น้ำขิง น้ำสมุนไพร

 ช่วงนี้ต้องดูแลสุขภาพกันเป็นพิเศษ อากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เป็นหวัดได้ง่าย โรคโควิต ซึ่งยังแพร่ระบาดอยู่ ตอนนี้ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีต่อเนื่องตลอด ถ้ามีอาการเป็นไข้ ไอจาม นิดนึง ก็ระแวงแล้วกลัวจะติดโควิด-19 วันนี้เลยจะนำเสนอวิธีต้มน้ำขิง น้ำสมุนไพรแก้ไข้เจ็บคอ


วัตถุดิบ

1. น้ำเปล่า 250 ซีซี ใช้น้ำกรองหรือน้ำสะอาด


2. ขิงแก่ 1 แง่งใหญ่ 


3. หม้อต้มน้ำ 


4. ตะแกรงกรองตาถี่ 


5. น้ำตาลทรายแดง 2 ช้อนชา หรือน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้แล้วแต่ชอบ


วิธีการทำ

1. ล้างขิงให้สะอาด 2-3 รอบ ขิงเป็นเหง้าที่อยู่ในดิน จึงต้องล้างดินออกให้หมด (ถ้าล้างยากดินออกไม่หมด ปอกเปลือกเลยก็ได้)


2. ผ่าครึ่งขิงตามแนวยาว แล้วใช้สากหรือมีดอีโต้ทุบเพื่อบุบขิง 


3. ใส่น้ำในหม้อ และใส่ขิงที่บุบแล้วลงไป ตั้งไฟจนเดือด 7-10 นาที ยิ่งต้มนานยิ่งเผ็ดร้อนมากขึ้น


4. ถ้าชอบหวานใส่น้ำตาลลงไป แล้วคนให้ละลายจนหมด หรือจะละลายน้ำตาลในน้ำก่อนแล้วค่อยใส่จากนั้นปิดไฟ


5. กรองผ่านตะแกรงตาถี่ หรือใช้ทัพพีตักเฉพาะน้ำออกมา 


ทานตอนน้ำขิงอุ่นๆ จะช่วยกระตุ้นร่างกายได้ดี


ท้องอืด เพราะอะไร?


 

ท้องอืด เพราะอะไร?


ท้องอืด ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ  แต่ถ้าเป็นบ่อยๆ ก็ไม่ค่อยดีเท่าไร แสดงว่าระบบการย่อยอาหารมีปัญหา 


อาการท้องอืด  เราจะรู้สึกไม่สบายท้อง แน่นท้อง อึดอัด  มีลมในท้อง ปวดท้องส่วนบน   เรอบ่อยๆ บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อิ่มเร็ว หรืออาจมีอาการแน่นท้อง แม้กินอาหารไม่มาก และแสบบริเวณหน้าอก


สาเหตุ

           1.  โรคที่เกิดจากสิ่งภายใน เกิดจากร่างกายมีปัญหา  เป็นสิ่งที่ทำให้ท้องอืด  ได้แก่ 

                       - โรคแผลในกระเพาะอาหาร  

                        - กระเพาะอาหารอักเสบ  

                        - มะเร็งกระเพาะอาหาร 

                        - พยาธิในทางเดินอาหาร  

                        - อาการแสบบริเวณหน้าอก  ซึ่งอาจจะเป็นอาการของโรคกรดไหลย้อนได้

                -       - โรคของทางเดินน้ำดี เช่น นิ่วในถุงน้ำดี 

                        -  โรคของตับอ่อน

                        -  โรคทางร่างกายอย่างอื่น ๆ เช่น เบาหวาน   โรคต่อมไทรอยด์  


          2. โรคที่เกิดจากสิ่งภายนอก ได้แก่ 

                • เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม เช่น สุรา  เบียร์  หรือน้ำชา  กาแฟ จะทำให้กระเพาะอาหาร
               อักเสบ รวมทั้งการระคายเคืองจากบุหรี่ 

               • ยาที่กินอยู่ ยาหลายชนิดจะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ ได้แก่ ยาแก้ปวดข้อทั้งหลาย 

               • ยาบางชนิด จะทำให้กระเพาะและลำไส้บีบตัวน้อยลง เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาปฏิชีวนะบางอย่าง  
                • ตลอดจนอาหารที่ย่อยยากหลายอย่าง รวมทั้งอาหารที่มีกากมาก ๆ  อาหารรสจัด อาหารหมักดอง  

