29 วิธี ทำให้ อายุยืน

29 วิธี ทำให้ อายุยืน

1.เสียงดัง. จงหัวเราะดังๆเมื่อรับรู้เรื่องขำขัน ไม่ว่าจากการสนทนาหรือดูวิดีโอตลก การหัวเราะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่งออกมา ฮอร์โมนชนิดนี้มีส่วนทำให้อายุยืน

2.มีผัวเดียวเมียเดียว. จากสถิติพบว่าผู้แต่งงานอยู่กินเป็นผัวเดียวเมียเดียวมาตลอดทำให้อายุยืนกว่าผู้มีมากชู้หลายรัก

3.กินถั่วมากเข้าไว้ จากการวิจัยพบว่าการกินถั่วประเภทถั่วลิสงครั้งละ 1 ออนซ์ 5 ครั้งต่ออาทิตย์ เป็...นการตัดโอกาสไม่ให้ตายเพราะโรคหัวใจได้

4. ขี่รถคันใหญ่เข้าไว้ แทบไม่น่าเชื่อว่าคนขี่รถคันเล็กมักจะตายเร็วกว่าคนขี่รถคันใหญ ่

5. งีบทุกบ่าย หลังอาหารกลางวันงีบหลับสักครึ่งชั่วโมง

6. อยู่บนภูเขาอายุยืนกว่าอยู่อยู่ชายทะเล. เป็นความเชื่อผิดๆมานานที่ว่าอยู่ริมทะเลอายุจะยืน แต่ผลการวิจัยพบว่าผู้มีบ้านอยู่ภูเขามีอายุยืนกว่า ดังนั้นจึงมีรสนิยมเที่ยวป่ามากกว่าเที่ยวทะเล

7. เล่นเกม. เกมอะไรก็ได้ที่ไม่ปล่อยให้เวลาผ่านไปเฉย ๆ เช่น หมากรุกกับเพื่อนซี้ เรียนรู้ภาษาใหม่ หรือการท่องเที่ยว ล้วนช่วยให้อายุยืนทั้งสิ้น

8.อย่ากินอาหารย่างบ่อย. การย่างเนื้อที่ปลอดภัยต้องรอให้ถ่านมอดกลายเป็นขี้เถ้าเสียก่อนจึงปลอดภัยจากสารมะเร็ง

9. เล่นกีฬา ชนิดใดก็ได้ คนที่เคยเป็นนักกีฬามาก่อน จะมีสภาพร่างกายแข็งแรงกว่าผู้ไม่เคยเล่นกีฬามาเลย ดังนั้นจึงมักตายก่อน

10.ไปโบสถ์ หรือวัดเป็นประจำ. คนที่นับถือศาสนานั้นมักมีจิตใจเยือกเย็น ความดันโลหิตต่ำ ดังนั้น จึงมีโอกาสเป็นโรคหัวใจวายน้อยกว่าผู้ที่ไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจเลย

11. เต้นรำอยู่เสมอ. ผู้ที่ชอบเต้นรำมีจิตใจเข้มแข็งมั่นคง ความจำดี และมีปฏิกิริยารวดเร็ว การเต้นรำแบบแอโรบิคได้ผลเช่นเดียวกับเต้นบอลลูม

12.เลี้ยงสัตว์ไว้เป็นเพื่อน. ผู้เลี้ยงหมา แมว ฯลฯ จะมีความดันเลือดต่ำ การมองดูปลาว่ายน้ำก็ทำให้จิตใจสงบ ความดันโลหิตต่ำ คนเลี้ยงสัตว์มักมีอายุยืนกว่าผู้ที่ไม่เลี้ยงสัตว์อะไรเลย

13.หายใจลึกๆ. การหายใจลึกๆ เอาอากาศบริสุทธิ์เข้าปอด ช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานดีขึ้น ตลอดจนเป็นการทำลายเชื้อไวรัส และแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายให้ตายไปด้วย

14. กินผักมากเข้าไว้ โดยเฉพาะผักปลอดสารพิษ ผักมีเส้นใย มักทำให้ไม่เป็นมะเร็งในระบบย่อยอาหาร ผักบุ้งทำให้สายตาดี คนแก่ตามองไม่เห็นย่อมตายเร็วกว่าคนแก่ที่ตามองเห็น

15. รู้ประวัติครอบครัว. โรคภัยไข้เจ็บส่วนใหญ่สืบต่อทางกรรมพันธ์มายังลูกหลาน ดังนั้นต้องรู้ว่าบรรพบุรุษตายด้วยโรคอะไร เช่น โรคหัวใจ ก็พึงหลีกเลี่ยงโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ

16. ทำกิจกรรมนอกบ้าน. ผลการวิจัยพบว่าคนสูงอายุหมั่นออกไปยังกลางแจ้งมีอากาศบริสุทธิ ์ จะมีความเครียดสะสมน้อย คนแก่ที่มีความเครียดมักจะตายเร็ว

17. อย่ากินยานอนหลับเป็นนิสัย เอะอะอะไรก็กินยาไว้ก่อนยามีประโยชน์และมีโทษไปพร้อมๆกัน การนอนไม่หลับมาจากสาเหตุเครียดหรือปัญหาอื่นๆ ควรแก้ที่ต้นเหตุนั้นๆ

