีไลฟ์สไตล์อันเร่งรีบหรือมีความเครียดสะสม 

โดยทั่วไป เบต้ากลูแคนจะถูกสกัดมาจากผนังเซลล์ของยีสต์ เห็ดรา หรือพืชบางชนิดอย่างธัญพืชและรำข้าว   แม้ประโยชน์ส่วนมากของเบต้ากลูแคนจะชี้ไปที่การป้องกันโรคหัวใจหรือภาวะคอเลสเตอรอลสูง แต่มีงานวิจัยบางส่วนพบว่า เบต้ากลูแคนมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิต้านทานของคนเราเช่นกัน โดยเฉพาะเบต้ากลูแคนที่สกัดจากยีสต์ สารอาหารดังกล่าวจึงถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อดูแลสุขภาพ อีกทั้งยังมีนำเบต้ากลูแคนมาศึกษาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาเสริมของโรคมะเร็งด้วย

ซึ่งนอกจากอาหารที่ทาน เดี๋ยวนี้ก็มีขนมที่ทำมาทาน เช่น เห็ดนางฟ้าอบกรอบ ทานได้ง่ายและมีประโยชน์


พริกไทย กับ ขมิ้นชัน

พริกไทย กับ ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน


สรรพคุณ ขมิ้นชัน
  • ขมิ้นมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยในการชะลอวัยและชะลอการเกิดริ้วรอย
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนังมีสุขภาพดีแข็งแรง
  • ขมิ้นชันอาจมีบทบาทช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก
  • ขมิ้นสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้
ยังไว้เพิ่มสีสรรให้อาหารน่าทานมากขึ้น

พริกไทย


 

พริกไทย สุดยอดสมุนไพรตำรับยาอายุวัฒนะและตำรับยาของอายุรเวทที่ใช้กันมาประมาณ 4000 ปี พริกไทยเป็นสมุนไพรที่ต้องทำงานร่วมกับสมุนไพรตัวอื่น จึงจะเกิดผลดีสูงสุด หมอยาพื้นบ้านมักจะสั่งสอนลูกศิษย์ว่า พริกไทยเป็นยาเสริมพลังยาตัวอื่นเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อน เช่น ตำรับยาอายุวัฒนะหลายๆตำรับ


จากงานศึกษาวิจัยสมัยใหม่ พบว่า พริกไทยช่วยทำให้ระบบการดูดซึมสารอาหารและตัวยาต่างๆของร่างกายดีขึ้น เช่น เมื่อทานขมิ้นชันร่วมกับพริกไทย จะทำให้สารเคอร์คิวมินและสารบีตาแคโร-ทีน ในขมิ้นถูกดูดซึมได้ดีขึ้น ในข    ณะเดียวกันพริกไทยจะออกฤทธิ์ต่อทางเดินอาหารได้ดี ก็ต้องมีพริกไทยและขมิ้นอยู่ด้วย ก็จะเพิ่มการดูดซึมถึง 2000%

พริกไทย ปกติเราใช้ในการทำให้อาหารน่านทานขึ้น ด้วยการเหยาะใส่เพิ่มกลิ่น ทำให้อาหารดีขึ้น


ความดันโลหิตสูง วัดความดันอย่างไร?

ความดันโลหิตสูง วัดความดันอย่างไร?



ความดันโลหิตสูง


ตัวบ่งชีสุงขภาพอย่างหนึ่งคือ ความดันโลหิต ถ้าความดันสูง ร่างกายอาจเกิดการผิดปกติ


ความดันโลหิต คือ แรงดันเลือดที่หัวใจสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกาย


ความดันโลหิต จะมี 2 แบบ คือ

1. ความดันโลหิตบน คือ แรงดันโลหิตที่หัวใจบีบตัวเต็มที่

2. ความดันโลหิตล่าง คือ แรงดันโลหิตที่หัวใจคลายตัวเต็มที่


วิธีการวัดค่าความดันโลหิต

1. ไม่ดื่มชา กาแฟ ตากแดด ออกกำลังกาย ก่อนวัด 30 นาที 

2. เตรียมเครื่องวัดโลหิต ใส่สายรัดที่ต้นแขน แล้วกดปุ่ม Start

2. ขณะวัดไม่ขยับร่างกาย ทำใจให้สบาบๆ ผ่อนคลาย

4. บันทึกลงสมุด


วิธีอ่านค่าความดันโลหิต



• SYS คือ ค่าความดันขณะหัวใจบีบตัวความดันโลหิต ปกติ คือ 120 - 129 mmHg


• DIA คือ ค่าความดันขณะหัวใจคลายตัวความดันโลหิต   ปกติ คือ   80 - 84 mmHg


• PUL คือ ชีพจรหรืออัตราการเต้นของหัวใจโดยปกติค่าชีพจรจะอยู่ที่ 60 - 100 ครั้ง/นาที



ถ่ายไม่สุด ทำไง? มีวิธีการอย่างไรบ้าง

ถ่ายไม่สุด ทำไงมีวิธีการอย่างไรบ้าง

ถ่ายไม่สุด ทำไง


การที่ ถ่ายไม่สุด หรือ ถ่ายอุจจาระออกไม่หมด ก็ทำให้ของเสีย ตกค้างในร่างกาย ทำให้ร่างกายดูดซึมย้อนกลับได้ 



วัธีการถ่ายไม่สุด ทำไง 


1. การที่เราปวดเบ่ง ถ่ายไม่สุด ท่านอาหารพวกเนื้อสัตว์ อาหารแปรรูปต่างๆ เช่น ไส้กรอก เบคอน เป็นต้น มากเกินไป เพราะจะใช้เวลาย่อยค่อนข้างนาน ถ้ากินมากเกินทำให้เกิดการหมักหมม

2. ทานของทอดให้น้อยลง เพราะ ทำให้ระบบร่างกายได้รับไขมันทรานส์ ซึ่งไปรบกวนการทำงาน ซึ่งเป็นผลให้ระบบการขับถ่ายเรามีปัญหาไปด้วย

3. ทานนมจากสัตว์ให้น้อยลง ซึ่งบางคนจะย่อยยาก หรือย่อยไม่ได้

2. ทานผักผลไม้ มากขึ้น แต่ถ้าเกิดเรามีอาการท้องผูกต้องระวังไม่ทานมากเกินไป กลับกลายเป็นการเพิ่มการหมักหมมมากขึ้น

3. ดื่มน้ำให้มากพอ ให้ได้ประมาณวันละ 2 ลิตร

2. ปรับท่านั่งตอนถ่าย

อุจจาระ ท่านั่ง


    เมื่อก่อนเราจะใช้ส้วมซึม ซึ่งทำให้เราทำให้นั่งขับถ่ายในท่าที่ถูกต้องโดยอัตโนมัติ แต่ปัจจุบัน เราใช้แบบโถส้วมแบบนั่ง ทำให้นั่งแล้วถ่ายได้ไม่เต็มที่ ซึ่งทางแก้ก็คือ ให้หาเก้าอี้มาวางที่เท้า ตอนถ่ายอุจจาระ แล้วเอาเท้าวาง และให้โน้มตัวไปข้างหนัา ก็ทำให้เปิดช่องทางการให้ถ่ายได้สะดวกขึ้น ซึ่งวิธีการนี้ทำให้เราไม่ต้องเสียเงินมาก แต่ช่วยการขับถ่ายดีขึ้น




น้ำขิง น้ำสมุนไพร

 ช่วงนี้ต้องดูแลสุขภาพกันเป็นพิเศษ อากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เป็นหวัดได้ง่าย โรคโควิต ซึ่งยังแพร่ระบาดอยู่ ตอนนี้ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีต่อเนื่องตลอด ถ้ามีอาการเป็นไข้ ไอจาม นิดนึง ก็ระแวงแล้วกลัวจะติดโควิด-19 วันนี้เลยจะนำเสนอวิธีต้มน้ำขิง น้ำสมุนไพรแก้ไข้เจ็บคอ