                • อาหารที่ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์

       

          3.  พฤติกรรมในการกิน ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการท้องอืด  โดยเฉพาะอาหารรสจัด จะทำให้เยื่อบุอาหารอักเสบ การกินอาหารรีบร้อน เคี้ยวไม่ละเอียด หรือกินครั้งละมากๆ  รวมทั้งกินอาหารที่ย่อยยาก  อาหารมัน


                     สำหรับผู้ที่ชอบกินผัก  แม้จะมีเส้นใยมาก  ถ้ากินมากไปอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืดขึ้นได้  เนื่องจากร่างกายเราไม่มีน้ำย่อยเส้นใยเหล่านี้  ต้องอาศัยแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่เป็นตัวช่วยย่อยสลาย   อย่างไรก็ตามอาหารประเภทผักก็มีประโยชน์  เพราะทำให้การขับถ่ายสะดวก


                    เช่นเดียวกับอาหารประเภทนมนั้น  ในคนแถบเอเชียจะไม่มีน้ำย่อยที่ย่อยนม  หรือถ้ามีก็มีปริมาณน้อย เมื่อกินนมเข้าไปมาก  อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดหรือท้องเสีย   ควรงดหรือค่อย ๆ  ดื่มนมทีละน้อย เพื่อให้ร่างกายปรับตัวจนดื่มนมได้ในปริมาณที่ต้องการ แต่หากดื่มนมเปรี้ยว   จะไม่มีอาการ  เนื่องจากในนมเปรี้ยวจะมีการย่อยนมไปเป็นบางส่วนแล้ว


          ท้องอืดบ่อย ๆ  ผิดปกติหรือไม่

          อาการท้องอืด  ถ้านาน ๆ  เป็นครั้งคราว  จะไม่เป็นไร  

         แต่ปัญหาที่พบบ่อยในคนที่ท้องอืด  คือ  โรคกระเพาะ อาจเป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารอักเสบ บางคนอาจเป็นโรคของทางเดินน้ำดี เช่น  นิ่วในถุงน้ำดี หรือจากอาหารที่เรากินเข้าไป   

         บางครั้งเกิดจากอาหารที่เรากิน เป็นอาหารที่ย่อยยาก พฤติกรรมของเรา เช่น เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด  กินน้ำมากเกินไปในมื้ออาหาร

          แต่ถ้าเป็นบ่อย  โดยเฉพาะผู้สูงอายุ  มักจะเป็นสัญญาณเตือนถึงอาการนำอย่างหนึ่งของมะเร็งในช่องท้อง  ร่วมด้วยอาการอื่น ๆ  เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน  ซีด  ซึ่งควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด


          การแก้ไข 
                 1. 
แก้ไขเบื้องต้น อาจใช้ยาสามัญประจำบ้าน ได้แก่ ยาขับลม หรือ ยาธาตุน้ำแดง ลองกินดูก่อน และปรับอาหารโดยกินอาหารอ่อนๆ  ย่อยง่ายแต่พอควร  ถ้ายังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์

                        ส่วนการกินยาช่วยย่อย  อาจช่วยลดอาการท้องอืดได้บ้าง แต่ถ้าต้องกินทุกวัน คงจะไม่ถูกต้อง เพราะเราไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการท้องอืด ซึ่งอาจจะทำให้โรคเป็นมากขึ้นได้

                2 ซึ่งเราต้องระวังเรื่องความเครียด ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ หาเวลาพักผ่อนบ้าง

                3. อาหารต้องลดพวกเนื้อสัตว์  อาหารปรุงแต่ง เช่น เบคอน ไส้กรอก แหนม

                4. กินอาหารหวาน มัน เค็ม ทอด  ให้น้อยลง

                5. กินผักมากเกินไป กินอาหารของไทยที่มีฤฑธ์ร้อน เพื่อช่วยในการย่อย เช่น ต้มยำ แกงเหลียง  แกงมัสมั่น

                6. กินโยเกิร์ต หรือ นมเปรี้ยว เติมจุลินทรีย์ให้ลำไส้

                7. กินอาหารให้จุลินทรีย์ดี เช่น ผงกล้วยดิบ


  เมื่อใดควรไปพบแพทย์
          ผู้ที่มีอาการดังนี้  ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจค้นหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษา 


