เทรนด์รักสุขภาพกำลังมาแรง มาทำความรู้จักน้ำมันปลา กับน้ำมันตับปลาแตกต่างกันอย่างไร

เทรนด์รักสุขภาพกำลังมาแรง 
มาทำความรู้จักน้ำมันปลา กับน้ำมันตับปลาแตกต่างกันอย่างไร


ในการดูแลสุขภาพ อาหารเสริมกลายมาเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยม แต่คุณ ทราบหรือไม่ว่าน้ำมันปลา กับน้ำมันตับปลาแตกต่างกันอย่างไร
เทรนด์รักสุขภาพกำลังมาแรง หลายๆ คนจึงพยายามสรรหาสิ่งดีๆ ให้แก่ร่างกายในการดูแลสุขภาพ อาหารเสริมจึงกลายมาเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยม แต่คุณจะทราบได้อย่างไรว่าอาหารเสริมแบบไหนดี วิตามินแบบไหนเหมาะกับคุณ แล้ววิตามินแต่ละอย่างแตกต่างกันอย่างไร หรือแม้กระทั่งความเข้าใจผิดเรื่องน้ำมันปลา กับน้ำมันตับปลา 

เภสัชกรหญิงวิชชุลดา ผรณเกียรติ์ ผู้เชี่ยวชาญจากเมก้า วีแคร์ กล่าวว่า ปัจจุบัน ผู้บริโภคสับสนมากกับน้ำมันปลา (Fish Oil) และน้ำมันตับปลา (Cod Liver Oil) ซึ่งมีความแตกต่างกันมาก แต่บางคนยังเข้าใจว่า เหมือนกัน ซึ่งจริงๆ แล้ว น้ำมันตับปลา เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากตับของปลาทะเล ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ คือ วิตามินเอ (Vitamin A) และวิตามินดี (Vitamin D) โดยนิยมใช้ในเด็ก วัยรุ่น และวัยทำงานทั่วไป เพื่อ ช่วยเสริมสร้างกระดูก เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องผิวหนังและดวงตาจากการถูกทำลายจากมลพิษ ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

โดยการรับประทานน้ำมันตับปลาต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น เพราะหากรับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ รูปปลาและสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับ ประทานน้ำมันตับปลา เนื่องจากมีปริมาณของวิตามินเอสูง ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ได้ ในขณะที่ น้ำมันปลา เป็นน้ำมันที่ได้จากการสกัดจากเนื้อ หัว หาง และหนังของปลาทะเล เช่น ปลาแอนโชวี่ ปลาแซลมอน ปลาแมคคอเรล และปลาทูน่า เป็นต้น เป็นแหล่งของกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็นต่อร่างกาย เรียกว่า โอเมก้า 3 (Omega 3) ประกอบไปด้วยสารสำคัญ 2 ชนิด คือ อีพีเอและดีเอชเอ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของสมอง ระบบประสาท การทำงานของระบบหลอดเลือด หัวใจ และสายตา ดังนั้น การได้รับน้ำมันปลาหรือโอเมก้า 3 ไม่เพียงพอนั้น จะส่งผลด้านลบต่อสุขภาพในด้านต่างๆ ได้ เช่น ความเสื่อมของสมอง ดวงตา มีภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดอุดตันจากไขมันในเลือดสูง เป็นต้น 

สำหรับประโยชน์ของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่พบในน้ำมันปลา (Fish oil) นั้น มาจากสารสำคัญสองชนิด คือ

1. อีพีเอ (EPA) ทางการแพทย์พบว่ามีส่วนช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น ลดระดับไขมันในเลือดโดยเฉพาะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ลดภาวะ ความดันโลหิตสูง และลดอาการอักเสบต่างๆ ของร่างกาย จึงมีส่วนช่วยลดอาการข้อเสื่อม ปวดข้อหรือข้ออักเสบในคนไข้โรครูมาตอยด์ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยลดอาการคันและการอักเสบในคนไข้โรคสะเก็ดเงินอีกด้วย

