เทรนด์รักสุขภาพกำลังมาแรง มาทำความรู้จักน้ำมันปลา กับน้ำมันตับปลาแตกต่างกันอย่างไร

เทรนด์รักสุขภาพกำลังมาแรง 
มาทำความรู้จักน้ำมันปลา กับน้ำมันตับปลาแตกต่างกันอย่างไร


ในการดูแลสุขภาพ อาหารเสริมกลายมาเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยม แต่คุณ ทราบหรือไม่ว่าน้ำมันปลา กับน้ำมันตับปลาแตกต่างกันอย่างไร
เทรนด์รักสุขภาพกำลังมาแรง หลายๆ คนจึงพยายามสรรหาสิ่งดีๆ ให้แก่ร่างกายในการดูแลสุขภาพ อาหารเสริมจึงกลายมาเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยม แต่คุณจะทราบได้อย่างไรว่าอาหารเสริมแบบไหนดี วิตามินแบบไหนเหมาะกับคุณ แล้ววิตามินแต่ละอย่างแตกต่างกันอย่างไร หรือแม้กระทั่งความเข้าใจผิดเรื่องน้ำมันปลา กับน้ำมันตับปลา 

เภสัชกรหญิงวิชชุลดา ผรณเกียรติ์ ผู้เชี่ยวชาญจากเมก้า วีแคร์ กล่าวว่า ปัจจุบัน ผู้บริโภคสับสนมากกับน้ำมันปลา (Fish Oil) และน้ำมันตับปลา (Cod Liver Oil) ซึ่งมีความแตกต่างกันมาก แต่บางคนยังเข้าใจว่า เหมือนกัน ซึ่งจริงๆ แล้ว น้ำมันตับปลา เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากตับของปลาทะเล ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ คือ วิตามินเอ (Vitamin A) และวิตามินดี (Vitamin D) โดยนิยมใช้ในเด็ก วัยรุ่น และวัยทำงานทั่วไป เพื่อ ช่วยเสริมสร้างกระดูก เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องผิวหนังและดวงตาจากการถูกทำลายจากมลพิษ ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

โดยการรับประทานน้ำมันตับปลาต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น เพราะหากรับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ รูปปลาและสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับ ประทานน้ำมันตับปลา เนื่องจากมีปริมาณของวิตามินเอสูง ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ได้ ในขณะที่ น้ำมันปลา เป็นน้ำมันที่ได้จากการสกัดจากเนื้อ หัว หาง และหนังของปลาทะเล เช่น ปลาแอนโชวี่ ปลาแซลมอน ปลาแมคคอเรล และปลาทูน่า เป็นต้น เป็นแหล่งของกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็นต่อร่างกาย เรียกว่า โอเมก้า 3 (Omega 3) ประกอบไปด้วยสารสำคัญ 2 ชนิด คือ อีพีเอและดีเอชเอ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของสมอง ระบบประสาท การทำงานของระบบหลอดเลือด หัวใจ และสายตา ดังนั้น การได้รับน้ำมันปลาหรือโอเมก้า 3 ไม่เพียงพอนั้น จะส่งผลด้านลบต่อสุขภาพในด้านต่างๆ ได้ เช่น ความเสื่อมของสมอง ดวงตา มีภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดอุดตันจากไขมันในเลือดสูง เป็นต้น 

สำหรับประโยชน์ของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่พบในน้ำมันปลา (Fish oil) นั้น มาจากสารสำคัญสองชนิด คือ

1. อีพีเอ (EPA) ทางการแพทย์พบว่ามีส่วนช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น ลดระดับไขมันในเลือดโดยเฉพาะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ลดภาวะ ความดันโลหิตสูง และลดอาการอักเสบต่างๆ ของร่างกาย จึงมีส่วนช่วยลดอาการข้อเสื่อม ปวดข้อหรือข้ออักเสบในคนไข้โรครูมาตอยด์ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยลดอาการคันและการอักเสบในคนไข้โรคสะเก็ดเงินอีกด้วย

2. ดีเอชเอ (DHA) มีงานวิจัยชี้ว่าสามารถช่วยในด้านการพัฒนาสายตา บำรุงสมอง ระบบประสาท โดยเฉพาะในส่วนของความจำและการเรียนรู้ เพราะดีเอชเอจะเข้าไปเสริมสร้างการเจริญเติบโตและการทำ
งานของปลายประสาท ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวถ่ายทอดสัญญาณข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้สมองมีการพัฒนาอย่างเหมาะสมและเสริมสร้างการเรียนรู้ด้านต่างๆ ของร่างกาย จึงมีการนำดีเอชเอไปเสริมในนมผงสำหรับทารก หรือนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ นอกจากนี้ ยังมีการให้ดีเอชเอในการรักษา โรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ที่พบในผู้สูงอายุด้วย

“ในขณะที่ เราสามารถได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ในน้ำมันปลาได้จากการรับประทานปลาธรรมชาติในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะปลาเล็ก..ปลาน้อย..หรือปลาตัวโต ถ้าเทียบปริมาณโอเมก้า 3 ที่เราควรได้รับในแต่ละวันก็ให้รับประทานปลาทูขนาดตัวกลางๆ เป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ตัว โดยไม่จำเป็นต้องซื้อปลาแพงๆ มารับประทาน เพราะแค่ปลาสดๆ ที่วางขายในตลาดแถวบ้านก็ได้ อย่างเช่น ปลาทู ปลาตะเพียน ก็มีโอเมก้า 3 เช่นกัน ที่สำคัญแนะนำให้เลือกการปรุงอาหารแบบปลาต้มหรือปลานึ่งจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพื่อคงคุณค่าของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่อยู่ในเนื้อปลา ซึ่งหากเราสามารถรับประทานปลาได้เป็นประจำก็ไม่ มีความจำเป็นที่ต้องไปเลือกหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ มารับประทาน แต่ในบางท่านที่มีข้อจำกัดในด้านต่างๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอย่าง “น้ำมันปลา” (Fish oil) จึงเป็นอีกทางเลือกที่จะมาช่วยในการดูแล สุขภาพได้” เภสัชกรหญิงวิชชุลดา อธิบายเพิ่มเติม 

สำหรับการรับประทานน้ำมันปลาอย่างเหมาะสม เราควรคำนึงถึงสภาพร่างกายของเรา โดยหากเป็นบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพดี ทางสมาคมโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกา (American Heart Association; AHA) ได้ แนะนำการรับประทานกรดไขมันโอเมก้า 3 เพื่อการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โดยควรรับประทานน้ำมันปลาที่มีปริมาณของโอเมก้า 3 อย่างน้อย 500 มิลลิกรัมต่อวัน (ปริมาณของ EPA+DHA) ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควร รับประทานน้ำมันปลาที่มีปริมาณของโอเมก้า 3 อย่างน้อย 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน (ปริมาณของ EPA+DHA ) ผู้ป่วยที่ต้องการลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ควรรับประทานน้ำมันปลาที่มี ปริมาณของโอเมก้า 3 อย่างน้อย 2,000-4,000 มิลลิกรัมต่อวัน (ปริมาณของ EPA+DHA)