               1. ในผู้สูงอายุ  เช่น อายุเกิน 40 ปี เพิ่งจะเริ่มมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ
เนื่องจาก พบว่ามะเร็งของกระเพาะอาหาร หรือตับมักจะพบในคนอายุเกินกว่า 40 ปี


                2. ในคนที่มีอาการท้องอืดร่วมกับมีน้ำหนักลด


                3. มีอาเจียนติดต่อกัน หรือกลืนอาหารไม่ได้


                4. มีอาการซีด ถ่ายอุจจาระดำ


                5. ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือมีก้อนในท้อง


                6. ท้องอืดแน่นท้องมาก

                7. ปวดท้องมาก


                8. การขับถ่ายอุจจาระเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยเป็น เช่น อาการท้องผูกมากขึ้น  จนต้องกินยาระบายหรืออาการท้องผูกสลับท้องเดิน  เป็นต้น

          การรักษา 
          ถ้าในคนอายุน้อย  ไม่ได้มีข้อบ่งชี้ว่าเป็นโรคที่อันตราย   แพทย์อาจให้ยามากิน และแนะนำวิธีปฏิบัติตัว   ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกิน   และนัดมาพบเพื่อดูอาการ    ถ้าไม่ดีขึ้น แพทย์อาจดำเนินการสืบค้นหาสาเหตุ ที่แท้จริงต่อไป 


          
สุขภาพดีเกิดขึ้นได้ถ้าคุณใส่ใจดูแล  หากละเลย สุขภาพจะแย่  



#ท้องอืดเพราะอะไร?

กลูเต็น คืออะไร



กลูเต็น คืออะไร

กลูเตนหลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง แต่ไม่รู้ว่า คืออะไร

กลูเตน (Gluten) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ในข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เลย์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำจากแป้งข้าวสาลี เช่น เบเกอรี่  เค้ก พาย ซาลาเปา เนื้อปูเทียม เป็นต้น 

ในอาหารมังสวิรัติ และอาหารเจ มักจะใช้  “กลูเตน” เป็นส่วนประกอบในการทำเนื้อเทียม รวมถึงยังพบได้ใน ปลากระป๋อง กะทิสำเร็จรูป น้ำมันหอย ซอสถั่วเหลือง เป็นต้น


ประโยชน์ของกลูเตน

คือ เป็นตัวช่วยให้ขนมปังฟูขึ้น และเนื้อนุ่ม 

นอกจากนี้ กลูเตนในข้าวสาลียังอุดมไปด้วยโปรตีนถึง 23 กรัม ต่อ ข้าวสาลีประมาณ ¼ ถ้วย ซึ่งมากกว่าเนื้อวัว เนื้อปลา และเนื้อไก่ประมาณ 85 กรัม


ผลเสีย ‘กลูเตน’ 

กลูเต็นจะมีผลเสียกับ ‘ผู้ที่แพ้กลูเตน’ โดยมีอาการคล้ายกับคนที่แพ้นมวัว ถึงแม้กินเพียงเล็กน้อย  ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ ท้องอืด ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการชาตามแขนและขา ทำให้สุขภาพแย่ได้


ในต่างประเทศมีคนที่แพ้กลูเตนค่อนข้างเยอะ ผลิตภัณฑ์ปลอดกลูเตน จึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ รวมถึงฟาสต์ฟู้ด และเบเกอรี่ ก็ออกผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีกลูเตนมาเพื่อเอาใจผู้บริโภค ซึ่งการรับประทาน
อาหารฟาสต์ฟู้ด หรือเบอเกอรี่ สุขภาพมีความเสี่ยงจะแย่จากไขมัน โซเดียม ความหวานที่มีปริมาณสูงอยู่แล้ว



ร่างกายแข็งแรง เกิดจากลำไส้ที่ดี


 

ร่างกายแข็งแรง เกิดจากลำไส้ที่ดี


ลำไส้เป็นอวัยวะที่อยู่ภายใน หลายคนอาจมองข้ามว่าไม่่มีความสำคัญเท่าหัวใจหรือสมอง ไม่ได้ใส่ใจเท่าไร ลำไส้เป็นอวัยวะหนึ่งที่ช่วยดูแลร่างกาย จะแข็งแรงหรือไม่ ก็อยู่ที่ลำไส้

