ผักออร์แกนิค กับ ผักไฮโดรโปนิกส์ ต่างกันอย่างไร

ผักออร์แกนิค กับ ผักไฮโดรโปนิกส์ ต่างกันอย่างไร?

Image result for ผักปลอดสาร
Image result for ผักปลอดสาร

        เท่าที่ได้ศึกษาเปรียบเทียบผักออร์แกนิค กับผักไฮโดรโปนิกส์ มาสักพัก รู้สึกว่าหลายคนยังเข้าใจผิดระหว่าง ผักออร์แกนิค กับ ผักไฮโดรฯ กันอยู่

       จากที่เห็นตามร้านที่ขายผักไฮโดรฯส่วนใหญ่ จะบอกว่าเป็นผักปลอดสารพิษ แต่พอกลับมาลองศึกษาวิธีการปลูก แล้วจะเห็นได้ว่าบางสิ่งบางอย่างเรากำลังเข้าใจผิดกัน ทั้งนี้ไม่มีเจตนาจะกล่าวหาว่าผักไฮโดรฯไม่ดี ผักออร์แกนิคดีกว่า หรืออย่างไร เพราะจะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่าผู้บริโภคนั้น รับได้แค่ไหน

       ผักไฮโดรฯ คือ การปลูกโดยใช้น้ำเป็นองค์ประกอบหลักและใช้สารอาหารสำหรับพืชที่สร้างขึ้นมาด้วยสารสกัดทางเคมี ซึ่งสารอาหารนี้สกัดจากสารเคมี คือ ปุ๋ยเคมีนั่นเอง

Image result for ผักปลอดสาร

       และที่กล่าวว่า ผักไฮโดรฯ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง เพราะปลูก และดูแลอย่างดี ซึ่งก็แน่นอนว่าไม่ใช้ยาฆ่าแมลง เพราะกระบวนการปลูกใช้สารสกัดทางเคมีทำให้เจริญเติบโตอยู่แล้ว และภาพลักษณ์ของผักไฮโดรฯนั้น ปลูกง่าย สะดวก สำหรับคนไม่มีพื้นที่ดิน ขนาดอยู่ อพาร์ทเม้นท์ ยังปลูกได้เลย

        ส่วนผักออแกนิกส์ คือ ผลผลิตจะได้มาจากการเจริญเติบโตตามธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ดินที่ใช้เพาะปลูกต้องทำให้ปลอดสารพิษไม่น้อยกว่า 3 ปี ผักก็จะปลูกบนดินบ้านๆที่ปลอดสารเคมีใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกจากธรรมชาติในการปลูกเรียกได้ว่าเป็นการสร้างอาหารแบบ Back to Nature ธรรมชาติล้วนๆ 100% ส่วนประกอบทุกอย่างนั้นจึงบริสุทธิ์ผุดผ่อง

Image result for ผักปลอดสาร

       เพราะอย่างนี้ผักออร์แกนิคถึงแพง แต่ราคาระหว่างผักออร์แกนิคกับผักไฮโดรฯนั้น ไม่ต่างกันมาก ซึ่งออร์แกนิคจะสูงกว่านิดหน่อย

   ** เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ก็สามารถยืนยันและประกาศออกไปได้ในทันทีว่า 
 "ผักไฮโดรโปรนิกส์ ไม่ใช่ ผักออร์แกนิค" 

Hydroponic Is not Organic –


  

ขอขอบคุณบทความและรูปภาพดีๆจาก Facebook คุณ Sirikorn Limsuwan

30 บาท 30 วิธี รักษาตนเองเบื้องต้น ดูแลตนเอง




ใชับัตรทอง 30 บาท ใช้ 30 วิธี รักษาตนเองเบื้องต้น

จากโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค จนถึงพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2546 ที่มีเจตนารมณ์เพื่อต้องการสร้างหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้าให้แก่ประชาชนชาวไทย นอกจากประชาชนจะมีหน่วยบริการใกล้บ้านใกล้ใจ สะดวกในการไปรับบริการยามเจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว การที่ประชาชนมีความรู้อย่างถูกต้องในการรักษาตนเองหรือปฐมพยาบาลตนเองเบื้องต้นได้ ก็มีความสำคัญอย่างมาก