นอกจากนี้ ปัจจุบันมีอาหารเสริมน้ำมันปลามากมายในท้องตลาด เราจึงควรให้ความใส่ใจในการเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลา (Fish Oil) ที่เป็นน้ำมันปลาจากธรรมชาติ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน โดยควร คำนึงถึงว่าต้องปลอดสารพิษ คือ เป็นน้ำมันปลาที่ผลิตด้วยมาตรฐานเดียวกับการผลิตยา ซึ่งจะมีคุณภาพและความปลอดภัยมากกว่าน้ำมันปลาที่ผลิตภายใต้มาตรฐานอาหารทั่วไป ทำให้ได้น้ำมันปลาคุณภาพต่ำ มักพบสารปนเปื้อนจำพวกโลหะหนัก ตะกั่ว ปรอท เจือปน ซึ่งพบมากทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้น ผู้บริโภคจึงควรเลือกน้ำมันปลาที่ผลิตภายใต้มาตรฐานที่มีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด จะทำให้มั่นใจใน คุณภาพของน้ำมันปลาว่าได้ผ่านการคัดสรรและมีขั้นตอนการผลิตที่ได้มาตรฐาน มีการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนของการผลิต จึงเป็นทางเลือกที่ให้ความมั่นใจและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง เพราะการรับประทานสารอาหารเหล่านี้ จะมีการรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/678187

นักโภชนาการเตือน “กินคลีน” เสี่ยงขาดสารอาหาร



กระแสการรักษาสุขภาพในสังคมปัจจุบันด้วยการกินอาหารคลีน หรืออาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อย นอกจากทำให้น้ำหนักลด ยังเหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องการควบคุมอาหาร ทั้งโรคเบาหวาน โรคไต และผู้ที่มีคอลเลสเตอรอลสูง พาไปรู้จักวิธีการกินอาหารคลีนที่ได้สารอาหารตามหลักโภชนาการ 

ข้าวไรซ์เบอรี พืชผัก และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เป็นวัตถุดิบที่ น.ส.อศิตา ชลายนนาวิน เลือกซื้อจากตลาดใกล้บ้าน ก่อนนำมาปรุงรสด้วยวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก เพื่อให้วัตถุดิบทั้งหมดคงคุณค่าทางโภชนาการ

น.ส.อศิตาระบุว่า เพราะต้องการดูแลสุขภาพและลดน้ำหนักของตัวเอง แต่กลับนำมาซึ่งรายได้เสริมในการรับทำอาหารคลีนสำหรับกลุ่มเพื่อน และลูกค้าที่ไม่มีเวลาประกอบอาหารเอง ซึ่งสื่อสังคมออนไลน์เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ที่ทำให้กระแสอาหารคลีนเป็นที่รู้จักในฐานะอาหารเพื่อสุขภาพ



ขณะที่ ผู้บริโภคบางรายอาจเลือกซื้อซีเรียลหรือธัญพืชอบแห้ง นำมาใส่นมและผลไม้กินแทนอาหารมื้อหลัก ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวอาจเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ

น.ส.ผกาวลี ประกายสิทธิ์ นักกำหนดอาหารแผนกโภชนบำบัด โรงพยาบาลกรุงเทพ ระบุว่า หากกิน
อาหารคลีนแทนอาหารหลักเป็นประจำทุกมื้อ มีความเสี่ยงเป็นภาวะทุพโภชนาการได้โดยในเฉพาะเด็กและวัยรุ่น ที่อาจทำให้ร่างกายเติบโตไม่สมส่วน เติบโตช้า รวมถึงระดับสติปัญญาทั้งไอคิวและอีคิวอาจต่ำกว่าเกณฑ์


อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ปี 2558 ตั้งเกณฑ์เป้าหมายเด็กไทย ร้อยละ70 อายุตั้งแต่ 6 ปีถึง 14 ปี ในด้านความสูง และรูปร่างสมส่วน ซึ่งปีที่ผ่านๆมา จากการสำรวจพบว่า มีเกณฑ์พัฒนาการดีขึ้น ส่วนในวัยทำงานและวัยผู้ใหญ่ หากมีการจำกัดพลังงานโดยกินอาหารที่ให้พลังงานไม่เหมาะสมกับกิจวัตรประจำวัน จะส่งผลให้สมรรถภาพในการทำงานลดน้อยลง เช่นคิดอะไรไม่ออก อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย และในอนาคตมีความเสี่ยงกับภาวะสุขภาพอื่นๆ






กดถูกใจหน้าเพจ ThaiPBSNews

https://www.facebook.com/ThaiPBSNews?ref=hl

สัญญาณเตือน โรคความดันโลหิตสูง

สัญญาณเตือน   
โรคความดันโลหิตสูง


สัญญาเตือนผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูง **

1. เกิดอาการมืนงงขึ้นมาอย่างไร้สาเหตุ

2. ชีพจรข้างใดข้างหนึ่งเบากว่าอีกข้างหนึ่งอย่างเห็นได้ชัด (อาจต้องอาศัยการประเมินจากเจ้าหน้าที่)

3. ใบหน้า และมือบวมหรือมีสีหน้าซีดเซียว

4. ปวดศีรษะ และวิงเวียนบ่อยๆ ระหว่างวัน หรือมีอาการปวดมึนท้ายทอย ซึ่งมักเกิดจากหลังตื่นนอนใหม่ๆ

5. ร่างกายอ่อนเพลียแม้ว่าจะได้พักผ่อนแล้ว

6. นอนไม่หลับหรือเพลีย เหมือนพักผ่อนไม่พอ

7. มีอาการผิดปกติที่ตา เช่น ตามัว หรือมองไม่เห็นชั่วคราว

8. หงุดหงิดง่าย ขาดสมาธิ



วิธีป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

1. ลดอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ผงชูรส เกลือ น้ำปลา ปลาร้า ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม

2. การลดปริมาณเกลือในอาหาร


3. การลดน้ำหนัก


4. การงด/หรือลดการดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์


5. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ



6. นั่งสมาธิเป็นประจำ




7. รับการตรวจวัดความดันโลหิต


8. ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท




** สัญญาณเตืนดังกล่าวข้างต้น ไม่จำเป็นจะต้องมีสัญญาณครบทุกข้อเมื่อมีสิ่งผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์



ด้วยความปรารถนาดีจาก กลุ่มงานเวชกรรมสังคม
โรงพยาบาลลำปาง

อาหารปลอดภัย

อาหารปลอดภัย



อาหารปนเปื้อนเกิดขึ้นจากใครบ้าง? 

หลายคนอาจมุ่งไปที่ผู้ผลิตอาหารเพื่อขาย โดยมักไม่คำนึงว่าตนเองคือผู้ที่เลือกบริโภค ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยขึ้น หลายคนเลี่ยงแล้วแต่หนีไม่พ้นเพราะดูไม่ออก

อาหารจะปลอดภัยหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต เช่น เกษตรกรผู้ปลูกพืช ผัก ผลไม้ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงมากเกินไป ไม่ใช้สารอันตรายกระตุ้นผลผลิต หรือใช้วิธีการถนอมอาหารสดที่ไม่ถูกต้อง ส่วนเกษตรที่เลี้ยงหมู ไก่ ปลา กุ้ง หอย ไม่ควรใช้ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์เพราะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไป ไม่ใช้ยาต้องห้าม ดูแลอาหารสัตว์ไม่ให้มีเชื้อราปนเปื้อน เป็นต้น



อาหารจะปลอดภัยหรือไม่ขึ้นอยู่กับความรู้และคุณธรรมของผู้แปรรูปอาหาร พ่อค้า แม่ค้า ที่ปรุงอาหารสำเร็จไว้ขายให้คนได้ซื้อหา ไม่ว่าจะทำลูกชิ้นโดยไม่ใส่สารบอแรกซ์ ทำเนื้อแดดเดียว ทำแหนมโดยใส่ปริมาณดินประสิวไม่เกินกำหนด ทำขนมหวานหลากสีโดยใช้สีที่ปลอดภัย ใช้ภาชนะบรรจุอาหารให้ถูกประเภท เป็นต้น