วัตถุดิบ

1. น้ำเปล่า 250 ซีซี ใช้น้ำกรองหรือน้ำสะอาด


2. ขิงแก่ 1 แง่งใหญ่ 


3. หม้อต้มน้ำ 


4. ตะแกรงกรองตาถี่ 


5. น้ำตาลทรายแดง 2 ช้อนชา หรือน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้แล้วแต่ชอบ


วิธีการทำ

1. ล้างขิงให้สะอาด 2-3 รอบ ขิงเป็นเหง้าที่อยู่ในดิน จึงต้องล้างดินออกให้หมด (ถ้าล้างยากดินออกไม่หมด ปอกเปลือกเลยก็ได้)


2. ผ่าครึ่งขิงตามแนวยาว แล้วใช้สากหรือมีดอีโต้ทุบเพื่อบุบขิง 


3. ใส่น้ำในหม้อ และใส่ขิงที่บุบแล้วลงไป ตั้งไฟจนเดือด 7-10 นาที ยิ่งต้มนานยิ่งเผ็ดร้อนมากขึ้น


4. ถ้าชอบหวานใส่น้ำตาลลงไป แล้วคนให้ละลายจนหมด หรือจะละลายน้ำตาลในน้ำก่อนแล้วค่อยใส่จากนั้นปิดไฟ


5. กรองผ่านตะแกรงตาถี่ หรือใช้ทัพพีตักเฉพาะน้ำออกมา 


ทานตอนน้ำขิงอุ่นๆ จะช่วยกระตุ้นร่างกายได้ดี


ท้องอืด เพราะอะไร?


 

ท้องอืด เพราะอะไร?


ท้องอืด ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ  แต่ถ้าเป็นบ่อยๆ ก็ไม่ค่อยดีเท่าไร แสดงว่าระบบการย่อยอาหารมีปัญหา 


อาการท้องอืด  เราจะรู้สึกไม่สบายท้อง แน่นท้อง อึดอัด  มีลมในท้อง ปวดท้องส่วนบน   เรอบ่อยๆ บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อิ่มเร็ว หรืออาจมีอาการแน่นท้อง แม้กินอาหารไม่มาก และแสบบริเวณหน้าอก


สาเหตุ

           1.  โรคที่เกิดจากสิ่งภายใน เกิดจากร่างกายมีปัญหา  เป็นสิ่งที่ทำให้ท้องอืด  ได้แก่ 

                       - โรคแผลในกระเพาะอาหาร  

                        - กระเพาะอาหารอักเสบ  

                        - มะเร็งกระเพาะอาหาร 

                        - พยาธิในทางเดินอาหาร  

                        - อาการแสบบริเวณหน้าอก  ซึ่งอาจจะเป็นอาการของโรคกรดไหลย้อนได้

                -       - โรคของทางเดินน้ำดี เช่น นิ่วในถุงน้ำดี 

                        -  โรคของตับอ่อน

                        -  โรคทางร่างกายอย่างอื่น ๆ เช่น เบาหวาน   โรคต่อมไทรอยด์  


          2. โรคที่เกิดจากสิ่งภายนอก ได้แก่ 

                • เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม เช่น สุรา  เบียร์  หรือน้ำชา  กาแฟ จะทำให้กระเพาะอาหาร
               อักเสบ รวมทั้งการระคายเคืองจากบุหรี่ 

               • ยาที่กินอยู่ ยาหลายชนิดจะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ ได้แก่ ยาแก้ปวดข้อทั้งหลาย 

               • ยาบางชนิด จะทำให้กระเพาะและลำไส้บีบตัวน้อยลง เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาปฏิชีวนะบางอย่าง  
                • ตลอดจนอาหารที่ย่อยยากหลายอย่าง รวมทั้งอาหารที่มีกากมาก ๆ  อาหารรสจัด อาหารหมักดอง  

                • อาหารที่ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์

       