สำนักงานหลักประกันสุขภาพตนเองแห่งชาติ จึงจัดพิมพ์หนังสือ 30 บาท 30 วิธีรักษาตนเองเบื้องต้นเพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป เพื่อให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างแท้จริง

1. กระดูกหัก

ถ้าสงสัยว่ามีกระดูกหัก วางอวัยวะส่วนนั้นลงบนแผ่นไม้ หรือกิ่งไม้ หรือนิตยสารที่หนา ๆ ใช้ผ้าพันยึดไว้ไม่ให้เคลื่อนไหว ถ้าเป็นที่ปลายแขนหรือมือใช้ผ้าคล้องคอ รีบพาไปหมอ



2. ก้างติดคอ
กลืนก้อนข้าวสุก กล้วยทั้งคำ (ไม่ต้องเคี้ยว) หรือขนมปังนิ่ม ๆ ถ้ายังไม่หลุดกลืนน้ำส้มสายชูเจือจาง ก้างจะอ่อนลงได้ ถ้ายังไม่หยุด ควรไปหาหมอ


3. ลมพิษ
ทาด้วยยาแก้ผดผื่นคัน หรือใช้ใบพลู กินยาแก้แพ้คลอร์เฟนิรามีน ครึ่งเม็ด ถึง 1 เม็ด วันละ 2 ถึง 3 ครั้ง หาสาเหตุที่แพ้ เช่น ยา อาหารทะเล เหล้า เบียร์ แมลง ละอองต่าง ๆ ฯลฯ และหลีกเลี่ยงเสีย ถ้าเป็นเรื้อรัง ควรไปหาหมอ


4. การห้ามเลือด
ถ้าบาดแผลเล็ก กดปากแผลด้วยผ้าสะอาด แล้วพันให้แน่น ถ้าบาดแผลใหญ่ เลือดออกพุ่ง ไม่หยุด ใช้ผ้าเชือก หรือสายยางรัดเหนือแผล (ระหว่างบาดแผลกับหัวใจ) ให้แน่นพอที่เลือดหยุดไหล ยกส่วนที่มีเลือดออกให้สูงไว้


5. ไข้ (ตัวร้อน)
นอนพักผ่อน ดื่มน้ำ หรือน้ำเกลือแร่มากๆ ดื่มน้ำหวาน น้ำข้าวต้ม/โจ๊ก ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช้ดตัวเวลามีไข้สูง เวลาเช็ดตัวอย่าให้ถูกลม อาจทำให้หนาวสั่นได้ กินยาลดไข้พาราเซตามอลทุก 4 ถึง 6 ชม. (ควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน) ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ถ้าเคยชัก ให้กินยากันชักร่วมด้วย

Image result for ไข้



6. ไข้หวัด ในผู้ใหญ่และเด็กโต
ในผู้ใหญ่และเด้กโต ปฏิบัติเช่นเดียวกับอาการไข้ (ถ้าเป็นไข้หวัดใหญ่ ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ห้ามกินแอสไพริน ควรกินพาราเซตามอลแทน) ถ้าคัดจมูกหรือมีน้ำมูกมาก กินคลอร์เฟนิรามีน ถ้าไอแห้ง ๆ หรือไอคันคอ จิบยาแก้ไอ ถ้าไอมีเสลดเหนียว หยุดจิบยาแก้ไอ ให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ หากเจ็บหน้าอกรุนแรง หูอื้อ ควรไปหาหมอ

Image result for ไข้หวัด



7. ไข้หวัดในเด็กเล็ก
ในเด็กเล้ก ปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับอาการไข้ ห้ามกินแอสไพริน ถ้ามีน้ำมูกใสๆ ควรใช้ลูกยางดูดออก หรื้อใช้ไม้พันสำลีเช็ดออก (ซึ่งจะมีมากใน 2 - 3 วันแรก) ถ้าไอให้จิบน้ำอุ่นหรือน้ำผึ้งผสมมะนาว หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้หวัดแก้ไอ เพราะจะมียาแก้แพ้คลอร์เฟนินามีนผสม ทำให้เสลดเหนียวขับออกยาก