18. จัดเวลานอนให้เพียงพอ และทำเป็นปกตินิสัย เช่น นอนกี่ทุ่มตื่นเช้ากี่โมง คนยิ่งสูงอายุยิ่งนอนหลับได้น้อย วิธีแก้ไขนอนหลับแต่หัวค่ำตื่นแต่เช้ามืด ไม่เป็นผลเสียต่อร่างกาย คนแก่นอนน้อยไปหรือนอนมากไปเป็นเหตุให้ตายเร็วทั้งสิ้น

19. หาเพื่อนใหม่และหมั่นแวะไปเยี่ยม. การร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ กับเพื่อนทำให้เกิดความเพลิดเพลินยิ่งเป็นกิจกรรมเป็นประโยชน์ต่อสังคม ยิ่งทำให้อายุยืนมากขึ้น

20. ดื่มได้แต่น้อย. การศึกษาถึงแอลกอฮอล์พบว่าเป็นประโยชน์แก่ร่างกายหากดื่มสัก 1–2 จอก ก่อนกินอาหาร คนสูงอายุควรเลือกดื่มไวท์หรือเบียร์มากกว่าวิสกี้ดีกรีสูง การดื่มมากนอนน้อยคนแก่คนนั้นอายุสั้นแน่นอน

21. มีเพศสัมพันธ์. หากมีเรี่ยวแรงและอารมณ์รักอยู่ก็จงแสดงไปตามความต้องการ อย่าสะกดกลั้นเอาไว้หรือมีความต้องการแต่อวัยวะไม่สู้ ขอเพียงแค่คิดหรือมีอารมณ์ก็ทำให้จิตใจไม่ห่อเหี่ยว เช่นนี้อายุยืนแน่ ผลการวิจัยล่าสุดพบว่า คนแก่ที่มีแรงขับทางเพศมักไม่ค่อยตายเร็ว ต่างกับผู้หมดสมรรถภาพทางเพศตั้งแต่หนุ่มแน่น ล้วนตายเร็ว ก่อนวัยเพราะผู้นั้นสูญเสียสัญชาติญาณการแพร่พันธุ์ ไป

22. เดินมาก ๆ หรือหมั่นให้ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอ อย่านอนแซ่วบนที่นอนตลอดเวลา คนแก่เดินวันละ 30 นาที อายุยืนแน่นอน

23. ตรวจสุขภาพฟันและช่องปาก โรคเหงือกโรคฟันเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ ดังนั้นหมั่นตรวจฟันและช่องปากอย่างสม่ำเสมอ

24. อย่าอ้วน. คนอ้วนตายเร็วกว่าคนผอม สังเกตดูคนอายุยืนมักผอมแห้ง จำไว้ความอ้วนฆ่าคนได้

25. อย่าสูบบุหรี่ บุหรี่ทำให้อายุสั้นลงอย่างแน่นอน นอกจากไม่สูบพึงหลีกเลี่ยงพบปะกับคนสูบบุหรี่อีกด้วย

26. เพิ่มความแข็งแกร่ง คนแก่อายุเกิน 70 ปีขึ้นไป ควรแข็งใจยกน้ำหนักข้างละ 2-3 กก. 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์

27. กินอาหารมีเส้นใยมาก ได้แก่ ธัญพืช ข้าวกล้อง ผลไม้ จากการศึกษานักโภชนาการมหาวิทยาลัย

28. ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในบ้าน เช่น การทำงานบ้าน ล้างจาน ซักผ้า ถูพื้น ดูดฝุ่น ทำสวน ตัดแต่งต้นไม้ กิจกรรมเหล่านี้ทำให้คนแก่ไม่อ้วน เมื่อไม่อ้วนก็ไม่ตายจริงมั้ย

29. ท่องเที่ยวไป คือกำไรชีวิต เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลก

ชุดนี้ดี ปฏิบัติบ้างหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าชอบ แชร์แล้วแล้วกัน ตายเร็ว


รู้หรือไม่ เซลล์มะเร็งต้องการอะไร

รู้หรือไม่ เซลล์มะเร็งต้องการอะไร

1. น้ำตาล เช่น น้ำตาลทรายขาว โดยใช้น้ำตาลจากธรรมชาติแทน เช่น น้ำผึ้ง แต่ต้องใช้ในปริมาณที่น้อยมาก เกลือ มีสารจำเป็นที่เซลล์มะเร็งนำไปใช้ ควรงด หรือในปริมาณน้อย

2. นม ควรดื่ม นำนมถั่วเหลืองทดแทน

3. เซลล์มะเร็ง เจริญเติบโตในสภาพที่เป็นกรด การบริโภคเนื้อสัตว์ทำให้เกิดสภาพเป็นกรด ควรรับประทานอาหารประเภทปลา ดีกว่าหมู เนื้อ และเนื้อสัตว์ มีแบคทีเรีย ใช้โฮโมนในการเจริญเติบโตปนเปื้อน ที่เป็นอันตรายต่อคนไข้ที่เป็นมะเร็ง
...
4. 80% ของผักและนำผลไม้สด ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืช จะช่วยให้ร่างกายมีสภาพเป็นด่าง 20% จากอาหารที่ปรุงแล้ว น้ำผักและผลไม้สด จะให้เอนไซม์ที่ง่ายต่อการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เพื่อไปเสริมสร้างความแข็งแรงให้เซลล์ที่ดี ดังนั้นควรดื่มน้ำผักสด และกินผักดิบ 2-3 ครั้งต่อวัน

5. หลีกเลี่ยงชา กาแฟ ช็อกโกแลต ที่มีคาเฟอีนที่สูง เป็นดื่มชาเขียวที่มี สารต้านมะเร็ง ดื่มน้ำสะอาด หรือน้ำกรองดีที่สุด หลีกเลี่ยงน้ำประปา และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ที่มีสภาพเป็นกรด

