พลังชีวิต พลังสมอง



พลังชีวิต พลังสมอง

.


      สมองเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย  การคิด  การจำ  การสั่งการ ความรู้สึก ล้วนมาจากสมอง  ซึ่งถ้าเราไม่ดูแล หรือถ้าได้รับการกระทบกระเทือน ก็จะทำให้พฤติกรรม ความรู้สึกต่างๆ เราเปลี่ยนไป

       เรื่องราวการเพิ่มพลังสมองไม่ใช่กระบวนการที่เราจะเปลี่ยนสมองของเรา  ให้กลายเป็นมันสมองของอัจฉริยะ

       หากแต่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานของสมองให้สดชื่นและแข็งแรงขึ้น และชะลอการเสื่อมของสมองมิให้ชำรุดทรุดโทรมเร็วนัก

      ลองนึกถึงคนที่ผอมแห้งแรงน้อยคนหนึ่ง คนผู้นี้อ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย ไม่มีพลกำลังมากพอจะทำอะไรได้มากมายอย่างที่อยากทำ แต่เมื่อวันหนึ่งเขาไปฟิตร่างกายใหม่ ออกกำลังกาย กินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เมื่อเวลา 2 เดือนผ่านไปเขาก็กลายเป็นคนใหม่ที่มีรูปร่างกำยำแข็งแรง สุขภาพฟิตอย่างสมบูรณ์ ในที่สุดเขาก็ย่อมจะมีความสามารถสูงขึ้นในการดูแลจัดการกับชีวิตของตนเองในทุก ๆ ด้าน

      "สมอง" ของเราก็เช่นกัน สมองต้องการการดูแลให้แข็งแรงสดชื่นอยู่เสมอ

      ต้องการทั้งการออกกำลังหรือการบริหาร และต้องการทั้งอาหารที่ดีไปหล่อเลี้ยง

      อวัยวะบางส่วนของเราหากไม่ได้รับการบริหารหรือไ่ม่ได้ถูกใช้งานเป็นประจำมันก็ย่อมจะหมดสภาพลงได้ แต่สมองของคนเรานั้นจะมิใช่แต่จะฝ่อลีบลงเท่านั้น เพราะมันจะมีผลเสียไปถึงกลไกอื่นๆ ของร่างกายเราทั้งระบบ

      ถ้าคุณไม่ใช้ขาเป็นเวลานานๆ คุณอาจจะแค่เดินไม่ได้ดีดังเดิม แต่ถ้าสมองคุณใช้งานไม่ได้เมื่อใด นั่นย่อมหมายถึงการจบสิ้นของชีวิตในที่สุด

     การพัฒนาประสิทธิภาพของสมองจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ชีวิตของคุณจะมีพลังมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับพลังของสมองเป็นสำคัญด้วย

     เพราะชีวิตของเราเต็มไปด้วยเรื่องของการเรียนรู้ การคิด การตัดสินใจ และความสามารถในการจัดการเรื่องต่างๆ และการทำงาน ซึ่งล้วนขึ้นอยู่กับศัลยกรรมของสมองโดยตรง

     ถ้าเรามีขีดความสามารถในการใช้ชีวิตในด้านต่างๆ ได้ดีขึ้น ตัวเราเองก็ย่อมมีความมั่นอกมั่นใจมากขึ้น การดำเนินชีวิตย่อมต้องมีความสุขและมีความราบรื่นมากขึ้นตามไปด้วย

     แม้ว่าคุณจะไม่ต้องการคิดอะไรที่ยิ่งใหญ่อย่างพวกอัจฉริยะทั้งหลาย แต่คุณก็ต้องการพัฒนาหรือเพิ่มพลังสมองด้วยเช่นกัน เพิื่อถนอมรักษาห้องควบคุมสั่งการนี้ให้มีความสามารถในการทำงานให้ได้ดีและยาวนานที่สุด

    กระบวนการเพิ่มพลังสมองสามารถเริ่มได้ตั้งแต่วัยเด็กๆ จนกระทั่งถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งในเวลาไม่ช้าไม่นานเลย คุณก็จะได้อัศจรรย์กับสิ่งที่เปลี่ยนไปหลังจากได้ตั้งใจในการเพ่ิมพลังสมองของคุณเอง!!!