อาหารจะปลอดภัยหรือไม่ขึ้นกับความรู้ของผู้บริโภคด้วย รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีความปลอดภัย ปรุงอาหารให้ถูกสุขลักษณะ เช่น ไ่ม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นต้น



หากผู้บริโภคมีความรู้ในการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดสารพิษเข้าสู่รางกายได้ดีแล้ว โอกาสที่จะได้รับสารพิษก็จะน้อยลง หรือแทบจะไม่มีอันตราย ควรใส่ใจข่าวสารสุขภาพจากสื่อต่างๆ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือ และการให้ความรู้ของทางราชการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรู้เท่าทันเหตุการณ์ในยุคปัจจุบัน



อาหารปลอดภัย ชีวิตปลอดภัย
non toxic FOOD
safe & secure


สุขภาพดี, ดูแลสุขภาพ

กินเบอร์รี่แล้วสุขภาพดี



มากินเบอร์รี่กันเถิดจะเกิดผล (ไทยโพสต์)

          เบอร์รี่ที่เรารู้จักมีมากมายหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นสตรอว์เบอร์รี่, บลูเบอร์รี่, มัลเบอร์รี่ และเชอร์รี่ลูกสีแดงสดหน้าตาน่ากิน รสชาติเปรี้ยวนิด ๆ หวานหน่อย ๆ แต่จะมีใครทราบบ้างว่าเบอร์รี่มีประโยชน์มากกว่าหน้าตา และรสชาติมากขนาดไหน ภญ.ดร.จิรพันธ์ ม่วงเจริญ ที่ปรึกษาด้านผิวพรรณของ เจอเนสส์ โกลบอล (ประเทศไทย) จะมาแนะเคล็ดลับสุขภาพดีแบบฉบับเบอร์รี่ให้ได้ทราบกัน


ต้านหวัดได้ผลเกินร้อย 
    
          เพราะผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่นั้นขึ้นชื่อว่าอุดมไปด้วยวิตามินซีที่ช่วยในเรื่องของการป้องกันโรคหวัด และยังช่วยในการบำรุงผิวพรรณให้สดใส เปล่งปลั่ง และแก้มแดงมีเลือดฝาด มักพบมากในสตรอว์เบอร์รี่, บลูเบอร์รี่, แครนเบอร์รี่ และเชอร์รี่ ดังนั้นถ้าใครเป็นหวัดอยู่ล่ะก็ แนะนำให้รีบหาเบอร์รี่มากินต้านหวัดกันด่วน

แบล็กเคอร์แรนต์

บำรุงสายตาให้สดใสบริ๊งค์ ๆ 
    
          เพราะสารแอนโธไซยานินที่พบมากในเบอร์รี่หลาย ๆ ชนิด เช่น สตรอว์เบอร์รี่, ราสป์เบอร์รี, เชอร์รี่ เป็นต้น มีส่วนช่วยในการป้องกันอาการอ่อนล้าจากการใช้สายตาอย่างหนัก และช่วยให้สายตาทำงานได้ดีขึ้นในที่มืด โดยเฉพาะในแบล็กเคอร์แรนต์ที่ช่วยให้จอตารับภาพในเวลากลางคืนได้ชัดขึ้น และอาซาอิเบอร์รี่ช่วยปกป้องการเสื่อมของเลนส์ตาและจอประสาทตา 

เพิ่มระบบภูมิต้านทาน 

          เบอร์รี่เป็นผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินมากมาย เช่น A, B, C, E, K และโพแทสเซียม ฯลฯ ที่ร่างกายต้องการเพื่อช่วยให้เซลล์ในร่างกายสามารถซ่อมแซมตัวเองจากโรคต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ทั้งการรักษาบาดแผล การป้องกันโรคมะเร็ง ลดการเป็นโรคลักปิดลักเปิด ตลอดจนโรคเกาต์หรืออาการปวดตามข้อ 

          อีกทั้งเบอร์รี่ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง โดยพบมากที่สุดในบลูเบอร์รี่ ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ให้ดียิ่งขึ้น ลดการอักเสบของหลอดเลือดอันเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ โรคทางประสาทและสมอง ตลอดจนสารสีแดงในเบอร์รี่ช่วยต้านความเสื่อมของร่างกายและชะลอความชรา ฟื้นฟูการสร้างคอลลาเจนในผิว ช่วยให้ผิวแลดูอ่อนเยาว์ ริ้วรอยดูลบเลือนลง ให้ผิวแลดูอ่อนกว่าวัย

เสริมความจำให้แม่นยำ 
    
          นอกจากสารต้านอนุมูลอิสระในเบอร์รี่จะช่วยในเรื่องของผิวพรรณแล้ว ยังช่วยในเรื่องของระบบประสาทด้วย โดยจะช่วยให้เซลล์สมองสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ดีขึ้น ทำให้ความสามารถในการจำของเราดีขึ้น ดังนั้นใครที่ขี้หลงขี้ลืมลองกินเบอร์รี่เป็นประจำดูสิ


สตรอว์เบอร์รี่

ควบคุมน้ำหนักได้ผลเกินคาด
   
          เหมาะสำหรับสาว ๆ ที่กำลังหาวิธีควบคุมน้ำหนักหรือลดความอ้วนง่าย ๆ แต่ได้ผล แนะนำให้ทานสตรอว์เบอร์รี่และบลูเบอร์รี่  เพราะแหล่งพลังงานชั้นยอดที่มีแคลอรี่ต่ำ ช่วยเพิ่มความสดชื่น กระปรี้กระเปร่าให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี โดยไม่ทำให้น้ำหนักขึ้นตาม เพราะเส้นใยอาหารในสตรอว์เบอร์รี่ช่วยให้เรารู้สึกอิ่มเร็วและอิ่มนานกว่าเดิม ช่วยในระบบการย่อยอาหารและการขับถ่ายของร่างกายให้ทำงานได้เป็นระบบมากขึ้น ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ อีกทั้งในบลูเบอร์รี่ยังมีสารเพคตินที่ช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอล ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยล้างพิษในร่างกายให้รู้สึกสดชื่น ผิวพรรณผ่องใส 

แครนเบอร์รี่

ต้านโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

          โดยเฉพาะในแครนเบอร์รี่ที่สามารถป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบได้มากกว่าเบอร์รี่ตัวอื่น ๆ เพราะมันสามารถป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า อีโคไลน์ ต้นต่อของโรค รวมทั้งมีสารแทนนินที่มีส่วนช่วยหยุดการสะสมตัวและการเกาะตัวของแบคทีเรียในบริเวณผนังทางเดินปัสสาวะอันเป็นบ่อเกิดของโรคได้ 
    