Image result for ไข้หวัด

8. ข้อเคล็ด ข้อแพลง
ให้ข้อนั้นอยู่นิ่ง (ขยับเขยื้อนให้น้อยที่สุด) และยกสูงไว้ ในกรณีที่เกิดทันทีข้อยังไม่ทันบวม ให้ประคบด้วยน้ำเย็นหรือน้ำแข็ง ในระยะหลังเมื่อข้อบวมแล้ว ให้ประคบด้วยน้ำร้อน หรือนวดด้วยน้ำมันหรือสมุนไพร หรือครีมแก้ช้ำ

Image result for ข้อเคล็ด

9. ของเข้าจมูก
บีบรูจมูกข้างที่ไม่มีของอยู่ แล้วสั่งข้างที่มีของอยู่แรง ๆ ไม่ควรแตะ เพราะจะดันลึกเข้าไปอีก ถ้าไม่ออกควรไปหาหมอ
Image result for ของเข้าจมูก


10. ของเข้าหู
ตะแคงศีรษะ หันหูข้างนั้นลง ให้ของหล่นออกมา ถ้าไม่ออก ห้ามแคะ เพราะของจะยิ่งเข้าลึก ควรไปหาหมอ

Image result for ของเข้าหู


11. จมน้ำ
ช่วยให้ผู้จมน้ำขึ้นมาจากน้ำโดยมิชักช้า ถ้าผู้ป่วยยังรู้สติดีและหายใจได้ดี ให้ผู้ป่วยนอนราบกับพื้น เช็ดตัวให้แห้ง ให้ความอบอุ่น ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวดีแต่ไอและอาเจียนให้ผู้ป่วยนอนตะแคง เพื่อให้สิ่งอาเจียนและเสมหะไหลออกได้ง่าย ช่วยคนตกน้ำ (ที่หยุดหายใจ) ล้วงเอาของในปากออกรวมทั้งฟันปลอม (ถ้ามี) เป่าปากช่วยหายใจไปตลอดทางจนกว่าจะพาไปถึงหมอ

Image result for จมน้ำ



12. ชัก
จับนอนตะแคงให้ศีรษะต่ำ ห้ามกรอกยา (นอกจากจำเป็น) เพราะสำลักง่าย ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรไปหาหมอด่วน

Image result for ชัก

13. ตกจากที่สูง
ควรไปหาหมอ โดยให้นอนหงายบนแผ่นกระดาน หรือเปล ห้ามพยุงเดินหรืออุ้ม ไม่ไห้ดื่มน้ำหรืออาหาร

Image result for ตกจากที่สูง


14. ชักจากไข้สูง
(มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ)
เช็ดตัวและซอกคอ แขน ขา ด้วยน้ำเย็นธรรมดา จนกว่าตัวจะเย็น จับนอนตะแคงให้ศีรษะต่ำ ห้ามกรอกยา (นอกจากจำเป็น) เพราะสำลักง่าย ถ้าเป็นการชักครั้งแรก ควรไปหาหมอภายในครึ่งชั่วโมง ถ้าเคยชักมาก่อนและเคยผ่านการรักษาจากหมอ ก็ให้ยาลดไข้และยากันชัก ตามคำแนะนำของหมอ

Image result for ชักจากไข้สูง

15. ตะคริว
นวดบริเวณกล้ามเนื้อที่ปวด อาจใช้ยาหม่อง หรือน้ำมัน หรือครีมนวดกล้ามเนื้อ ถ้าเป็นที่น่องให้เหยียดเข่าออก ถ้าเป็นตะคริว หลังจากเสียเหงื่อมาก ให้ดื่มน้ำเกลือแร่

Image result for ตะคริว


16. แผลทั่วไป
ก่อนจะทำแผล ล้างมือให้สะอาดก่อนทุกครั้ง แต่งแผลที่สะอาดก่อนแผลที่สกปรก ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ เช็ดรอบแผลจากในวนออกมาข้างนอกทางเดียว ไม่ให้เช็ดลงในแผล หรือวนกลับไปกลับมา ปิดแผลด้วยผ้ากอซหรือผ้าสะอาด หลังจากแต่งแผลแล้วต้องไม่ให้แผลถูกน้ำอีกเลย จนกว่าจะหาย มิฉะนั้นจะเป็นหนองง่ายหรือหายช้า