6. เนื้อสัตว์ ย่อยยาก และต้องการเอนไซม์ในการย่อยเป็นจำนวนมาก และเนื้อที่ย่อยไม่หมด จะคงตกค้างอยู่ในลำไส้ อันนำไปสู่สารพิษตกค้าง

7. เซลล์มะเร็ง มีโปรตีนที่ยากแก่การทำลายเป็นเกราะป้องกัน การบริโภคเนื้อสัตว์น้อยลง จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไปทำลายเซลล์มะเร็งได้ง่ายขึ้น

8. อาหารเสริมบางอย่างช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็ง เช่น วิตามินอี วิตามินซี

9. เซลล์มะเร็ง เป็นเชื้อโรคของจิตใจ ร่างกาย และจิตวิญญาณ การควบคุมอารมณ์ และมองโลกในแง่ดีจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น อารมณ์โกรธ หรือความเครียดจะสร้างสภาพความเป็นกรดให้ร่างกาย ควรเรียนรู้ที่จะรัก และให้อภัย พักผ่อนและสนุกกับการใช้ชีวิต

10. เซลล์มะเร็งไม่สามารถเจริญเติบโตในที่มีออกซิเจนได้ การออกกำลังกายทุกวัน และหายใจเข้าลึกลึก จะช่วยเพิ่มระดับ ออกซิเจนในเซลล์ การบำบัดด้วยออกซิเจนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำลายเซลล์มะเร็ง

ถ้ารู้อย่างนี้แล้ว ไม่อยากเป็นมะเร็ง หันมาดูแลรักษาสุขภาพกันดีกว่านะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์สุขภาพ บ้านดอยฟ้าและhttp://www.jaowka.com/


พลังชีวิต พลังสมอง



พลังชีวิต พลังสมอง

.


      สมองเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย  การคิด  การจำ  การสั่งการ ความรู้สึก ล้วนมาจากสมอง  ซึ่งถ้าเราไม่ดูแล หรือถ้าได้รับการกระทบกระเทือน ก็จะทำให้พฤติกรรม ความรู้สึกต่างๆ เราเปลี่ยนไป

       เรื่องราวการเพิ่มพลังสมองไม่ใช่กระบวนการที่เราจะเปลี่ยนสมองของเรา  ให้กลายเป็นมันสมองของอัจฉริยะ

       หากแต่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานของสมองให้สดชื่นและแข็งแรงขึ้น และชะลอการเสื่อมของสมองมิให้ชำรุดทรุดโทรมเร็วนัก

      ลองนึกถึงคนที่ผอมแห้งแรงน้อยคนหนึ่ง คนผู้นี้อ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย ไม่มีพลกำลังมากพอจะทำอะไรได้มากมายอย่างที่อยากทำ แต่เมื่อวันหนึ่งเขาไปฟิตร่างกายใหม่ ออกกำลังกาย กินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เมื่อเวลา 2 เดือนผ่านไปเขาก็กลายเป็นคนใหม่ที่มีรูปร่างกำยำแข็งแรง สุขภาพฟิตอย่างสมบูรณ์ ในที่สุดเขาก็ย่อมจะมีความสามารถสูงขึ้นในการดูแลจัดการกับชีวิตของตนเองในทุก ๆ ด้าน

      "สมอง" ของเราก็เช่นกัน สมองต้องการการดูแลให้แข็งแรงสดชื่นอยู่เสมอ

      ต้องการทั้งการออกกำลังหรือการบริหาร และต้องการทั้งอาหารที่ดีไปหล่อเลี้ยง

      อวัยวะบางส่วนของเราหากไม่ได้รับการบริหารหรือไ่ม่ได้ถูกใช้งานเป็นประจำมันก็ย่อมจะหมดสภาพลงได้ แต่สมองของคนเรานั้นจะมิใช่แต่จะฝ่อลีบลงเท่านั้น เพราะมันจะมีผลเสียไปถึงกลไกอื่นๆ ของร่างกายเราทั้งระบบ

      ถ้าคุณไม่ใช้ขาเป็นเวลานานๆ คุณอาจจะแค่เดินไม่ได้ดีดังเดิม แต่ถ้าสมองคุณใช้งานไม่ได้เมื่อใด นั่นย่อมหมายถึงการจบสิ้นของชีวิตในที่สุด

     การพัฒนาประสิทธิภาพของสมองจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ชีวิตของคุณจะมีพลังมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับพลังของสมองเป็นสำคัญด้วย

     เพราะชีวิตของเราเต็มไปด้วยเรื่องของการเรียนรู้ การคิด การตัดสินใจ และความสามารถในการจัดการเรื่องต่างๆ และการทำงาน ซึ่งล้วนขึ้นอยู่กับศัลยกรรมของสมองโดยตรง

     ถ้าเรามีขีดความสามารถในการใช้ชีวิตในด้านต่างๆ ได้ดีขึ้น ตัวเราเองก็ย่อมมีความมั่นอกมั่นใจมากขึ้น การดำเนินชีวิตย่อมต้องมีความสุขและมีความราบรื่นมากขึ้นตามไปด้วย

     แม้ว่าคุณจะไม่ต้องการคิดอะไรที่ยิ่งใหญ่อย่างพวกอัจฉริยะทั้งหลาย แต่คุณก็ต้องการพัฒนาหรือเพิ่มพลังสมองด้วยเช่นกัน เพิื่อถนอมรักษาห้องควบคุมสั่งการนี้ให้มีความสามารถในการทำงานให้ได้ดีและยาวนานที่สุด

    กระบวนการเพิ่มพลังสมองสามารถเริ่มได้ตั้งแต่วัยเด็กๆ จนกระทั่งถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งในเวลาไม่ช้าไม่นานเลย คุณก็จะได้อัศจรรย์กับสิ่งที่เปลี่ยนไปหลังจากได้ตั้งใจในการเพ่ิมพลังสมองของคุณเอง!!!