          **** เห็นไหมล่ะว่าเบอร์รี่ที่เรากินกันอยู่บ่อย ๆ มีประโยชน์มากแค่ไหน 
ยิ่งสาว ๆ ที่ควบคุมปริมาณแคลอรี่ด้วยแล้วยิ่งต้องรีบหาเบอร์รี่มาติดบ้านไว้
เป็นที่สุดนะจะบอกให้ ++++


http://health.kapook.com/view69654.html

“ไขมันทรานส์” ที่สุดของไขมันอันตราย

“ไขมันทรานส์” ที่สุดของไขมันอันตราย

ไขมันทรานส์ เป็นกรดไขมันที่เกิดจากกระบวนการแปรรูปกรดไขมันไม่อิ่มตัวให้กลายเป็นกรดไขมันอิ่มตัวสูง ตัวอย่างเช่นการทำน้ำมันพืช จะมีการเติมไฮโดรเจนลงไปในน้ำมันพืช เรียกว่า กระบวนการไฮโดรจีเนชั่น (Hy drogenat ion) เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง หรือแม้กระทั่งการแปรรูปให้มีลักษณะเป็นกึ่งของแข็ง เช่น มาร์การีนหรือเนยเทียม เนยขาว ครีมเทียม เป็นต้น โดยวัตถุดิบเหล่านี้จะมีชื่อบนฉลากอาหาร คือ กรดไขมันชนิดทรานส์ หรือ Hydrogenated Oil หรือ Partially Hydrogenated Oil
เหตุที่มีการนำไขมันไปเปลี่ยนเป็นไขมันทรานส์ ก็เนื่องจากไขมันทรานส์สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืน ไม่เป็นไข ทนความร้อนได้สูง และมีรสชาติใกล้เคียงกับไขมันจากสัตว์ แต่จะมีราคาที่ถูกกว่า บรรดาผู้ประกอบกิจการอาหารต่าง ๆ มักนิยมนำไขมันทรานส์มาใช้ประกอบอาหารมากมาย เพื่อประโยชน์ในการลดต้นทุนการผลิตลง เช่น กลุ่มอาหารฟาสต์ฟูดซึ่งใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอดไก่ มันฝรั่ง โดนัท หรือการนำมาใช้ในการประกอบกิจการเบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ครีมเทียม และวิปปิ้งครีม เป็นต้น


มาดูกันต่อคะว่า การทานอาหารที่มีไขมันทรานส์มากๆ จะส่งผลอย่างไรต่อร่างกายบ้าง
การที่เราทานอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์มากๆ จะมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ Cholesterol Acyltranferase ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในการเมตาบอลิซึมของคอเลสเตอรอล ทำให้ระดับ LDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดเลวในเลือดเพิ่มขึ้น และลดระดับ HDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด
และเนื่องจากไขมันทรานส์เป็นไขมันที่เกิดจากการแปรรูป จึงย่อยสลายได้ยากกว่าไขมันชนิดอื่น ทำให้ตับต้องสลายไขมันทรานส์ด้วยวิธีการที่แตกต่างไปจากการย่อยสลายไขมันตัวอื่น จึงอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ผิดปกติกับร่างกาย คือ จะทำให้ร่างกายมีน้ำหนักและไขมันส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น มีภาวะการทำงานของตับที่ผิดปกติ มีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดโดยความเสี่ยงที่กล่าวมานี้ ล้วนเป็นผลจากงานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาถึงเรื่องไขมันทรานส์

ถึงตอนนี้ จะพูดว่าไขมันทรานส์ ได้กลายเป็นศัตรูตัวร้ายอันดับต้นๆ ของคนรักสุขภาพทั่วโลกก็ว่าได้นะคะ อย่างในหลายๆ ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีการออกข้อบังคับเกี่ยวกับการระบุปริมาณไขมันทรานส์บนฉลากโภชนาการ และให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการจำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์
นอกจากนี้ บางรัฐในสหรัฐอเมริกา เช่น นิวยอร์กได้ออกมาประกาศว่าจะเป็นรัฐแรกในสหรัฐอเมริกาที่ปลอดไขมันทรานส์ โดยออกมาตรการให้บรรดาร้านอาหาร ภัตตาคาร และผู้ประกอบการด้านอาหารทั้งหลาย ค่อยๆ ลดการใช้ไขมันชนิดนี้ในการปรุงอาหาร และหยุดใช้โดยเด็ดขาดทั่วทั้งนิวยอร์กภายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา แต่น่าเสียใจสำหรับคนไทย เพราะบ้านเรายังไม่มีมาตรการทางกฎหมาย มาควบคุมการใช้หรือบังคับให้ระบุปริมาณไขมันทรานส์บนฉลากโภชนาการ

ผู้บริโภคที่ใส่ใจและรักสุขภาพ จึงควรดูแลตนเอง โดยระมัดระวังเรื่องทานอาหาร หลีกเลี่ยงที่มีปริมาณไขมันทรานส์เยอะ เช่น อาหารประเภทของทอด (ไก่ทอด, เฟรนซ์ฟรายส์ , นักเก็ต) ซึ่งมักใช้น้ำมันทอดซ้ำๆ จนหนืด รวมทั้งแฮมเบอเกอร์ หรือขนมขบเคี้ยวที่เก็บไว้นานๆ แต่ก็ยังกรุบกรอบ นอกจากนี้ยังรวมถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของเนยขาวและมาร์การีน อาทิ คุ้กกี้ พาย พัฟ หรือขนมขบเคี้ยวชนิดแท่งด้วย

ทราบอย่างนี้แล้วก็ ปรับรูปแบบการทานกันใหม่นะคะ ใครที่ชอบทานกลุ่มอาหารดังที่ได้กล่าวมา ก็ควรจะค่อยๆ ปรับและลดปริมาณลง ใส่ใจกับการเลือกรับประทานกันดีกว่า เพื่อสุขภาพของเราเอง และคนที่เรารัก อย่าลืมประโยคสำคัญที่ว่า You are what you eat กันล่ะ.

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก http://www.thaihealth.or.th/

กินโยเกิร์ตเพื่อสุขภาพ


โยเกิร์ต นมเปรี้ยวที่คนไทยรู้จักในรูปแบบต่างๆ อาจจะไม่ใช่นมเปรี้ยวที่เรากำลังจะกล่าวถึงเพราะ โยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวที่ดีจะต้องมีแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่ จุดประสงค์ของการรับประทานนมเปรี้ยวที่ถูกต้องคือ การรับประทานแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตจำนวนมาก(ประมาณหมื่นล้านตัวต่อกรัม)เพื่อหวังผลต่อสุขภาพ
ส่วนนมเปรี้ยวที่เราหาซื้อกันในท้องตลาดทำขึ้นโดยมีการปรุงแต่งรสชาติให้อร่อย บางชนิดไม่สมควรเรียกว่าโยเกิร์ตเสียด้วยซ้ำเพราะนำไปพาสเจอร์ไรซ์(ฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิสูง)และนำมาบรรจุกล่อง ที่จริงน่าจะเรียกว่าซากโยเกิร์ต บางชนิดก็มีการใส่น้ำตาลมากจนน่าสงสัยว่าท่านจะได้ประโยชน์ได้เต็มที่หรือไม่ บางชนิดก็มีการเจือจางจนปริมาณแบคทีเรียดีๆเหลืออยู่น้อยมาก

แบคทีเรียที่ดีในโยเกิร์ต ได้แก่ แลคโตบาซิลัส เอซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophillus) แลคโตบาซิลัส บัลการิคัส (Lactobacillus bulgaricus) และ สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัส (Streptococcus thermophillus)
โยเกิร์ตสามารถทำได้จากนมชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นมสด นมพร่องมันเนย หรือ นมถั่วเหลือง โดยการใช้แบคทีเรีย แลคโตบาซิลัส เอซิโดซิส และ สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัส เป็นหลักใส่ลงไปหมักผลิตภัณฑ์นมต่างๆ แบคทีเรียเหล่านี้ช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมให้เป็นกรดแลคติคทำให้มีภาวะกรดและมีรสเปรี้ยว
ดังนั้นโยเกิร์ตที่ดีควรทำจากนมชนิดต่างๆและแบคทีเรียที่ดีเท่านั้น ไม่ควรมีส่วนผสมอย่างอื่นเข้าไปเจือปน ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาล สี สารเจลาติน รสสังเคราะห์ ส่วนผสมเหล่านี้ล้วนทำให้คุณค่าของโยเกิร์ตด้อยลง แม้ว่าเราอาจจะไม่คุ้นเคยต่อรสโยเกิร์ตธรรมชาติ แต่ขอให้คำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ท่านก็จะสามารถรับประทานโยเกิร์ตธรรมชาติด้วยความสบายใจและอร่อย