ถ้าลำไส้เราป่วย เราก็จะป่วยด้วย ผลการวิจัยมากมายบ่งบอกว่า โรคลำไส้มีความสัมพันธ์กับ โรคเบาหวาน โรคคามดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคจิตเภท และโรคมะเร็งต่างๆ


ลำไส้เป็นอวัยวะภูมิคุ้มกันที่ใหญ่ที่สุดและแข็งแกร่งที่สุดของร่างกาย ถ้าลำไส้เราแข็งแรง ร่างกายก็จะแข็งแรงด้วย

เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่ให้ความสำคัญ ไม่ดูแล ก็จะเกิดการเจ็บป่วยได้


ลำไส้ จะทำหน้าที่

1. ควบคุมระบบการย่อยอาหาร

2. ย่อยอาหารและดูดซึมอาหาร จะมีทั้งการบีบรัด และ เชิงเคมี เช่น น้ำลาย น้ำย่อย น้ำดี เป็นต้น

3. ปลดปล่อยฮอร์โมนให้อวัยวะต่างๆ

4. ควบคุมอารมณ์

5. ขับของเสียออกจากร่างกาย


ลำไส้ช่วยร่างกายนำสารอาหารไปใช้  ด้วยการย่อย 

ระบบการย่อยซึ่งเริ่มตั้งแต่ปาก จะมีน้ำลายช่วยพวกแป้ง 

ผ่านหลอดอาหาร ยาวประมาณ 30 ซม.

เข้าสู่กระเพาะอาหาร ความจุ 4 ลิตร  อาหารที่เข้ามาจะอยู่ 2-4 ชั่วโมง

ผ่านไปที่ลำไส้เล็ก 5-6 เมตร  อาหารต้องใช้เวลา 7-9 ชั่วโมง 

ไปลำไส้ใหญ่ 1.5-2 เมตร กากอาหารจะอยู่ได้ 30-48 ชม. ถึงจะถูกขับออกมา


ในลำไส้ใหญ่จะมีจุลินทรีย์ช่วย จะมีทั้งจุลินทรีย์ฝ่ายดี ฝ่ายไม่ดี และนกสองหัว(ถ้าฝ่ายไหนดีกว่าก็จะเข้ากับฝ่ายนีั้น) ถ้าจุลินทรีย์ฝ่ายไม่ดี มีมากเกินไป จะทำให้เกิดการอักเสบ


โพรไบโอติกส์ คือ จุลินทรีย์ฝ่ายดี ช่วยย่อยอาหาร 


พรีไบโอติกส์ คือ อาหารของจุลินทรีย์


ซินไบโอติกส์ คือ มีทั้งอาหารของจุลินทรย์และจุลินทรีย์


การดูแลลำไส้

1. กินอาหารเช้าเป็นมือที่หนักสุด  มื้อเย็นควรเป็นมื้อเบาๆ และไม่ควรเกิน 6 โมงเย็น 

2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรนอนดึกเกินไป

3. แบ่งเวลาให้ชัดเจน งาน กับ เวลาพักผ่อน

4. ช่วงที่กินอาหารหรือหลังอาหาร ไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไป 

5. อาหารทอด หวาน มัน เค็ม ไม่ควรทานเยอะเกินไป

เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง




 

เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง


1. ปรับบุคลิกร่างกาย ให้อกผึ่ง หลังตรง

     เมื่อเราดูมือุถือ คอมพิวเตอร์ หรือทำงานในออฟฟิศ นั่งนานๆ หลังเราจะงอ ซึ่งทำให้กระดูกสันหลังผิดรูป เกิดการปวดได้ ทำให้ร่างกายหายใจได้ไม่เต็มที่ เราไม่ควรนั่งนานเกินไป ยืดเส้นโดยใช้ท่าออกกำลังกายแบบง่ายๆ 


      ท่าออกกำลังกายแบบง่ายๆ

       เช่น - การเงยศีรษะไปด้านหลัง 

              - การเงยศีรษะไปข้างหน้า 

              - การเอียงศีรษะซ้ายหรือขวา 

              - การชูแขนเหนือศีรษะ 

              - การยกแขนข้างใดข้างหนึ่งแล้วเอียงไปด้านตรงข้าม 


2. รับแสงแดดยามเช้า 

      ตื่นเช้ามาเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น เราออกมารับแสงแดดบ้าง ได้สัมผัสธรรมชาติ จะช่วยให้ร่างกายสดชื่น ได้รับวิตามิน D และถ้าออกกำลังกายยืดเส้นยืดสายด้วยยิ่งทำให้ร่างกายผ่อนคลายและแข็งแรง