2. ดีเอชเอ (DHA) มีงานวิจัยชี้ว่าสามารถช่วยในด้านการพัฒนาสายตา บำรุงสมอง ระบบประสาท โดยเฉพาะในส่วนของความจำและการเรียนรู้ เพราะดีเอชเอจะเข้าไปเสริมสร้างการเจริญเติบโตและการทำ
งานของปลายประสาท ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวถ่ายทอดสัญญาณข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้สมองมีการพัฒนาอย่างเหมาะสมและเสริมสร้างการเรียนรู้ด้านต่างๆ ของร่างกาย จึงมีการนำดีเอชเอไปเสริมในนมผงสำหรับทารก หรือนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ นอกจากนี้ ยังมีการให้ดีเอชเอในการรักษา โรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ที่พบในผู้สูงอายุด้วย

“ในขณะที่ เราสามารถได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ในน้ำมันปลาได้จากการรับประทานปลาธรรมชาติในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะปลาเล็ก..ปลาน้อย..หรือปลาตัวโต ถ้าเทียบปริมาณโอเมก้า 3 ที่เราควรได้รับในแต่ละวันก็ให้รับประทานปลาทูขนาดตัวกลางๆ เป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ตัว โดยไม่จำเป็นต้องซื้อปลาแพงๆ มารับประทาน เพราะแค่ปลาสดๆ ที่วางขายในตลาดแถวบ้านก็ได้ อย่างเช่น ปลาทู ปลาตะเพียน ก็มีโอเมก้า 3 เช่นกัน ที่สำคัญแนะนำให้เลือกการปรุงอาหารแบบปลาต้มหรือปลานึ่งจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพื่อคงคุณค่าของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่อยู่ในเนื้อปลา ซึ่งหากเราสามารถรับประทานปลาได้เป็นประจำก็ไม่ มีความจำเป็นที่ต้องไปเลือกหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ มารับประทาน แต่ในบางท่านที่มีข้อจำกัดในด้านต่างๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอย่าง “น้ำมันปลา” (Fish oil) จึงเป็นอีกทางเลือกที่จะมาช่วยในการดูแล สุขภาพได้” เภสัชกรหญิงวิชชุลดา อธิบายเพิ่มเติม 

สำหรับการรับประทานน้ำมันปลาอย่างเหมาะสม เราควรคำนึงถึงสภาพร่างกายของเรา โดยหากเป็นบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพดี ทางสมาคมโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกา (American Heart Association; AHA) ได้ แนะนำการรับประทานกรดไขมันโอเมก้า 3 เพื่อการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โดยควรรับประทานน้ำมันปลาที่มีปริมาณของโอเมก้า 3 อย่างน้อย 500 มิลลิกรัมต่อวัน (ปริมาณของ EPA+DHA) ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควร รับประทานน้ำมันปลาที่มีปริมาณของโอเมก้า 3 อย่างน้อย 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน (ปริมาณของ EPA+DHA ) ผู้ป่วยที่ต้องการลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ควรรับประทานน้ำมันปลาที่มี ปริมาณของโอเมก้า 3 อย่างน้อย 2,000-4,000 มิลลิกรัมต่อวัน (ปริมาณของ EPA+DHA)

นอกจากนี้ ปัจจุบันมีอาหารเสริมน้ำมันปลามากมายในท้องตลาด เราจึงควรให้ความใส่ใจในการเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลา (Fish Oil) ที่เป็นน้ำมันปลาจากธรรมชาติ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน โดยควร คำนึงถึงว่าต้องปลอดสารพิษ คือ เป็นน้ำมันปลาที่ผลิตด้วยมาตรฐานเดียวกับการผลิตยา ซึ่งจะมีคุณภาพและความปลอดภัยมากกว่าน้ำมันปลาที่ผลิตภายใต้มาตรฐานอาหารทั่วไป ทำให้ได้น้ำมันปลาคุณภาพต่ำ มักพบสารปนเปื้อนจำพวกโลหะหนัก ตะกั่ว ปรอท เจือปน ซึ่งพบมากทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้น ผู้บริโภคจึงควรเลือกน้ำมันปลาที่ผลิตภายใต้มาตรฐานที่มีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด จะทำให้มั่นใจใน คุณภาพของน้ำมันปลาว่าได้ผ่านการคัดสรรและมีขั้นตอนการผลิตที่ได้มาตรฐาน มีการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนของการผลิต จึงเป็นทางเลือกที่ให้ความมั่นใจและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง เพราะการรับประทานสารอาหารเหล่านี้ จะมีการรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/678187

No comments:

Post a Comment