    เราสามารถเพิ่มพลังสมองด้วยการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย เช่น วัยรุ่นออกกำลังกายที่ใช้กำลังกายเคลื่อนไหวได้เยอะ อาจจะเล่นฟุตบอล บาสเกตบอล วิ่ง100เมตร แต่พอเป็นผู้ใหญ่อาจจะออกกำลังที่เบาลง  อาจจะเป็นเต้นลีลาศ  เต้นเพลงที่จังหวะไม่เร็ว
 
     เราสามารถฝึกสมองด้วยการร้องเพลง  เล่นเกม เช่น เกมหมากฮอส  เป็นต้น  การรำวง  การรำไทเก็ก  เดินสลับวิ่งแบบเบาๆ  ทำอาหาร  พบปะสังสรรค์วงกาแฟกับเพื่อนร่วมวัย การวาดรูป การอ่านหนังสือ ฟังเพลงที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย

      นอกจากนี้พักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน  กินอาหารให้ครบ 5 หมู่


     


เคล็ดลับเพิ่มพลังสมอง
พฤกษ์ นิมิตพรอนันต์

ก่อนปฐมพยาบาล

ก่อนปฐมพยาบาลผู้อื่น



       ควรมีหลักการช่วยเหลือ คือ มองสำรวจระบบสำคัญของร่างกายให้ทั่วอย่างรวดเร็ว และวางลำดับแผนช่วยเหลืออย่างมีสติ ไม่ตื่นเต้นตกใจ

       ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บจนกว่าจะแน่ใจว่า เคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย การเคลื่อนย้ายควรทำอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันอันตรายและความพิการที่อาจเกิดขึ้นอย่างถาวร ยกเว้นแต่ในกรณีสถานที่ไม่สะดวกต่อการปฐมพยาบาล หรืออาจเกิดอันตรายมากขึ้นทั้งผู้บาดเจ็บและผู้ช่วยเหลือ เช่น อยู่ในห้องมืดทึบ อยู่ในน้ำ อยู่ที่ไฟไหม้

       ให้ความช่วยเหลือด้วยความนุ่มนวลและระมัดระวัง เรียงตามลำดับความสำคัญของการมีชีวิต หรือตามความรุนแรงที่ผู้บาดเจ็บได้รับ



คู่มือปฐมพยาบาล
มะปราง

อุปกรณ์ปฐมพยาบาล

อุปกรณ์ปฐมพยาบาล


วัสดุทั่วไปที่ควรเตรียมสำรองไว้เพื่อการปฐมพยาบาล ได้แก่

1. แอลกอฮอล์ 70%    1  ขวด

2. น้ำเกลือปราศจากเชื้อสำหรับล้างแผล 1 ขวด

3. กรรไกรขนาดกลางมีความคม

4. ผ้าก๊อซสำหรับปิดแผลหลายขนาด เช่น 1 นิ้ว 2 นิ้ว หรือ 4 นิ้ว

5. ผ้าก๊อซชนิดชุบพาราฟิน หลายขนาด สำหรับปิดแผลไฟไหม้

6. ผ้าทำแผลปลอดเชื้อ

7. สำลีเป็นม้วนขนาดเล็ก หรือสำลีแผ่น 1 ถุง ใช้เสริมผ้าพันแผล

8. ผ้ายืดพันแก้เคล็ด ขัดหยอก (elastic bandage) ผ้าปิด พันนิ้ว

9. ปลาสเตอร์ยา มีหลายแบบ เช่น ชนิดกันน้ำ ชนิดใส ชนิดผ้า และมีหลายรูปแบบด้วย

10. ไม้พันสำลี

11. เข็มกลัดซ่อนปลาย เทปหรือคลิปสำหรับติดผ้าพันแผล

12. คีมขนาดเล็กปลายแหลมและปลายมน สำหรับดึงหรือคืมเสี้ยนหนาม

13. ปรอทวัดไข้

14. แผ่นร้อนเย็นสำหรับประคบบรรเทาปวด (cold-hot pack)

15. ผ้าสามเหลี่ยม ขนาด 1x1 เมตร ใช้พันแผลหรือใช้คล้องแขน

16. กล่องใส่อุปกรณ์ปฐมพยาบาล มักขายเป็นชุดใส่ยาและอุปกรณ์ปฐมพยาบาลอย่างมาพร้อม ส่วนใหญ่มักทำจากพลาสติก มีความเบา เก็บไว้ใกล้ตู้ยา




คู่มือปฐมพยาบาล
มะปราง

การดูแลรักษายา

การดูแลรักษายา

ยาบางชนิดต้องเก็บไว้ในตู้เย็น ควรอ่านฉลากก่อนเก็บ ก่อนใช้ ควรสำรองยาสามัญในปริมาณที่พอเหมาะกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว ยาน้ำขวดกลางหรือขวดเล็กหนึ่งขวดก็พอ และควรอย่างยิ่งที่จะตรวจสอบเป็นระยะว่ายาหมดอายุหรือยัง ยาบางชนิดอายุสั้นหลังเปิดใช้ได้ไม่กี่วันก็ต้องทิ้งไป เช่น ยาหยอดตาเปิดใช้ได้เพียง 28 วัน หลังจากนั้นต้องทิ้งไปไม่ว่ายาจะอยู่ในสภาพดีเพียงใด