    เราสามารถเพิ่มพลังสมองด้วยการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย เช่น วัยรุ่นออกกำลังกายที่ใช้กำลังกายเคลื่อนไหวได้เยอะ อาจจะเล่นฟุตบอล บาสเกตบอล วิ่ง100เมตร แต่พอเป็นผู้ใหญ่อาจจะออกกำลังที่เบาลง  อาจจะเป็นเต้นลีลาศ  เต้นเพลงที่จังหวะไม่เร็ว
 
     เราสามารถฝึกสมองด้วยการร้องเพลง  เล่นเกม เช่น เกมหมากฮอส  เป็นต้น  การรำวง  การรำไทเก็ก  เดินสลับวิ่งแบบเบาๆ  ทำอาหาร  พบปะสังสรรค์วงกาแฟกับเพื่อนร่วมวัย การวาดรูป การอ่านหนังสือ ฟังเพลงที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย

      นอกจากนี้พักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน  กินอาหารให้ครบ 5 หมู่


     


เคล็ดลับเพิ่มพลังสมอง
พฤกษ์ นิมิตพรอนันต์

ก่อนปฐมพยาบาล

ก่อนปฐมพยาบาลผู้อื่น



       ควรมีหลักการช่วยเหลือ คือ มองสำรวจระบบสำคัญของร่างกายให้ทั่วอย่างรวดเร็ว และวางลำดับแผนช่วยเหลืออย่างมีสติ ไม่ตื่นเต้นตกใจ

       ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บจนกว่าจะแน่ใจว่า เคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย การเคลื่อนย้ายควรทำอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันอันตรายและความพิการที่อาจเกิดขึ้นอย่างถาวร ยกเว้นแต่ในกรณีสถานที่ไม่สะดวกต่อการปฐมพยาบาล หรืออาจเกิดอันตรายมากขึ้นทั้งผู้บาดเจ็บและผู้ช่วยเหลือ เช่น อยู่ในห้องมืดทึบ อยู่ในน้ำ อยู่ที่ไฟไหม้

       ให้ความช่วยเหลือด้วยความนุ่มนวลและระมัดระวัง เรียงตามลำดับความสำคัญของการมีชีวิต หรือตามความรุนแรงที่ผู้บาดเจ็บได้รับ



คู่มือปฐมพยาบาล
มะปราง

อุปกรณ์ปฐมพยาบาล

อุปกรณ์ปฐมพยาบาล


วัสดุทั่วไปที่ควรเตรียมสำรองไว้เพื่อการปฐมพยาบาล ได้แก่

1. แอลกอฮอล์ 70%    1  ขวด

2. น้ำเกลือปราศจากเชื้อสำหรับล้างแผล 1 ขวด

3. กรรไกรขนาดกลางมีความคม

4. ผ้าก๊อซสำหรับปิดแผลหลายขนาด เช่น 1 นิ้ว 2 นิ้ว หรือ 4 นิ้ว

5. ผ้าก๊อซชนิดชุบพาราฟิน หลายขนาด สำหรับปิดแผลไฟไหม้

6. ผ้าทำแผลปลอดเชื้อ

7. สำลีเป็นม้วนขนาดเล็ก หรือสำลีแผ่น 1 ถุง ใช้เสริมผ้าพันแผล

8. ผ้ายืดพันแก้เคล็ด ขัดหยอก (elastic bandage) ผ้าปิด พันนิ้ว

9. ปลาสเตอร์ยา มีหลายแบบ เช่น ชนิดกันน้ำ ชนิดใส ชนิดผ้า และมีหลายรูปแบบด้วย

10. ไม้พันสำลี

11. เข็มกลัดซ่อนปลาย เทปหรือคลิปสำหรับติดผ้าพันแผล

12. คีมขนาดเล็กปลายแหลมและปลายมน สำหรับดึงหรือคืมเสี้ยนหนาม

13. ปรอทวัดไข้

14. แผ่นร้อนเย็นสำหรับประคบบรรเทาปวด (cold-hot pack)

15. ผ้าสามเหลี่ยม ขนาด 1x1 เมตร ใช้พันแผลหรือใช้คล้องแขน

16. กล่องใส่อุปกรณ์ปฐมพยาบาล มักขายเป็นชุดใส่ยาและอุปกรณ์ปฐมพยาบาลอย่างมาพร้อม ส่วนใหญ่มักทำจากพลาสติก มีความเบา เก็บไว้ใกล้ตู้ยา