3. กินน้ำให้มากพอ

     ในร่างกายมีน้ำอยู่ในร่างกาย ร่างกายต้องการน้ำ ควรดื่มน้ำให้เยอะพอสมควร อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ถ้ามีปัญหากับการดื่มน้ำ ดื่มน้ำแล้วปัสสาวะบ่อยเกิน ก็ค่อยๆ จิบทานไป ไม่กินทีเดียวเยอะๆ ถ้าเป็นน้ำแร่ยิ่งดีมาก จะมีแร่ธาตุต่างๆ ด้วย


4. ออกกำลังกาย

     ร่างกายจะแข็งแรง ต้องออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วันในหนึ่งสัปดาห์ การออกกำลังสามารถออกได้ตามร่างกายเรารับไหว อาจจะเป็นการเดิน การวิ่ง ปั่นจักรยาน แอโรบิค  รำไทเก๊ก เป็นต้น แต่ไม่ควรออกกำลังกายมากเกินไป จะกลายเป็นโทษแทน


5. กินอาหารที่มีประโยชน์

    - กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อปลา ข้าวกล้อง ถั่วธัญพืชต่างๆ เป็นต้น 

    - เว้นการกินอาหารทอด ปิ้งที่ไหม้เกรียม อาหารที่ผ่านกรรมวิธี เช่น ไส้กรอก หมูแฮม เป็นต้น 

    - ไม่กินอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม มากเกินไป

    -  กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่


6. หมั่นทำบุญ เสริมสร้างอารมณ์ให้ผ่องใส ไม่เครียด

    จิตใจเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรง ถ้าเราไม่เครียด หมั่นทำบุญ  ไม่รัก โลภ โกรธ หลง มากเกินไป หมั่นพบปะพูดคุยกับคนรอบข้างด้วยความรู้สึกที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส 

    ถ้าเครียดร่างกายจะหลั่งสารฮอร์โมนที่ไม่ดี ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง


7. ไม่กลั้นปัสสาวะ  อุจจาระ นานเกินไป

     บางครั้งเราทำงานนานๆ หรือ ทำอะไรต่างๆ จนลืมไปว่า ปวดปัสสาวะ หรือ อุจจาระ จะส่งผลที่ไม่ดีต่อร่างกาย ซึ่งปวดปัสสาวะ อุจจาระ ควรรีบเข้าห้องน้ำ


8. ไม่่ตากลมจากพัดลมมากเกินไป

     การที่ได้รับลมจากพัดลมมากเกินไป ทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน เป็นหวัดได้ง่ายๆ

9. หมั่นยิ้ม พูดคุยกับกัลยาณมิตร กับคนรอบตัวบ้าง

     การที่ทำงานมากเกินไป จนไม่สนใจคนรอบข้าง นอกจากทำให้ร่างกายไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว จิตใจก็หดหู่ไปด้วย เป็นต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง  หมั่นยิ้ม พูดคุยกับกัลยาณมิตร กับคนรอบตัวบ้าง


10. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ

       การนอนพักผ่อนให้เพียงพอ จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง เนื่องจากตอนที่เราหลับ ร่างกายจะผ่อนคลาย  และ จะเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน


11. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด

      จุดเริ่มต้นของระบบการย่อยอาหารจะอยู่ที่ปาก เคี้ยวอาหารให้ละเอียด จะช่วยให้กระเพาะอาหารไม่ต้องทำงานหนักเกินไป สามารถดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น


12. แบ่งเวลาการทำงาน กับ พักผ่อน ให้แยกกัน

     การแบ่งเวลาที่ดี ควรแบ่งการทำงาน และ การพักผ่อนให้แยกออกจากกัน เพราะไม่เช่นนั้น ร่างกายก็สับสน เกิดความตึงเครียด ร่างกายจะแย่ลง


13. ทำความสะอาดบ้าน

       เชื้อโรค และ ฝุ่น เป็นสิ่งที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ถ้าบ้านเราสกปรก ก็จะมีทั้งเชื้อโรคและฝุ่น เข้าไปในร่างกายได้