บางครั้งยาเสีย เสื่อมสภาพก่อนวันหมดอายุโดดูได้จากสีของยา กลิ่น หรือรูปลักษณ์ที่เปลี่ยนไป ดังนี้

1. เม็ดยาเกิดแตกร่วนหรือผิวสึกกร่อน

2. เม็ดยาเปลี่ยนสีจางลงหรือเข้มขึ้นหรือสีไม่สม่ำเสมอ

3. ความมันวาวที่เคลือบเม็ดยาหายไป

4. มีกลิ่นยาที่เปลี่ยนไป

5. แคปซูลบวมหรือมีฝ้าขาว แตก เหนียวติดกัน หรือเป็นก้อนแข็งข้างใน

6. ยาน้ำใสกลายเป็นมีตะกอน

7. ยาน้ำที่เปลี่ยนแข็งตัวเป็นกัอน

8. ยาแขวนตะกอนเขย่าแล้วไม่รวมตัวเป็นเนื้อเดียว มีก้อนแข็ง หรือตกตะกอนเร็วกว่าปกติ หรือขุ่นข้นกว่าเดิม

9. ยาผงที่ัจับตัวเป็นตัวก้อน

10. ยาครีมขี้ผึ้งที่ข้นหรือเหลวกว่าเดิม หรือมีคราบน้ำมันสีเหลืองออกจากครีม

11. ถ้ายาหมดอายุแต่รูปลักษณ์ยายังดีอยู่ก็ควรทิ้งไปด้วย




คู่มือปฐมพยาบาล
มะปราง

ยาสามัญประจำบ้าน

ยาสามัญประจำบ้าน

ควรมีเตรียมพร้อมติดไว้ในตู้ยาซึ่งเป็นตู้กระจก มองเห็นจากภายนอกได้ว่ามียาอะไรอยู่บ้าง เวลาประสบเหตุจะได้ช่วยเหลือสะดวกทันกาล

  1. ยาแก้ปวดลดไข้ เช่น พราราเซตามอลชนิดเม็ดสำหรับผู้ใหญ่ และชนิดน้ำสำหรับเด็ก ยาแอสไพริน
  2. ยาลดน้ำมูก เช่น คลอร์เฟนิรามีน
  3. ยาแก้ไอ เช่น ยาอมมะแว้ง ยาแก้ไอน้ำดำ ยาแก้ไอน้ำเชื่อม
  4. ยาดมแก้วิงเวียน แก้หวัด เช่น ยาหอม แอมโมเนียหอม น้ำมันยูคาลิปตัส
  5. ยาระบาย เช่น ยาระบายแมกนีเซียม ดีเกลือ น้ำมันละหุ่ง ชามะขามแขก
  6. ยาแก้ท้องอืด เช่น คาร์มิเนดีฟ ยาธาตุน้ำแดง เหล้าสะระแหน่ โซดามินต์ ทิงเจอร์มหาหิงค์ุ
  7. ยาแก้ท้องเสีย เช่น ผงน้ำตาลเกลือแร่ ยาซัลฟากัวนิดีน ยาน้ำเมคาลินเปคคิน
  8. ยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะ เช่น อะลัมมิลค์ แมกนิเซียมไตรซิลิเกต รานิทิดีน ไซเมทิดีน
  9. ยาหยอดตาแก้ตาอักเสบ ตาแดง ตาเจ็บ เช่น ดบริกโซลูชั่น
  10. ยาหยอดหูแก้น้ำหนวก ช่องหูอักเสบ
  11. ยากวาดคอ รักษาอาการอักเสบช่องปากและคอ
  12. ยาแก้แพ้ ผดผื่นคัน แพ้อากาศ เช่น คลอร์เฟนิรามีน บรอมแฟนิรามีน
  13. ยาแก้ปวดเมื่อย เช่น ยาหม่อง ยานวดคลายกล้ามเนื้อ น้ำมันระกำ
  14. ยาใส่แผลมี 2 ชนิด คือ ใส่แผลสด หรือใส่แผลเรื้อรัง ใส่แผลสด เช่น เบตาดีน ยาแดง ขี้ผึ้งซัลฟา ทิงเจอร์ไอโอดีน สำหรับใส่แผลเรื้อรัง เช่น ขี้ผึ้งซัลฟา ยาเหลือง



คู่มือปฐมพยาบาล
มะปราง