คู่มือปฐมพยาบาล
มะปราง

การดูแลรักษายา

การดูแลรักษายา

ยาบางชนิดต้องเก็บไว้ในตู้เย็น ควรอ่านฉลากก่อนเก็บ ก่อนใช้ ควรสำรองยาสามัญในปริมาณที่พอเหมาะกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว ยาน้ำขวดกลางหรือขวดเล็กหนึ่งขวดก็พอ และควรอย่างยิ่งที่จะตรวจสอบเป็นระยะว่ายาหมดอายุหรือยัง ยาบางชนิดอายุสั้นหลังเปิดใช้ได้ไม่กี่วันก็ต้องทิ้งไป เช่น ยาหยอดตาเปิดใช้ได้เพียง 28 วัน หลังจากนั้นต้องทิ้งไปไม่ว่ายาจะอยู่ในสภาพดีเพียงใด

บางครั้งยาเสีย เสื่อมสภาพก่อนวันหมดอายุโดดูได้จากสีของยา กลิ่น หรือรูปลักษณ์ที่เปลี่ยนไป ดังนี้

1. เม็ดยาเกิดแตกร่วนหรือผิวสึกกร่อน

2. เม็ดยาเปลี่ยนสีจางลงหรือเข้มขึ้นหรือสีไม่สม่ำเสมอ

3. ความมันวาวที่เคลือบเม็ดยาหายไป

4. มีกลิ่นยาที่เปลี่ยนไป

5. แคปซูลบวมหรือมีฝ้าขาว แตก เหนียวติดกัน หรือเป็นก้อนแข็งข้างใน

6. ยาน้ำใสกลายเป็นมีตะกอน

7. ยาน้ำที่เปลี่ยนแข็งตัวเป็นกัอน

8. ยาแขวนตะกอนเขย่าแล้วไม่รวมตัวเป็นเนื้อเดียว มีก้อนแข็ง หรือตกตะกอนเร็วกว่าปกติ หรือขุ่นข้นกว่าเดิม

9. ยาผงที่ัจับตัวเป็นตัวก้อน

10. ยาครีมขี้ผึ้งที่ข้นหรือเหลวกว่าเดิม หรือมีคราบน้ำมันสีเหลืองออกจากครีม

11. ถ้ายาหมดอายุแต่รูปลักษณ์ยายังดีอยู่ก็ควรทิ้งไปด้วย




คู่มือปฐมพยาบาล
มะปราง

ยาสามัญประจำบ้าน

ยาสามัญประจำบ้าน

ควรมีเตรียมพร้อมติดไว้ในตู้ยาซึ่งเป็นตู้กระจก มองเห็นจากภายนอกได้ว่ามียาอะไรอยู่บ้าง เวลาประสบเหตุจะได้ช่วยเหลือสะดวกทันกาล

  1. ยาแก้ปวดลดไข้ เช่น พราราเซตามอลชนิดเม็ดสำหรับผู้ใหญ่ และชนิดน้ำสำหรับเด็ก ยาแอสไพริน
  2. ยาลดน้ำมูก เช่น คลอร์เฟนิรามีน
  3. ยาแก้ไอ เช่น ยาอมมะแว้ง ยาแก้ไอน้ำดำ ยาแก้ไอน้ำเชื่อม
  4. ยาดมแก้วิงเวียน แก้หวัด เช่น ยาหอม แอมโมเนียหอม น้ำมันยูคาลิปตัส
  5. ยาระบาย เช่น ยาระบายแมกนีเซียม ดีเกลือ น้ำมันละหุ่ง ชามะขามแขก
  6. ยาแก้ท้องอืด เช่น คาร์มิเนดีฟ ยาธาตุน้ำแดง เหล้าสะระแหน่ โซดามินต์ ทิงเจอร์มหาหิงค์ุ
  7. ยาแก้ท้องเสีย เช่น ผงน้ำตาลเกลือแร่ ยาซัลฟากัวนิดีน ยาน้ำเมคาลินเปคคิน
  8. ยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะ เช่น อะลัมมิลค์ แมกนิเซียมไตรซิลิเกต รานิทิดีน ไซเมทิดีน
  9. ยาหยอดตาแก้ตาอักเสบ ตาแดง ตาเจ็บ เช่น ดบริกโซลูชั่น
  10. ยาหยอดหูแก้น้ำหนวก ช่องหูอักเสบ
  11. ยากวาดคอ รักษาอาการอักเสบช่องปากและคอ
  12. ยาแก้แพ้ ผดผื่นคัน แพ้อากาศ เช่น คลอร์เฟนิรามีน บรอมแฟนิรามีน
  13. ยาแก้ปวดเมื่อย เช่น ยาหม่อง ยานวดคลายกล้ามเนื้อ น้ำมันระกำ
  14. ยาใส่แผลมี 2 ชนิด คือ ใส่แผลสด หรือใส่แผลเรื้อรัง ใส่แผลสด เช่น เบตาดีน ยาแดง ขี้ผึ้งซัลฟา ทิงเจอร์ไอโอดีน สำหรับใส่แผลเรื้อรัง เช่น ขี้ผึ้งซัลฟา ยาเหลือง



คู่มือปฐมพยาบาล
มะปราง

น้ำร้อนลวกจะทำอย่างไร

น้ำร้อนลวกจะทำอย่างไร


อุบัติเหตุเกิดได้ตลอดเวลาและทุกสถานที่ หากไม่มี “จิตปลอดภัย” หมายถึง ไม่มีความระมัดระวัง อุบัติเหตุในบ้านที่พบบ่อยพบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่อย่างหนึ่ง คือ น้ำร้อนลวก จะโดยสาเหตุใดก็ตามย่อมเกิดการทำลายของผิวหนัง เนื้อเยื่อหรือกล้ามเนื้อ
“น้ำร้อนลวก ในเด็ดมีอันตรายมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะ พื้นที่บนร่างกายของเด็กมีน้อยบริเวณน้ำร้อนลวกจึงกว้างและอาจถูกอวัยวะสำคัญ เช่น ลูกตา
1. อย่าตกใจ! จนทำอะไรไม่ถูก ตั้งสติก่อน