          3.  พฤติกรรมในการกิน ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการท้องอืด  โดยเฉพาะอาหารรสจัด จะทำให้เยื่อบุอาหารอักเสบ การกินอาหารรีบร้อน เคี้ยวไม่ละเอียด หรือกินครั้งละมากๆ  รวมทั้งกินอาหารที่ย่อยยาก  อาหารมัน


                     สำหรับผู้ที่ชอบกินผัก  แม้จะมีเส้นใยมาก  ถ้ากินมากไปอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืดขึ้นได้  เนื่องจากร่างกายเราไม่มีน้ำย่อยเส้นใยเหล่านี้  ต้องอาศัยแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่เป็นตัวช่วยย่อยสลาย   อย่างไรก็ตามอาหารประเภทผักก็มีประโยชน์  เพราะทำให้การขับถ่ายสะดวก


                    เช่นเดียวกับอาหารประเภทนมนั้น  ในคนแถบเอเชียจะไม่มีน้ำย่อยที่ย่อยนม  หรือถ้ามีก็มีปริมาณน้อย เมื่อกินนมเข้าไปมาก  อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดหรือท้องเสีย   ควรงดหรือค่อย ๆ  ดื่มนมทีละน้อย เพื่อให้ร่างกายปรับตัวจนดื่มนมได้ในปริมาณที่ต้องการ แต่หากดื่มนมเปรี้ยว   จะไม่มีอาการ  เนื่องจากในนมเปรี้ยวจะมีการย่อยนมไปเป็นบางส่วนแล้ว


          ท้องอืดบ่อย ๆ  ผิดปกติหรือไม่

          อาการท้องอืด  ถ้านาน ๆ  เป็นครั้งคราว  จะไม่เป็นไร  

         แต่ปัญหาที่พบบ่อยในคนที่ท้องอืด  คือ  โรคกระเพาะ อาจเป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารอักเสบ บางคนอาจเป็นโรคของทางเดินน้ำดี เช่น  นิ่วในถุงน้ำดี หรือจากอาหารที่เรากินเข้าไป   

         บางครั้งเกิดจากอาหารที่เรากิน เป็นอาหารที่ย่อยยาก พฤติกรรมของเรา เช่น เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด  กินน้ำมากเกินไปในมื้ออาหาร

          แต่ถ้าเป็นบ่อย  โดยเฉพาะผู้สูงอายุ  มักจะเป็นสัญญาณเตือนถึงอาการนำอย่างหนึ่งของมะเร็งในช่องท้อง  ร่วมด้วยอาการอื่น ๆ  เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน  ซีด  ซึ่งควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด


          การแก้ไข 
                 1. 
แก้ไขเบื้องต้น อาจใช้ยาสามัญประจำบ้าน ได้แก่ ยาขับลม หรือ ยาธาตุน้ำแดง ลองกินดูก่อน และปรับอาหารโดยกินอาหารอ่อนๆ  ย่อยง่ายแต่พอควร  ถ้ายังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์

                        ส่วนการกินยาช่วยย่อย  อาจช่วยลดอาการท้องอืดได้บ้าง แต่ถ้าต้องกินทุกวัน คงจะไม่ถูกต้อง เพราะเราไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการท้องอืด ซึ่งอาจจะทำให้โรคเป็นมากขึ้นได้

                2 ซึ่งเราต้องระวังเรื่องความเครียด ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ หาเวลาพักผ่อนบ้าง

                3. อาหารต้องลดพวกเนื้อสัตว์  อาหารปรุงแต่ง เช่น เบคอน ไส้กรอก แหนม

                4. กินอาหารหวาน มัน เค็ม ทอด  ให้น้อยลง

                5. กินผักมากเกินไป กินอาหารของไทยที่มีฤฑธ์ร้อน เพื่อช่วยในการย่อย เช่น ต้มยำ แกงเหลียง  แกงมัสมั่น