14. ทำความสะอาดร่างกาย

      ร่างกายจะมีเชื้อโรคต่างๆ อยู่ ถ้าปล่อยให้หมักหมกมากๆ ก็ไม่ดี หมั่นทำความสะอาด


15. สูดอากาศที่บริสุทธิ์บ้าง

       ร่างกายเราหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปใช้งาน หาโอกาสที่สัมผัสบริสุทธิ์บ้าง จากต้นไม้ที่ปลูก หรือสวนสาธารณะ ที่บ้านมีเครื่องฟอกอากาศด้วยยิ่งดี ทำให้หายใจสะดวกขึ้น


กินเนื้อจากพืช

 กินเนื้อจากพืช


การกินเนื้อจริงส่งผลยังไงกับโลกร้อน

เหตุผลที่ทำให้คนหันมากินเนื้อจากพืชเพิ่มมากขึ้น เพราะ
กระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ สร้างก๊าซเรือนกระจกขึ้นมามากถึง 14%
และยังใช้ทรัพยากรในการผลิตเป็นจำนวนมาก
.
แต่กลับกันการกินเนื้อจากพืช มีข้อดีต่อโลกและตัวเรา

1. สุขภาพที่ดี

2. ใช้ที่ดินน้อยกว่าการเลี้ยงสัตว์

3. ใช้น้ำน้อยกว่าการผลิตเนื้อสัตว์

4. ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า

และปั๋นก็มีตัวเลือกใหม่ อย่าง Meat Zero เนื้อจากพืช
เป็นเทรนด์อาหารของโลกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี
แถมมีตัวเลือกให้เราหลากหลายรูปแบบ ทั้งโบโลน่าจากพืช มี 2 รสชาติ
ออริจินัลกับรสพริก และเบอร์เกอร์หมูจากพืช อร่อยเหมือนได้กินเนื้อสัตว์จริงๆ อีกต่างหาก และยังสุขภาพดีแบบนี้ จะไม่ให้เลือก Meat Zero ได้ยังไง

โบโลน่า วางขายที่ 7-11 , CP Fresh mart

เบอร์เกอร์หมูจากพืช วางขายที่ 7-11 , Lotus’s



นักเก็ตไก่จากพืช
ราคา 79.-

อร่อยเพลินได้ง่ายๆ แค่ทอดไม่กี่นาที (สามารถใช้กับหม้อทอดไร้น้ำมันได้) ก็เอนจอยได้ไม่ต้องกลัวเสียสุขภาพ แถมรสชาติยังอร่อยเหมือนเนื้อไก่จริง ๆ
*มีส่วนผสมของไข่ขาว

โปรตีน 13 ก.
แคลเซียม 115 มก.
0 มก. คอเลสเตอรอล


เนื้อบดจากพืช
ราคา 79.-


เนื้อบดจากพืช 100% อร่อย รสสัมผัสดีเยี่ยม แถมยังได้สารอาหารครบถ้วน เอาไปปรุงต่อได้หลากหลายเมนูเหมือนเนื้อจริง ทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพและสายวีแกน

โปรตีน 11 ก.
ใยอาหาร 5 ก.
0 มก. คอเลสเตอรอล


หมูกรอบจากพืช
ราคา 79.-

เปิดโลกใหม่แห่งการทานหมูกรอบ ที่มีเนื้อสัมผัสและรสชาติอร่อย มีโปรตีนและไฟเบอร์ แต่ปราศจากโคเลสเตอรอล จะทอดกรอบทานเล่น หรือทำเป็นเมนูอื่น ๆ ก็อร่อยอย่างสบายใจ ทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพและสายวีแกน

โปรตีน 18 ก.
0 มก.คอเลสเตอรอล








เก็บรักษายา





 เก็บรักษายา


1. การเก็บยารักษาไม่ควรเก็บในที่ร้อนหรือเย็นเกิ้นไป เพราะจะลดประสิทธิภาพยารักษาโรค การเก็บยารักษาให้เก็บในที่ไม่โดนแสงแดด  อากาศถ่ายเทสะดวก 


2. ควรเก็บยาในตู้หรือกล่อง แล้วแยกให้ชัดเจนว่า ยารับประทาน หรือ ยาใช้ภายนอก   ควรเห็นฉลากชัดเจน