2.
นำผู้ได้รับอุบัติเหตุออกจากบริเวณที่มีน้ำร้อน

3.
ใช้น้ำสะอาด (ถ้าเป็นน้ำเย็นยิ่งดี) ราดลงบริเวณที่ถูกลวก เพื่อช่วยระบายความร้อน
    -
อย่า! ถูบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวก เพราะ จะทำให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อถูกทำลายมากขึ้น
    -
อย่า! แกะแผลที่พอง เพราะ จะทำให้มีการติดเชื้อโรคที่บาดแผลและเสียน้ำจากร่างกาย
    -
อย่า! ใช้น้ำปลาราด เพราะ นอกจากจะเหม็นและแสบแล้ว ยังมีโอกาสนำเชื้อโรคเข้าสู่แผลอีกด้วย


4. ถ้าผู้ถูกน้ำร้อนลวกเป็นเด็ก หรือบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวกกว้างลึก หรือถูกอวัยวะสำคัญควรรีบนำส่งสถานพยาบาล หลังจากใช้น้ำสะอาดราดแล้ว

5. ถ้าถูกน้ำร้อนลวกเพียงเล็กน้อย ไม่มีแผล ใช้น้ำแข็งประคบจะทุเลาอาการปวดแสบปวดร้อนลง จากนั้นใช้วาสลินทาบางๆ

6. ถ้ามีแผลพองอย่าแกะ ในไม่ช้าน้ำในแผลพองจะถูกดูดซึมแห้งไปเอง ถ้าแผลพองแตก ให้ใช้ยาแดงแต้มบางๆ

7. ถ้าน้ำร้อนลวกถูกบริเวณตา ให้ป้ายตาด้วยขี้ผึ้งป้ายตาปฏิชีวนะหรือพาราฟีนเหลว หลับตาไว้ปิดตาด้วยผ้าสะอาด ถ้าปวดต้องให้ยาแก้ปวดแล้วนำส่งสถานพยาบาลโดยเร็ว

บุคคลที่ถูกน้ำร้อนลวกมากๆ และปล่อยทิ้งไว้หรือรักษาเอง ด้วยการพอกยา พ่นยา อาจมีอาการแทรกซ้อนจาก 


    (1) เสียน้ำมาก มีไข้สูง
    (2) แผลติดเชื้อโรคทำให้แผลเน่า หรือเกิดเชื้อบาดทะยัก
     (3) กล้ามเนื้อหรือเอ็นถูกทำลาย ทำให้อวัยวะยึดติดกันหรือผิดรูป เช่น บริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า เป็นต้น


ดังนั้น “ควรระมัดระวัง” โดยเฉพาะเด็กในวัยต่างๆ ให้พ้นจากการถูกน้ำร้อนลวก น้ำมันกระเด็น น้ำมันลวก เพราะเด็กยังป้องกันตนเองไม่ได้ พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูสามารถป้องกันให้เด็กได้ โดยการมีจิตปลอดภัย

ข้อมูลสื่อ

89-015
นิตยสารหมอชาวบ้าน 89
กันยายน 1986
พยาบาลในบ้าน
ดร.จริยาวัตร คมพยัคฆ์

http://www.doctor.or.th/article/detail/5621

สุขภาพดี, ดูแลสุขภาพ

ป้องกันข้อเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม

ในฐานะนักกายภาพบำบัด ผู้เขียนต้องรักษาผู้ป่วยเข่าเสื่อมอยู่เป็นประจำ
เข่าเสื่อมเป็นอาการที่รักษาไม่หายขาด และมักจะมีอาการปวดเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นอาการที่ไม่ร้ายแรงถึงชีวิต ผู้ป่วยมักทุกข์ทรมาน ไม่สามารถทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบ เช่น การนั่งกับพื้น การนั่งขัดสมาธิ ทำกิจกรรมทางศาสนาบางอย่างไม่ได้
ฉบับนี้ผู้เขียนอยากนำเสนอวิธีการดูแลเข่าไม่ให้เสื่อม โดยเฉพาะคนทำงานวัยที่เข่ายังไม่เสื่อม จะได้ใช้เข่าโดยไม่ปวดได้นานๆ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เข่าเสื่อม
ปัจจัยหลักที่ทำให้เข่าเสื่อมคืออายุ เมื่ออายุมากขึ้นย่อมมีอาการเสื่อมเป็นธรรมดา เช่นเดียวกับกรรมพันธุ์ ปัจจุบันมีการพบยีนที่มีส่วนทำให้เข่าเสื่อม ปัจจัยทั้ง ๒ อย่างจะแก้ไขได้ยาก แต่ปัจจัยต่างๆ ข้างล่างต่อไปนี้ จะเป็นปัจจัยที่สามารถแก้ไขได้ ถ้าแก้ไขได้ก็สามารถป้องกันอาการเข่าเสื่อมได้ในอนาคต