                6. กินโยเกิร์ต หรือ นมเปรี้ยว เติมจุลินทรีย์ให้ลำไส้

                7. กินอาหารให้จุลินทรีย์ดี เช่น ผงกล้วยดิบ


  เมื่อใดควรไปพบแพทย์
          ผู้ที่มีอาการดังนี้  ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจค้นหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษา 


               1. ในผู้สูงอายุ  เช่น อายุเกิน 40 ปี เพิ่งจะเริ่มมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ
เนื่องจาก พบว่ามะเร็งของกระเพาะอาหาร หรือตับมักจะพบในคนอายุเกินกว่า 40 ปี


                2. ในคนที่มีอาการท้องอืดร่วมกับมีน้ำหนักลด


                3. มีอาเจียนติดต่อกัน หรือกลืนอาหารไม่ได้


                4. มีอาการซีด ถ่ายอุจจาระดำ


                5. ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือมีก้อนในท้อง


                6. ท้องอืดแน่นท้องมาก

                7. ปวดท้องมาก


                8. การขับถ่ายอุจจาระเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยเป็น เช่น อาการท้องผูกมากขึ้น  จนต้องกินยาระบายหรืออาการท้องผูกสลับท้องเดิน  เป็นต้น

          การรักษา 
          ถ้าในคนอายุน้อย  ไม่ได้มีข้อบ่งชี้ว่าเป็นโรคที่อันตราย   แพทย์อาจให้ยามากิน และแนะนำวิธีปฏิบัติตัว   ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกิน   และนัดมาพบเพื่อดูอาการ    ถ้าไม่ดีขึ้น แพทย์อาจดำเนินการสืบค้นหาสาเหตุ ที่แท้จริงต่อไป 


          
สุขภาพดีเกิดขึ้นได้ถ้าคุณใส่ใจดูแล  หากละเลย สุขภาพจะแย่  



#ท้องอืดเพราะอะไร?

กลูเต็น คืออะไร



กลูเต็น คืออะไร

กลูเตนหลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง แต่ไม่รู้ว่า คืออะไร

กลูเตน (Gluten) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ในข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เลย์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำจากแป้งข้าวสาลี เช่น เบเกอรี่  เค้ก พาย ซาลาเปา เนื้อปูเทียม เป็นต้น 

ในอาหารมังสวิรัติ และอาหารเจ มักจะใช้  “กลูเตน” เป็นส่วนประกอบในการทำเนื้อเทียม รวมถึงยังพบได้ใน ปลากระป๋อง กะทิสำเร็จรูป น้ำมันหอย ซอสถั่วเหลือง เป็นต้น


ประโยชน์ของกลูเตน

คือ เป็นตัวช่วยให้ขนมปังฟูขึ้น และเนื้อนุ่ม 

นอกจากนี้ กลูเตนในข้าวสาลียังอุดมไปด้วยโปรตีนถึง 23 กรัม ต่อ ข้าวสาลีประมาณ ¼ ถ้วย ซึ่งมากกว่าเนื้อวัว เนื้อปลา และเนื้อไก่ประมาณ 85 กรัม


ผลเสีย ‘กลูเตน’ 

กลูเต็นจะมีผลเสียกับ ‘ผู้ที่แพ้กลูเตน’ โดยมีอาการคล้ายกับคนที่แพ้นมวัว ถึงแม้กินเพียงเล็กน้อย  ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ ท้องอืด ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการชาตามแขนและขา ทำให้สุขภาพแย่ได้


ในต่างประเทศมีคนที่แพ้กลูเตนค่อนข้างเยอะ ผลิตภัณฑ์ปลอดกลูเตน จึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ รวมถึงฟาสต์ฟู้ด และเบเกอรี่ ก็ออกผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีกลูเตนมาเพื่อเอาใจผู้บริโภค ซึ่งการรับประทาน
อาหารฟาสต์ฟู้ด หรือเบอเกอรี่ สุขภาพมีความเสี่ยงจะแย่จากไขมัน โซเดียม ความหวานที่มีปริมาณสูงอยู่แล้ว