นักโภชนาการเตือน “กินคลีน” เสี่ยงขาดสารอาหาร



กระแสการรักษาสุขภาพในสังคมปัจจุบันด้วยการกินอาหารคลีน หรืออาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อย นอกจากทำให้น้ำหนักลด ยังเหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องการควบคุมอาหาร ทั้งโรคเบาหวาน โรคไต และผู้ที่มีคอลเลสเตอรอลสูง พาไปรู้จักวิธีการกินอาหารคลีนที่ได้สารอาหารตามหลักโภชนาการ 

ข้าวไรซ์เบอรี พืชผัก และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เป็นวัตถุดิบที่ น.ส.อศิตา ชลายนนาวิน เลือกซื้อจากตลาดใกล้บ้าน ก่อนนำมาปรุงรสด้วยวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก เพื่อให้วัตถุดิบทั้งหมดคงคุณค่าทางโภชนาการ

น.ส.อศิตาระบุว่า เพราะต้องการดูแลสุขภาพและลดน้ำหนักของตัวเอง แต่กลับนำมาซึ่งรายได้เสริมในการรับทำอาหารคลีนสำหรับกลุ่มเพื่อน และลูกค้าที่ไม่มีเวลาประกอบอาหารเอง ซึ่งสื่อสังคมออนไลน์เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ที่ทำให้กระแสอาหารคลีนเป็นที่รู้จักในฐานะอาหารเพื่อสุขภาพ



ขณะที่ ผู้บริโภคบางรายอาจเลือกซื้อซีเรียลหรือธัญพืชอบแห้ง นำมาใส่นมและผลไม้กินแทนอาหารมื้อหลัก ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวอาจเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ

น.ส.ผกาวลี ประกายสิทธิ์ นักกำหนดอาหารแผนกโภชนบำบัด โรงพยาบาลกรุงเทพ ระบุว่า หากกิน
อาหารคลีนแทนอาหารหลักเป็นประจำทุกมื้อ มีความเสี่ยงเป็นภาวะทุพโภชนาการได้โดยในเฉพาะเด็กและวัยรุ่น ที่อาจทำให้ร่างกายเติบโตไม่สมส่วน เติบโตช้า รวมถึงระดับสติปัญญาทั้งไอคิวและอีคิวอาจต่ำกว่าเกณฑ์


อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ปี 2558 ตั้งเกณฑ์เป้าหมายเด็กไทย ร้อยละ70 อายุตั้งแต่ 6 ปีถึง 14 ปี ในด้านความสูง และรูปร่างสมส่วน ซึ่งปีที่ผ่านๆมา จากการสำรวจพบว่า มีเกณฑ์พัฒนาการดีขึ้น ส่วนในวัยทำงานและวัยผู้ใหญ่ หากมีการจำกัดพลังงานโดยกินอาหารที่ให้พลังงานไม่เหมาะสมกับกิจวัตรประจำวัน จะส่งผลให้สมรรถภาพในการทำงานลดน้อยลง เช่นคิดอะไรไม่ออก อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย และในอนาคตมีความเสี่ยงกับภาวะสุขภาพอื่นๆ






กดถูกใจหน้าเพจ ThaiPBSNews

https://www.facebook.com/ThaiPBSNews?ref=hl

สัญญาณเตือน โรคความดันโลหิตสูง

สัญญาณเตือน   
โรคความดันโลหิตสูง


สัญญาเตือนผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูง **

1. เกิดอาการมืนงงขึ้นมาอย่างไร้สาเหตุ

2. ชีพจรข้างใดข้างหนึ่งเบากว่าอีกข้างหนึ่งอย่างเห็นได้ชัด (อาจต้องอาศัยการประเมินจากเจ้าหน้าที่)

3. ใบหน้า และมือบวมหรือมีสีหน้าซีดเซียว

4. ปวดศีรษะ และวิงเวียนบ่อยๆ ระหว่างวัน หรือมีอาการปวดมึนท้ายทอย ซึ่งมักเกิดจากหลังตื่นนอนใหม่ๆ

5. ร่างกายอ่อนเพลียแม้ว่าจะได้พักผ่อนแล้ว

6. นอนไม่หลับหรือเพลีย เหมือนพักผ่อนไม่พอ

7. มีอาการผิดปกติที่ตา เช่น ตามัว หรือมองไม่เห็นชั่วคราว

8. หงุดหงิดง่าย ขาดสมาธิ



วิธีป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

1. ลดอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ผงชูรส เกลือ น้ำปลา ปลาร้า ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม

2. การลดปริมาณเกลือในอาหาร


3. การลดน้ำหนัก


4. การงด/หรือลดการดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์


5. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ



6. นั่งสมาธิเป็นประจำ




7. รับการตรวจวัดความดันโลหิต


8. ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท




** สัญญาณเตืนดังกล่าวข้างต้น ไม่จำเป็นจะต้องมีสัญญาณครบทุกข้อเมื่อมีสิ่งผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์



ด้วยความปรารถนาดีจาก กลุ่มงานเวชกรรมสังคม
โรงพยาบาลลำปาง