๑.  ความอ้วน
ความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะทำให้เป็นโรคข้อเข้าเสื่อมโดยเฉพาะในผู้หญิง น้ำหนักตัวที่มากจะทำให้กระดูกอ่อนเข่าสึกกร่อนและทำให้เอ็นรอบเข่าไม่แข็งแรง ทุกๆ ครึ่งกิโลกรัมที่เพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว จะทำให้น้ำหนักลงไปที่เข่าเพิ่มขึ้น ๑-๑.๕ กิโลกรัม เพราะขณะที่เดินน้ำหนักจะลงที่ขาข้างที่เหยียบอยู่ รวมทั้งมีแรงของกล้ามเนื้อช่วยเสริมให้มีแรงกดที่เข่ามากขึ้น การศึกษาในผู้มีอาการปวดเข่า พบว่าอาการปวดจะดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถ้าน้ำหนักตัวลดลง

๒.  ผู้หญิงมากกว่าชาย
ผู้หญิงมีโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมมากกว่าชายโดยเฉพาะผู้หญิงวัยทอง เชื่อว่าอิทธิพลของฮอร์โมนเพศที่ลดลง นอกจากนี้ พบว่าผู้หญิงที่เล่นกีฬามีโอกาสที่จะมีการฉีกขาดของเอ็นเข่าได้มากกว่า ๒ เท่าของผู้ชาย การขาดของเอ็นจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายในอนาคต

๓.  การเรียงตัวของเข่า
ผู้ที่มีเข่าชิดกันมากกว่าปกติ (valgus knee) เข่าโก่ง (varus knee) หรือมีเข่าแอ่นมาก (Knee hyperextension) จะมีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่า

๔. มีประวัติบาดเจ็บของเข่า
เช่น กระดูกแตกบริเวณข้อเข่า หมอนรองกระดูกเข่า (meniscus) หรือเอ็นเข่าฉีกขาด จากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา การบาดเจ็บเหล่านี้จะทำให้ข้อสบกันไม่สนิท อาจมีบางส่วนของข้อที่มีการกดมากกว่าปกติจะทำให้ข้อเสื่อมได้ ลองนึกถึงบานพับประตูที่บิดเบี้ยว แรงที่กดไปที่บานพับจะไม่สม่ำเสมอ ทำให้บานพับสึกกร่อนได้ง่าย

๕. ท่าทาง งานหนัก และงานซ้ำชาก
ท่าทาง งานหนัก และงานซ้ำชาก มีผลทำให้เข่าเสื่อม ซึ่งคนทำงานที่ต้องคุกเข่า นั่งยอง ยืนนาน หรือต้องยกของหนักจะมีอัตราการเกิดข้อเสื่อมได้ง่ายกว่าคนที่ทำงานเบา

นอกจากนี้ การบิดหมุนของเข่าขณะทำงาน เช่น การหมุนตัวขณะยกของหนักจะทำให้เข่าเสื่อมง่ายขึ้น จากงานวิจัย Framingham พบว่า งานเหล่านี้มีผลร้อยละ ๑๕-๓๐ ที่ทำให้เข่าเสื่อมโดยเฉพาะผู้ชายทำงาน
สำหรับผลของการเดินขึ้นบันไดหลายชั้น การเดินมาก หรือ นั่งนานๆ วันละหลายชั่วโมงต่อภาวะข้อเข่าเสื่อมยังไม่ชัดเจนนัก

๖. การเล่นกีฬา
กีฬาที่มีการแข่งขันจะมีผลทำให้ข้อเสื่อมมากขึ้น นักกีฬาฟุตบอลมีความเสี่ยงจะเกิดข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เพราะมีอาการบาดเจ็บสะสมจากการกระโดดและการบิดของเข่าเป็นประจำ การที่ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายที่มากเกินไป เช่น การเดินระยะทางไกล การทำสวน (ต้องนั่งยองหรือเก้าอี้ต่ำบ่อย) มีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้สูงอายุทั่วไป

มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการวิ่งกับข้อเข่าเสื่อม พบว่าถ้าไม่มีประวัติบาดเจ็บของข้อเข่ามาก่อน มีโอกาสที่จะเป็นข้อเข่าเสื่อมเท่าๆ กับคนที่ไม่ได้วิ่ง

๘. ความยาวขาไม่เท่ากัน
ความยาวของขาที่ไม่เท่ากันมีความสัมพันธ์กับอาการเข่าและสะโพกเสื่อม พบว่าถ้าความยาวของขาทั้ง ๒ ข้างห่างกันเกิน ๑ เซนติเมตร จะมีโอกาสเกิดเข่าเสื่อมได้มากกว่าคนที่ขายาวเท่ากันทั้ง ๒ ข้างประมาณร้อยละ ๔๐

๙. กล้ามเนื้อหน้าขาอ่อนแรง
กล้ามเนื้อหน้าขามีหน้าที่เหยียดข้อเข่า ลองนั่งห้อยขาและเตะขาขึ้น กล้ามเนื้อกลุ่มนี้จะทำงาน พบว่าผู้หญิงที่มีกล้ามเนื้อหน้าขาอ่อนแรง (เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว) จะมีโอกาสที่เข่าเสื่อมได้มากกว่าคนที่กล้ามเนื้อแข็งแรง ยังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (Hamstrings) กับ อาการเข่าเสื่อม
นอกจากนี้ อาหารการกินยังมีผลทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ การขาดวิตามินดีและซีลีเนียม จะทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายขึ้น




ป้องกันไม่ให้เข่าเสื่อมได้อย่างไร?
จากความรู้เกี่ยวปัจจัยเสี่ยงข้างต้น สามารถนำมาประยุกต์กับการใช้ชีวิตไม่ให้เข่าเสื่อมในอนาคตได้ดังนี้

