ยาสามัญประจำบ้าน

ยาสามัญประจำบ้าน



ควรมียาสามัญประจำบ้านเตรียมพร้อมติดไว้ในตู้ยาซึ่งเป็นตู้กระจก มองเห็นจากภายนอกได้ว่ามียาอะไรอยู่บ้าง เวลาประสบเหตุจะได้ช่วยเหลือสะดวกทันกาล

1. ยาแก้ปวดลดไข้ เช่น พาราเซตามอลชนิดเม็ดสำหรับผู้ใหญ่ และชนิดน้ำสำหรับเด็ก ยาแอสไพริน

2. ยาลดน้ำมูก เช่น คลอร์เฟนิรามีน

3. ยาแก้ไอ เช่น ยาอมมะแว้ง ยาแก้ไอน้ำดำ ยาแก้ไอน้ำเชื่อม

4. ยาดมแก้วิงเวียน แก้หวัด เช่น ยาหอม แอมโมเนียหอม น้ำมันยูคาลิปตัส

5. ยาระบาย เช่น ยาระบายแมกนีเซียม ดีเกลือ น้ำมันละหุ่ง ชามะขามแขก

6. ยาแก้ท้องอืด เช่น คาร์มิเนตีฟ ยาธาตุน้ำแดง เหล้าสะระแหน่ โซดามินต์ ทิงเจอร์มหาหิงคุ์

7. ยาแก้ท้องเสีย เช่น ผงน้ำตาลเกลือแร่ ยาซัลฟากัวนิดีน ยาน้ำเคาลินเปคติน

8. ยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะ เช่น อะลัมมิลค์ แมกนีเซียมไตรซิลิเกต รานิทิดีน ไซเมทิดีน

9. ยาหยอดตาแก้ตาอักเสบ ตาแดง ตาเจ็บ เช่น โบริกโซลูชั่น

10. ยาหยอดหูแก้หูน้ำหนวก ช่องหูอักเสบ

11. ยากวาดคอ รักษาอาการอักเสบช่องปากและคอ

12. ยาแก้แพ้ ผดผื่นคัน แพ้อากาศ เช่น คลอร์เฟนิรามีน บรอมเฟนิรามีน

13. ยาแก้ปวดเมื่อย เช่น ยาหม่อง ยานวดคลายกล้ามเนื้อ น้ำมันระกำ

14. ยาใส่แผลมี 2 ชนิดคือใส่แผลสด หรือใส่แผลเรื้อรัง ใส่แผลสด เช่น เบตาดีน ยาแดง ขี้ผึ้งซัลฟา ทิงเจอร์ไอโอดีน สำหรับใส่แผลเรื้อรัง เช่น ขี้ผึ้งซัลฟา ยาเหลือง


ยาบางชนิดต้องเก็บไว้ในตู้เย็น ควรอ่านฉลากก่อนเก็บ ก่อนใช้ ควรสำรองยาสามัญในปริมาณที่พอเหมาะกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว ยาน้ำขวดกลางหรือขวดเล็กหนึ่งขวดก็พอ และควรอย่างยิ่งที่จะตรวจสอบเป็นระยะว่ายาหมดอายุหรือยัง ยาบางชนิดอายุสั้นหลังเปิดใช้ไม่กี่วันก็ต้องทิ้งไป เช่น ยาหยอดตาเปิดใช้ได้เพียง 28 วัน หลังจากนั้นต้องทิ้งไปไม่ว่ายาจะอยู่ในสภาพดีเพียงใด

บางครั้งยาเสีย เสื่อมสภาพก่อนวันหมดอายุโดยดูได้จากสีของยา กลิ่น หรือรูปลักษณ์ที่เปลี่ยนไป ดังนี้

1. เม็ดยาเกิดแตกร่วนหรือผิวสึกกร่อน

2. เม็ดยาเปลี่ยนสีจางลงหรือเข้มขึ้นหรือสีไม่สม่ำเสมอ

3. ความมันวาวที่เคลือบเม็ดยาหายไป

4. มีกลิ่นยาเปลี่ยนไป

5. แคปซูลบวมหรือมีฝ้าขาว แตก เหนียวติดกัน หรือเป็นก้อนแข็งข้างใน

6. ยาน้ำใสกลายเป็นมีตะกอน

7. ยาน้ำที่เปลี่ยนแข็งตัวเป็นก้อน

8. ยาแขวนตะกอนเขย่าแล้วไ่ม่รวมตัวเป็นเนื้อเดียว มีก้อนแข็ง หรือตกตะกอนเร็วกว่าปกติ หรือขุ่นข้นกว่าเดิม

9. ยาผงที่จับตัวเป็นก้อน

10. ยาครีมขี้ผึ้งที่ข้นหรือเหลวกว่าเดิม หรือมีคราบน้ำมันสีเหลืองออกจากครีม

11. ถ้ายาหมดอายุแต่รูปลักษณ์มายังดีอยู่ก็ควรทิ้งไปด้วย

คู่มือปฐมพยาบาล (มะปราง)

No comments:

Post a Comment