คุณประโยชน์จากโยเกิร์ต
1. โยเกิร์ตย่อยง่าย เพราะน้ำตาลแลคโตสเป็นตัวหลักที่ทำให้เกิดการแพ้นมหรือท้องเสียถูกเปลี่ยนเป็นกรดแลคติกที่ย่อยง่าย นอกจากนี้แบคทีเรียในโยเกิร์ตยังมีเอนไซม์ช่วยย่อยโปรตีนนม เคซีน ซี่งเป็นโปรตีนย่อยยาก ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่ายขึ้น ลดปัญหาภูมิแพ้ต่อน้ำตาลแลคโตสและ โปรตีนเคซีน

2. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยยับยั้งจุลชีพที่ไม่เป็นมิตรในลำไส้ กรดแลคติคจะช่วยต่อต้านจุลชีพที่อาจให้โทษต่อร่างกายเช่น เชื้อซัลโมเนลา (Salmonella typhidie) อี โคไล ( E. Coli) โคลินแบคทีเรีย( Corynebacteria diphtheriae) ทำให้เชื้อเหล่านี้ไม่สามารถทำอันตรายต่อร่างกายได้ เราควรจะรับประทานโยเกิร์ตอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีกลุ่มแบคทีเรียที่ดีอาศัยอยู่ภายในลำไส้

3. เป็นแหล่งวิตามิน บี โดยเฉพาะวิตามิน บี1(ไรโบฟลาวิน) แบคทีเรียในโยเกิร์ตยังช่วยสังเคราะห์วิตามิน บีและวิตามิน เค ในลำไส้

4. ช่วยรักษาโรค ท้องเสีย ท้องเดิน และแผลในกระเพาะ จากการวิจัยพบว่าผู้ป่วยเด็กหายจากอาการท้องเสียเร็วขึ้น หลังจากได้รับประทานโยเกิร์ต

5. ช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมดีขึ้น กรดแลคติคในโยเกิร์ตช่วยทำให้การย่อยแคลเซียมในนมดีขึ้นและทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมง่ายขึ้น

6. เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ในโยเกิร์ตจะมีโปรตีนมากกว่าในนม 20% และยังเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดี

7. ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ แลคโตบาซิลัสช่วยควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้

8. ช่วยป้องกันมะเร็ง แลคโตบาซิลัสสามารถจับกับสารก่อมะเร็ง สามารถจับกับโลหะหนัก และกรดน้ำดีซึ่งมีพิษ แลคโตบาซิลัสช่วยยับยั้งกลุ่มแบคทีเรียในลำไส้ที่สร้างสารไนเตรทได้ (สารในเตรทเป็นสารก่อมะเร็งตัวหนึ่ง) และแลคโตบาซิลัสยังช่วยเปลี่ยนสารฟลาโวนอยด์จากพืชให้เป็นสารต้านมะเร็งได้

เรียบเรียงโดย : ทพ. จักรชัย สมพลพงษ์
© 2006 by Good Health (Thailand) Co., Ltd. All right reserved

http://lacyoghurt.com/miracle-of-lac-yoghurt

ประโยชน์ของกาแฟดำ ที่เรามองข้าม

ประโยชน์ของกาแฟดำ ที่เรามองข้าม



ประโยชน์ 11 ประการของการ"ดื่มกาแฟ"ที่ไม่ใส่น้ำตาลและไม่ใส่คอฟฟี่เมท หมายถึงดื่มแต่กาแฟล้วนๆ อย่างเดียว 

(1) การดื่มกาแฟเป็นประจำ ช่วยป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ B มีผู้วิจัยพิสูจน์แล้วว่า กาแฟมี ประโยชน์ ในการป้องกันได้ 

(2) การดื่มกาแฟเป็นประจำ ช่วยป้องกันโรคหอบ โรคนี้คือ อาการภูมิแพ้ ชนิดหนึ่ง โดยทั่วไป เมื่อมีประสาทสำรองไม่ถูกกระตุ้นจะไม่มีอาการหอบเกิดขึ้นง่ายๆ แต่ถ้าหากประสาทสัมผัสสำรองถูก กระตุ้น จะเกิดอาการหอบทันที คาเฟอีนในกาแฟจะระงับการตึงเครียดของ ประสาทสัมผัสสำรอง ลดการเกิดโรคหอบ 

(3) การดื่มกาแฟเป็นประจำ ช่วยลดการเกิดโรคตับจากสุรา ตามที่นักวิชาการสำรวจแล้วพบว่า กาแฟช่วยลดผลร้ายที่จะมีต่อตับได้อย่างมีนัยสำคัญ 

(4) การดื่มกาแฟเป็นประจำ ช่วยป้องกันมะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งในช่องปาก จากผลการทดลองจริง พบว่ากาแฟมีประสิทธิ ภาพป้องกันโรคขั้นต้น โดยเฉพาะ ในคาเฟอีนมีกรดอะซิติก ที่ช่วย ป้องกันโรคต่างๆดังกล่าวได้ 


(5) การดื่มกาแฟเป็นประจำ ช่วยขับไล่ความชรา อ็อกซิเจน เป็นสารที่ร่างกายต้องการมากก็จริง แต่ถ้ามีออกซิเจนมากไป ทำให้มี โอกาสเป็นมะเร็งสูงและแก่เร็ว โดยเฉพาะกาแฟที่เข้มข้น จะทำให้ออกไซด์แตกตัว ลดการเกิดมะเร็งได้ กระตุ้นการเผาผลาญอาหารในร่างกายได้ดี 

(6) การดื่มกาแฟเป็นประจำ ช่วยลดอัตราคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ ในกาแฟมีนิโคติน แต่ไม่ใช่ชนิดเดียวกับในบุหรี่ แต่เป็นวิตามิน B รวมชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายต้องการ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด จึงป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดแข็งตัวได้ 

(7) การดื่มกาแฟเป็นประจำ ช่วยละลายไขมัน กาแฟที่ดื่มหลังอิ่มอาหาร ช่วยให้ไขมันแตกตัว และให้พลังงานทดแทน จึงลดความอ้วนได้ด้วย 

(8) กาแฟเพิ่มไขมันชนิดดีให้ร่างกาย ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ตามผลการวิจัยพบว่าคนที่ดื่มกาแฟ บ่อยๆ จะมีไขมันชนิด HDLเพิ่มขึ้น ซึ่งไขมันชนิดนี้จะขับไล่คอเลสเตอรอลออกไป ป้องกันหลอดเลือด แข็งตัวได้ 

(9) การดื่มกาแฟเป็นประจำ ช่วยแก้ปวดศีรษะ กาแฟมีส่วนผสมของคาเฟอีน ที่ขยายหลอดเลือด ระงับอาการปวดได้เช่นเดียวกับยาแก้ปวด และยังช่วยขับปัสสาวะ ละลายไขมันในเส้นเลือด และช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ เนื่องจากเมาสุราได้