๑. อย่ากินและนั่งมากจนอ้วน
พบว่าถ้าลดน้ำหนักตัวลงได้ประมาณ ๕ กิโลกรัม สามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเข่าเสื่อมได้ถึงร้อยละ ๕๐ มีหลักฐานยืนยันในผู้มีอาการปวดเข่า พบว่าอาการปวดจะดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถ้าน้ำหนักตัวลดลง
ออกกำลังด้วยการเดินเร็วปานกลางอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง ร่วมกับการควบคุมอาหารจะช่วยลดความอ้วนได้ดี

๒. โครงสร้างเข่าผิดปกติ
ลักษณะของโครงสร้างเข่าปกติมีหลายชนิด (เข่าโก่ง เข่าชิด หรือเข่าแอ่น) ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางแก้ไขตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น การเสริมรองเท้า การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุง หรือถ้าไม่สามารถทำอะไรได้
ควรใช้เข่าอย่างระมัดระวัง ไม่เสี่ยงเล่นกีฬาหนักที่ใช้เข่ามาก เช่น แบดมินตัน เทนนิส ฟุตบอล ไม่นั่งยอง หรือนั่งพื้นนานๆ

๓. หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาปะทะที่จะนำมาซึ่งอาการบาดเจ็บของเข่า
ควรเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ ไม่ใช่เอามัน ไม่ควรเสี่ยงปะทะ เอาชนะกันอย่างเอาเป็นเอาตาย

๔. ไม่ควรอยู่ในท่าคุกเข่า นั่งยอง ยืน เป็นเวลานาน
ผู้ที่ต้องคุกเข่าทำงานอาจต้องหาวัสดุที่นิ่มมารองบริเวณเข่าเพื่อกระจายแรงกด ถ้าจำเป็นอยู่ในท่าเหล่านี้นานๆ ให้พยายามเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อให้แรงกดที่ข้อสลับเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ในกิจกรรมทางศาสนาที่ต้องนั่งพับเพียบกับพื้นเป็นเวลานาน ให้สลับนั่งพับเพียบซ้าย-ขวาบ่อยๆ ไม่ควรรอจนเข่าปวดแล้วจึงขยับ

๕. เลี่ยงกิจกรรมที่มีแรงกระแทกหรือแรงบิดต่อข้อเข่าสูง เช่น การกระโดดซ้ำๆ การยกของหนักเกินกำลัง การหมุนตัวด้วยการใช้หัวเข่า

๖. ลองวัดความยาวขาดู
นอนหงาย ปล่อยขาตามสบายแต่ไม่กาง ให้เพื่อนคลำปุ่มกระดูกบริเวณที่เท้าสะเอว (anterior superior iliac spine, ASIS) และกลางตาตุ่มของเท้าด้านใน วัดระยะห่างจากทั้ง ๒ จุดในขาข้างหนึ่ง ถ้าขาสองข้างยาวไม่เท่ากันเกิน ๒ เซนติเมตร ต้องเสริมรองเท้าในระยะที่ขาด

๗. ออกกำลังกล้ามเนื้อหน้าขาให้แข็งแรง
อาจใช้วิธีการที่ทำกันทั่วไป คือ ถุงทรายน้ำหนัก ๑-๒ กิโลกรัม มาผูกกับข้อเท้า นั่งห้อยขาแล้วยกขึ้น-ลง ช้าๆ ถ้าได้ ๑๐ ครั้ง แล้วเมื่อยพอดี ให้ทำซ้ำอีก ๒ เซท ถ้ายังง่ายไปก็เพิ่มน้ำหนักถุงทรายทีละ ๐.๕ กิโลกรัม จนได้น้ำหนักที่ยกได้ ๑๐ แล้วเมื่อยพอดี หรือจะออกกำลังด้วยการยืนย่อเข่าทั้ง ๒ ข้างประมาณ ๒๐ องศา ค้างไว้ ๑ วินาที แล้วเหยียดเข่า ทำซ้ำประมาณ ๑๐ ครั้ง ถ้ารู้สึกว่าง่ายไป อาจยืนขาเดียวพิงฝา ปรับจนทำได้ประมาณ ๑๐ ครั้ง แล้วเมื่อยพอดี ทำซ้ำอีก ๒ เซท

๘. ถ้ามีอาการบาดเจ็บของเข่า มีอาการบวม ต้องทำการรักษา และงดการทำกิจกรรมที่ทำให้มีอาการปวดมากขึ้น เมื่อหายยังไม่สนิทต้องระวังไม่ให้เป็นซ้ำและอย่าปล่อยให้มีอาการเรื้อรัง

๙. ไม่ควรใส่ส้นสูง จะทำให้เข่าแอ่น มีโอกาสที่เข่าจะเสื่อมได้ง่าย
สวมใส่รองเท้าที่เหมาะกับกีฬาแต่ละประเภท เช่น รองเท้าวิ่งก็ควรมีส้นรองเท้าที่นิ่มรับแรงกระแทกได้ดี รองเท้าสำหรับใส่เล่นแบดมินตันหรือเทนนิสควรมีพื้นบางเพื่อไม่ให้พลิกได้ง่าย เป็นต้น
ถ้าดูแลเข่าของเราให้ดีวันนี้ จะปราศจากอาการปวดในวันหน้า

เอกสารอ้างอิง
ZhangY, Jordan J. Epidemiology of osteoarthritis.Rheum Dis Clin N Am 2008;34: 51529.

http://www.doctor.or.th/article/detail/14212