3.  ถ้าใส่กล่องแยกเม็ดยา ถ้าเป็นแผงให้ตัดแบ่งเป็นเม็ดมีแผงติดมาด้วย ไม่เอามาแต่เม็ดยา 

    ถ้าเป็นเม็ดในขวด ให้ใส่เป็นเม็ดได้ แต่ไม่ควรเกิน 1 อาทิตย์ 


ดูแลสุขภาพร่างกายจิตใจ ให้ห่างไกลโรค COVID-19



 ดูแลสุขภาพร่างกายจิตใจ ให้ห่างไกลโรค COVID-19


7 วิธี ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง สร้างภูมิคุ้มกันโรค


1. ลดความเครียด

      อารมณ์ที่เครียด หงุดหงิดง่าย อารมณ์เสียตลอดเวลา ทำให้ร่างกายเราอ่อนแอลง ภูมิต้านทานลดลง เนื่องจากไปเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย 

     วิธีลดความเครียด 

     - ปรับความคิดไม่มองโลกแง่ร้ายมองในแง่ความจริง เรื่องไหนที่ปล่อยวางได้ก็ปล่อยบ้าง 

     - หากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายทำ เช่น ฟังเพลงที่เพราะๆ ปลูกต้นไม้ เขียนบันทึก ทำความสะอาดบ้าน จัดของใช้ในบ้าน เป็นต้น

    - ทำใจให้สงบ ด้วยการฝึกสมาธิ เดินจงกรม ทำบุญ  สวดมนต์ พูดคุยกับคนรอบข้างด้วยความรู้สึกที่ดี


2. นอนหลับให้เพียงพอ

     การนอนหลับที่ดีและเพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่ดี อารมณ์ที่ดี เนื่องจากตอนเราหลับ จะมีการซ่อมแซม และเสริมสร้างภูมิต้านทาน ยังมีการปรับอารมณ์ให้ดี 

     การที่เราจะหลับได้ดี 

    - ต้องปรับแสงไม่ให้สว่างเกินไป 

    - ห้องนอนควรแยกจากห้องทำงาน ห้องนันทนาการ 

    - อุณหภูมิในห้องที่พอเหมาะไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป 

    - เตียงนอนที่ไม่แข็งหรืออ่อนเกินไป ใช้หมอนเพื่อสุขภาพ

    - ก่อนนอน 1 ชม. งดใช้เครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์ต่างๆ ทำให้ใจให้สงบ อาจจะด้วยการนั่งสมาธิ


3. ดื่มน้ำเปล่า อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

      น้ำช่วยเพิ่มสารคัดหลั่ง และ ความชุ่มชื้นของเยื่อบุผิวในช่องทางเดินหายใจส่วนบน ช่่วยป้องกันและดักจับเชื้อโรคที่ร่างกายได้รับเข้ามา


4. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

     ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น ทำให้เม็ดเลือดขาวแข็งแรง จัดการกับเชื้อโรคได้ดี 

     - ออกกำลังกายด้วยการยืดเส้น คลายเส้น อาจจะเป็นฝึกโยคะ ไทเก๊ก 

     - ออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อด้วยการยกน้ำหนัก แต่ไม่ควรใช้น้ำหนักที่มากเกินร่างกายรับไหว จะกลายเป็นทำร้ายร่างกายแทน 

     ออกกำลังกายให้ได้วันละ 30 นาที  3-4 วันต่อสัปดาห์


5. รับประทานอาหารต้านโรค

    - รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ 

    - ลดหวาน มัน เค็ม ของทอด ไม่ทานมากเกินไป

    - เสริมด้วยอาหารที่สร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ผักสวนครัวไทย ขิง กระเทียม ข่า ตะไคร้ พริก ฯลฯ


6. ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ

     ล้างมือเมื่อต้องใช้ของร่วมกับคนอื่นในที่สาธารณะ อาจจะใช้เจลไร้แอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการได้รับเชื้อโรคเข้าสู่รางกาย


7. อากาศ

    เชื้อโรคจะมากับอากาศ ซึ่งเราป้องกันได้ 

   -ใส่หน้ากากอนามัย 

   - ใช้เครื่องฟอกอากาศ 

   - ทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ 

   - ปลูกต้นไม้ฟอกอากาศ