(10) การดื่มกาแฟเป็นประจำ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในสมองและสมรรถภาพสมอง มีผู้ชี่ยวชาญสรุปผลการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาว่า ความหอมของกาแฟ ช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานได้เร็วขึ้น และมีสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น นั้นเป็นเพราะกลิ่นกาแฟ ทำให้เลือดไหลเวียนในสมองเพิ่มขึ้น 

(11) ดื่มกาแฟเล็กน้อยทำให้น้ำย่อย ในกระเพาะหลั่งดีขึ้น ไขมันแตกตัว หากได้ดื่มกาแฟเล็กน้อยหลังทานอาหารเสร็จ คาเฟอีนในกาแฟจะมี ประโยชน์ต่อกระเพาะโดยตรง น้ำย่อยที่กระเพาะและตับอ่อนจะเพิ่มขึ้น ไขมันถูกเผาผลาญได้ดีมากขึ้น 



แต่ก็ไม่ควรดื่มมากเกินไปอาจจะกลายเป็นโทษแทน

ข้อมูลจาก momypedia
ภาพจาก flickr

บุหรี่ภัยใกล้ตัว ที่บางคนมองข้าม


โทษของการสูบบุหรี่ 

มีดังนี้

1. เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

2. ฟันเหลือง ตาแดง เล็บเขียว

3. มีกลิ่นตัวและกลิ่นปากรุนแรง

4. เป็นที่น่ารังเกียจของสังคม

5. เสียเงินจำนวนมากโดยใช่เหตุ

6. ส่งผลร้ายต่อคนรอบข้าง

7. เป็นมะเร็งช่องปาก รวมถึงฟันและลิ้น (ปากเน่าเละเฟะ)

8. เป็นมะเร็งหลอดลมและหลอดอาหาร

9. เป็นมะเร็งกล่องเสียง

10. เป็นมะเร็งปอด (มะเร็ง ที่ทรมานมากที่สุด) มีโอกาสเป็นโรคมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 20 เท่า

11. ถุงลมโป่งพองจนไม่สามารถหดตัวกลับได้ มีผลทำให้หายใจติดขัด หอบ จนถึงตายได้

12. โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล

13. โรงตับแข็ง เช่นเดียวกับการดื่มสุรา

14. โรคปริทนต์ (ฟันเน่าเละ)

15. โรคโพรงกระดูกอักเสบ

16. โรคความดันโลหิตสูง

17. ประสาทในการรับรสแย่ลง

18. มีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก บางครั้งไอถี่มากจนไม่สามารถหลับนอนได้

* เลิกบุหรี่เพื่อตัวเอง และคนที่คุณรัก *


อ้างอิง http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1205885

การดูแลรักษาดวงตาให้ใช้ได้นานๆ



กรมการแพทย์แนะ 7 วิธีดูแลสุขภาพดวงตา 
เน้นกินผักผลไม้มีวิตามินเอ 
พักสายตาจากการใช้คอมพิวเตอร์ 
บริหารดวงตาทุกวันๆ ละ 2 ครั้ง 
และตรวจสุขภาพตาประจำปี

นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพดวงตา ภายในพิธีเปิดการประชุมวิชาการพยาบาลจักษุเครือข่ายอาเซียน The 1st Congress of ASEAN Ophthalmic Nurses Society ว่า ดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความละเอียดอ่อน แต่มีบทบาทและสำคัญต่อชีวิตเป็นอย่างมาก เพราะช่วยให้เรามองเห็น การดูแลสุขภาพดวงตาจึงเป็นสิ่งสำคัญ สามารถทำได้ดังนี้

 1. ทานอาหารมีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะพืชผักผลไม้ที่มีวิตามินเอ เช่น ผักบุ้ง แครอท ตำลึง ผักคะน้า ฟักทอง มะม่วงสุก มะละกอ

       

2. หลับตาเพื่อพักสายตา ทุก 1 ชั่วโมง เมื่อใช้สายตามากๆ หรือนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ 



3. สวมแว่นกันแดดทุกครั้งเมื่อต้องเจอแสงแดด สวนแว่นตัดแสง เมื่อต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือมือถือนานๆ 

4. การดูโทรทัศน์ควรปรับความสว่างของจอให้พอควร และควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ประมาณ 5 เท่าของขนาดจอ 

5. เมื่อมีฝุ่นละอองหรือเศษผงเข้าตา ห้ามใช้มือขยี้ตา ให้ใช้น้ำสะอาดหรือน้ำยาล้างตา 

6. ควรบริหารดวงตา ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การบริหารง่ายๆ คือ หน้าตั้ง คอตรง กรอกลูกตาหมุนเป็นวงกลม ตามเข็มนาฬิกา และ ทวนเข็มนาฬิกา ทำต่อเนื่องกัน 10 ครั้ง และ 

7. ควรตรวจสุขภาพตา จากจักษุแพทย์ปีละครั้ง เพื่อรักษาสุขภาพดวงตาให้ดีอยู่เสมอ

ดวงตาอยากให้อยู่กับเรานานๆ ต้องหมั่นดูแล


ที่มา http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000078093

ถั่วเขียวมีสรรพคุณอย่างไร


ถั่วเขียว เป็นพืชตระกูลถั่ว ที่ให้เมล็ดที่มีเปลือกสีเขียว แต่เนื้อเมล็ดสีเหลือง ถั่วเขียวเป็นพืชที่มีอายุสั้น หรือวงจรชีวิตของถั่วเขียวมันสั้น จึงใช้น้ำน้อยกว่าพืชไร่อื่นหลายชนิด และงอกได้เร็ว สามารถใช้ในระบบปลูกพืช เช่น ทดแทนข้าวนาปรัง ปลูกก่อนข้าวโพดในพื้นที่ประสพภัยแล้ง ใช้ปลูกก่อนหรือหลังการทำนาหรือทำไร่ เพื่อตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืช ช่วย บำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตรึงไนโตรเจนได้ดี สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดให้ปริมาณไนโตรเจนสูง ถั่วเขียวใช้เป็นวัตถุดิบ ในการผลิตแป้งวุ้นเส้น เพาะถั่วงอก และประกอบอาหารอื่นๆ ถั่วเขียวมีสองชนิด ได้แก่ ถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเขียวผิวดำ

ถั่วเขียวมีประโยชน์มากมาย สามารถหาซื้อได้ง่าย

สรรพคุณถั่วเขียว 36 ประการ
1. โพแทสเซียมช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อในร่างกายให้แข็งแรง
2. ถั่วเขียวมีสารต้านเอนไซม์โปรตีเอสในปริมาณสูง ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง
3. ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันและรักษาไข้หวัด
4. ถั่วเขียวอุดมไปด้วยแมกนีเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ช่วยในการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ช่วยผลิตโปรตีน และกาดหดตัวข้องกล้ามเนื้อ
5. ช่วยลดความดันโลหิต
6. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
7. ช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ควบคุมน้ำหนักได้ เพราะถั่วเขียวมีส่วนประกอบของไขมันที่ต่ำมาก ไม่มีคอเลสเตอรอล และยังอุดมไปด้วยโปรตีนกับเส้นใยอาหาร
8. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
9. ถั่วเขียวมีฤทธิ์เย็น ออกฤทธิ์ตามเส้นลมปราณของหัวใจและม้าม
10. ถั่วเขียวอุดมไปด้วยธาตุเหล็กซึ่งจำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดงในร่างกาย
11. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและเบาหวานได้
12. ถั่วเขียวอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส ที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง และยังช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย
13. ช่วยขับร้อน แก้อาการร้อนใน และช่วยแก้พิษในฤดูร้อน
14. ถั่วเขียวมีประโยชน์ต่อลำคอและผิวหนัง และยังช่วยแก้อาการกระหายน้ำได้อีกด้วย
15. เมล็ดถั่วเขียวนำมาต้มกับเกลือ ใช้อมเพื่อรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้
16. ช่วยถอนพิษในร่างกาย
17. ช่วยกระตุ้นประสาท ถั่วเขียวเป็นแหล่งสำคัญของธาตุโบรอน (Boron) ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งกระแสประสาทของสมอง ทำให้ช่วยสมองทำงานได้ฉับไวมากขึ้น และยังอุดมไปด้วยฟอสฟอสรัส ที่ช่วยบำรุงเซลล์ประสาทและสมอง
18. ช่วยบำรุงสายตา ทำให้ตาสว่าง และรักษาตาอักเสบ (เปลือกสีเขียว)[9] ช่วยแก้อาการตาพร่า ตาอักเสบ ด้วยการรับประทานถั่วเขียวต้มครั้งละ 15-20 กรัมเป็นประจำ
19. ช่วยรักษาคางทูมที่เป็นใหม่ๆ ด้วยการต้มถั่วเขียว 70 กรัมจนใกล้สุก แล้วใส่แกนกะหล่ำปลีลงไป / หัวต้มอีก 15 นาที กินเฉพาะน้ำวันละ 2 ครั้ง
20. ช่วยแก้อาการอาเจียนจากการดื่มเหล้า ด้วยการดื่มน้ำถั่วเขียวพอประมาณ
21. ช่วยขับของเหลวในร่างกาย
22. ในถั่วเขียวอุดมไปด้วยเส้นใยที่สามารถละลายน้ำได้ดี จึงช่วยในขบวนการทำความสะอาดของร่างกายอย่างเป็นธรรมชาติ
23. ถั่วเขียวอุดมไปด้วยวิตามินบี2 ที่ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอกได้
24. ถั่วเขียวมีเส้นใยอาหารสูงจึงช่วยในการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และยังส่งผลดีต่อระบบลำไส้โดยรวมอีกด้วย
25. เมล็ดถั่วเขียวนำมาต้มแล้วกินใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
26. ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ
27. ช่วยบำรุงตับ
28. ช่วยแก้อาการไตอักเสบ
29. ช่วยแก้ผดผื่นคัน
30. ช่วยลดบวม
31. ช่วยรักษาโรคข้อต่างๆ แก้ขัดข้อ
32. ช่วยรักษาฝี ด้วยการใช้ถั่วเขียวดิบหรือต้มสุก นำมาใช้ตำแล้วพอกเป็นยารักษาภายนอกช่วยในการบ่มหนองให้ฝีกสุก และยังใช้รักษาอาการอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น แก้ท้องร่วง การคลอดบุตรยาก และโรคท้องมาน
33. นำมาใช้ตำพอกแผล
34. ช่วยแก้พิษจากพืช พิษจากสารหนู และพิษอื่นๆ
35. ถั่วเขียวอุดมไปด้วยวิตามินบี1 ที่ช่วยในการป้องกันโรคเหน็บชาได้เป็นอย่างดี
36. ถั่วเขียวอุดมไปด้วยโฟเลทสูง ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะช่วยป้องกันการพิการแต่กำเนิดของทารกได้

ที่มา : frynn

ล้างผักให้สะอาด ช่วยสุขภาพดี

ล้างผักให้สะอาด ช่วยสุขภาพดี


ผักที่ซื้อมาไม่สะอาด มีสิ่งเจือปน 
เราต้องล้างให้สะอาด 
มีหลายวิธีที่ใช้

  • ผงฟู (Baking Powder) (เบกกิ้งโซดา + แป้ง) – ให้ใช้ผงฟู 1/2 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมกับน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา 10 ลิตร แล้วนำผักหรือผลไม้มาแช่ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วค่อยล้างออกด้วยสะอาดอีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้สามารถช่วยลดปริมาณของสารพิษจากยาฆ่าแมลงได้มากกว่า 90% และเป็นวิธีที่ปลอดภัยไม่เป็นอันตราย (เพราะผงฟูกินได้)


  • เบกกิ้งโซดา หรือ โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate) – บ้างเรียกว่า “โซดาทำขนมปัง” แต่มีชื่อคุ้นหูว่า “เบกกิ้งโซดา” (Baking Soda) สามารถนำมาใช้ล้างสารพิษจากผักและผลไม้ได้เช่นกันครับ และเป็นวิธีที่นิยมกันมากด้วย ด้วยการใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต 1/2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำ 10 ลิตร แล้วนำผักหรือผลไม้มาแช่ไว้ประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นค่อยล้างออกด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง วิธีนี้จะช่วยลดสารพิษได้มากถึง 90-95% เลยทีเดียว (ข้อเสียของการใช้เบกกิ้งโซดาในการล้างผักผลไม้ คือ เบกกิ้งโซดาจะมีส่วนผสมของโซเดียมอยู่ และอาจจะดูดซึมเข้าสู่ผักและผลไม้ที่นำไปแช่ได้ เพราะถ้าหากล้างไม่สะอาด การได้รับเบกกิ้งโซดาในปริมาณมากเกินไปก็อาจทำให้ท้องเสียได้ครับ) เพิ่มเติมครับ : เบกกิ้งโซดาไม่ใช่ผงฟู เพราะผงฟูคือ เบกกิ้งโซดา + แป้ง



  • น้ำส้มสายชู (Vinegar) – วิธีนี้ให้เตรียมน้ำสายชูที่มีกรดน้ำส้มความเข้มข้น 5% ของกรดน้ำส้ม นำมาผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 : 10 ส่วน แล้วจึงนำผักมาแช่ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที แล้วค่อยล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกรอบหนึ่ง จะช่วยลดสารพิษจากยาฆ่าแมลงได้ประมาณ 60-84% (การใช้วิธีนี้ล้างผัก ภาชนะที่ใส่ผักล้างไม่ควรเป็นพลาสติก และการล้างผักด้วยวิธีนี้อาจทำให้ผักบางชนิดมีกลิ่นของน้ำส้มสายชูติดมาได้ เพราะผักบางอย่าง เช่น ผักกาดขาว ผักกาดเขียว อาจมีการดูดรสเปรี้ยวจากน้ำส้มสายชู และทำให้ผักมีรสชาติเปลี่ยนไป)


  • ด่างทับทิม (Potassium permanganate – โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต) – ให้ใช้ด่างทับทิมประมาณ 20-30 เกล็ด (ด่างทับทิมจะมีลักษณะเป็นผลึกหรือเกล็ดสีม่วง สามารถละลายน้ำได้) ที่ผสมกับน้ำ 4 ลิตร แล้วจึงนำผักมาแช่ไว้ในน้ำด่างทับทิมประมาณ 10 นาที หลังจากนั้นให้ล้างออกด้วยสะอาดอีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้จะช่วยลดประมาณของสารพิษตกค้างได้ประมาณ 35-43% (การใช้ด่างทับทิมในปริมาณที่มากจนเกินไป อาจเป็นอันตายต่อระบบทางเดินอาหาร ถ้าหากสูดดมไอระเหยของด่างทับทิมเข้าไปมากๆ ก็อาจทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหาได้ และถ้าด่างทับทิมเข้าตาก็อาจทำให้ตาบอดได้ ดังนั้นการใช้วิธีนี้จึงต้องใช้อย่างระมัดระวังครับ อีกอย่างการใช้ด่างทับทิมต้องใช้ในปริมาณน้อย ไม่งั้นผักและผลไม้จะเหี่ยวหรือเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลได้ ทำให้เปื้อนมือ เปื้อนอ่างด้วย)

http://frynn.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89/

ออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่ดี

ออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่ดี
ออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่ดี


ปัจจุบันการออกกำลังกายได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นจากคนเกือบทุกเพศทุกวัย จุดประสงค์ในการออกกำลังกายก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางท่านออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ในขณะที่บางท่านออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ วิธีการออกกำลังกายของสองเป้าหมายนี้ต่างกันหรือไม่? แล้วโดยทั่วไปควรออกกำลังกายอย่างไร?

“การออกกำลังกายแบบแอโรบิค” และ “การออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิค” ต่างกันเช่นไร
หลายๆ คนคงเคยได้ยินคำเหล่านี้ แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าทั้งสองคำมีความแตกต่างกันอย่างไร

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค  หมายถึง  การออกกำลังกายที่มีการใช้พลังงานโดยอาศัยออกซิเจนในร่างกาย โดยลักษณะจะเป็นการออกกำลังกายที่ไม่รุนแรงมากแต่มีความต่อเนื่องเช่น เดินวิ่งเหยาะๆ ถีบจักรยาน กระโดดเชือก หรือ เต้นแอโรบิก เป็นต้น จึงเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง


การออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิค  หมายถึง  การออกกำลังกายที่มีการใช้พลังงานโดยไม่อาศัยออกซิเจน แต่จะอาศัยสารเคมีในร่างกายแทน ลักษณะจะเป็นการออกกำลังกายใช้แรงมาก เช่น วิ่งระยะสั้น ยกน้ำหนัก เทนนิส เป็นต้น จึงเป็นการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และให้สามารถออกแรงได้มากในชั่วระยะเวลาสั้นๆ


ออกกำลังกายมาก-น้อย แค่ไหนจึงจะมีประโยชน์ต่อหัวใจ
การออกกำลังกายที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหัวใจและปอด คือ ออกกำลังกายมากพอที่จะทำให้หัวใจเต้น (หรือชีพจร) มีค่าระหว่าง 60-80% ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจของบุคคลนั้นๆ ซึ่งอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ เท่ากับ 220-อายุ(ปี)

ตัวอย่าง  เช่น คนอายุ 50 ปี มีอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ เท่ากับ 220-50 = 170 ครั้งต่อนาที ดังนั้นการออกกำลังกายที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหัวใจ คือ ออกกำลังกายแล้วหัวใจเต้นได้ 60-80% ของ 170 ครั้งต่อนาที เทียบเท่ากับ ระหว่าง 119-136 ครั้งต่อนาที

บางครั้งการจับชีพจรขณะออกกำลังกายอาจไม่สะดวก ผู้ออกกำลังกายสามารถใช้การสังเกตความรู้สึกเหนื่อยจากการออกกำลังกายแทนได้

§  ออกกำลังกายระดับหนัก หมายถึง ออกกำลังกายจนรู้สึกเหนื่อยมากโดยหายใจแรงและเร็ว หรือหอบขณะออกแรง/ออกกำลังกายไม่สามารถคุยกับคนข้างเคียงได้จนจบประโยค

§  ออกกำลังกายระดับปานกลาง หมายถึง การออกกำลังกายหรืออกแรงจนทำให้รู้สึกค่อนข้างเหนื่อยหรือเหนื่อยกว่าปกติพอควรโดยหายใจเร็วกว่าปกติเล็กน้อย หรือหายใจกระชั้นขึ้นไม่ถึงกับหอบ หรือขณะออกกำลังกายหรือออกแรง ยังสามารถพูดคุยกับคนข้างเคียงได้จนจบประโยคและรู้เรื่อง

§  ออกกำลังกายในระดับน้อย  หมายถึง  การออกกำลังกายหรืออกแรงน้อย ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยมากกว่าปกติ

แนวทางการออกกำลังกาย
(Physical Activity Guidelines 2007 - American College of Sports Medicine and the American Heart Association)


สำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงอายุ 18 ถึง 65 ปี

ออกกำลังกายแบบแอโรบิคระดับปานกลางนาน 30 นาทีต่อวันสัปดาห์ละ 5 วัน
หรือ
ออกกำลังกายแบบแอโรบิคระดับหนักนาน 20 นาทีต่อวันสัปดาห์ละ 3 วัน

โดยทั้งสองแบบควรทำควบคู่ไปกับการออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิคเพื่อเพิ่มแรงและความทนทานของกล้ามเนื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วันที่ไม่ใช่วันติดกัน


สำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงอายุเกิน 65 ปี (หรือ อายุ 50-64 ปีที่มีภาวะเรื้อรังซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหวหรือความแข็งแรงของร่างกาย เช่น โรคข้ออักเสบ)

ออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับปานกลาง* นาน 30 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 5 วัน

หรือ

ออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับหนัก** นาน 20 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 3 วัน

* ในกรณีนี้ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับปานกลาง หมายถึง การออกกำลังกายแบบแอโรบิกจนทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจเพิ่มขึ้น

**ในกรณีนี้ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับหนัก  หมายถึง การออกกำลังกายแบบแอโรบิกจนทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจเพิ่มขึ้นมาก

ทั้งนี้ควรทำควบคู่ไปกับการออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิคเพื่อเพิ่มแรงและความทนทานของกล้ามเนื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วันที่ไม่ใช่วันติดกันหากมีความเสี่ยงของการหกล้ม ควรหลีกเลี่ยงวิธีการออกกำลังกายที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ และควรจัดทำแผนกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างละอียดและเหมาะสม

นอกจากการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเรื้อรังและอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ที่สำคัญการออกกำลังกายช่วยลดและป้องกันภาวะความเครียดทางอารมณ์ได้อีกด้วย ดังนั้นหันมาออกกำลังกายกันเถอะค่ะ



เอกสารอ้างอิง
1. Haskell W, Lee I-M, Pate RR, et al.Physical Activity and Public Health: Updated Recommendation for Adults from the American College of Sports Medicine and the American Heart Association. Medicine & Science in Sports & Exercise 2007; 39(8): 1423-34.
2. Nelson M, Rejeski WJ, BLAIR SN, et al. Physical Activity and Public Health in Older Adults: Recommendation from the American College of Sports Medicine and the American Heart Association. Medicine & Science in Sports & Exercise 2007; 39(8): 1435-45.
3. American College of Sports Medicine.  ACSM/AHA Physical Activity Guidelines 2007. 2007. Available from: URL:http://www.acsm.org/AM/Template.cfm?Section=Home_Page&TEMPLATE=CM/HTMLDisplay.cfm&CONTENTID=7764 [cited 2010 Sep 24].
4. American College of Sports Medicine. Exercise is good medicine for preventing and reducing an angry mood[Online]. 2010 Jun 4.  Available from: URL:http://www.acsm.org/AM/Template.cfm?Section=ACSM_News_Releases&TEMPLATE=/CM/ContentDisplay.cfm&CONTENTID=14762[cited 2010 Oct 1].
5. Doctor's Senior Exercise.  Aerobic versus Anaerobic [Online]. 2010.  Available from: URL:http://www.doctorsexercise.com/journal/aerobic.htm [cited 2010 Sep 25].
6. กิฎาพล วัฒนกูล. การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ [Online]. 2004 Sep 10. Available from: URL:http://www.fp.pmk.ac.th/news/exercise/ [cited 2010 Sep 25].

ภญ.กิตติมา วัฒนากมลกุล
ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สุขภาพดี, ดูแบสุขภาพ