Image result for แผลทั่วไป


17. แผลถลอก
ล้างแผลด้วยน้ำสุกและสบู่ เอากรวดดินที่มีอยู่ในแผลออกให้หมด เช็ดรอบแผลด้วยแอลกอฮอล์ ทาแผลด้วยทิงเจอร์ ใส่แผลสดหรือน้ำยาโพวิโดนไอโอดีน ไม่ต้องปิดแผล

Image result for แผลถลอก


18. แผลลึก แผลถึงกระดูก หรือมีกระดูกโผล่
ห้ามเลือด ใช้ผ้าสะอาดคลุมปิดบาดแผล ห้ามจับกระดูกยัดกลับเข้าไป รีบพาไปหาหมอ

Image result for แผลลึก


19. แผลตะปูตำ
ล้างเอาเศษดินออกให้หมด ใช้น้ำยาไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ชะล้าง แล้วทำความสะอาดแผลอีกครั้ง ปิดแผล ห้ามถูกน้ำ ไปหาหมอเพื่อพิจารณาฉีดยาป้องกันบาดทะยักและใช้ยาปฏิชีวนะ

Image result for แผลตะปูตำ


20 แผลถูกน้ำร้อน หรือไฟลวก
ให้แช่บริเวณที่ถูกลวกในน้ำเย็น หรือน้ำใส่น้ำแข็ง) ที่สะอาดหรือใช้ผ้าชุบน้ำเย็นโปะ หรือใช้ถุงพลาสติกสะอาดใส่น้ำแข็งวางตรงบริเวณที่ถูกลวก เพื่อลดอาการปวดแสบปวดร้อน และลดอาการอักเสบ

Image result for แผลน้ำร้อนลวก


21. แผลงูพิษกัด
ดูรอยแผล จะมีรอยเขี้ยว 1 หรือ 2 จุด (งูไม่มีพิษแผลจะเป็นรอยถลอก) ให้นอนนิ่ง พูดปลอบใจอย่าให้กลัวหรือตกใจ ถ้าจำเป็นให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุด ห้ามดื่มเหล้า ยาดองเหล้า ยากล่อมประสาท รีบพาไปหาหมอ ถ้าเป็นไปได้ ควรนำงูไปด้วย ถ้าหยุดหายใจ ให้เป่าปากช่วยหายใจ

Image result for แผลงูพิษกัด


22. แผลแมลงกัดต่อย ผึ้ง แตน ต่อ ต่อย
ใช้หลอดดูดนม (หลอดกาแฟ) เล็กๆ แข็งๆ หรือปลายด้ามปากกาลูกลื่นที่ถอดไส้ปากกาออกแล้วครอบจุดที่ถูกกัด แล้วกดลงให้เหล็กในโผล่ แล้วดึงเอาเหล็กในออก ใช้หัวหอมผ่าครึ่ง เอาด้านที่ผ่าถูบนผิวหนังบริเวณที่ถูกแมลงกัดหรือต่อย ทำซ้ำได้ทุก 5 นาที ถ้าปวดกินยาแก้ปวดประคบด้วยน้ำแข็ง ถ้ามีอาการบวมหรือหายใจไม่ออก ควรไปหาหมอ

Image result for แมลงกัดต่อย


23. ผงเข้าตา
อย่าขยี้ตา รีบลืมตาในน้ำสะอาดและกลอกตาไปมา ถ้ายังไม่ออก ให้คนช่วยใช้มุมผ้าเช้ดหน้าเขี่ยผงออก ถ้าไม่ได้ ควรไปหาหมอ

Image result for ผงเข้าตา


24. หอบ
ให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนในท่าหัวสูง ตั้งแต่หัวไหล่ขึ้นไป โบกพัดให้ความเย็น นอกจากว่าผู้ป่วยไม่ต้องการ ถ้าไม่ใช่โรคหืด ให้รีบไปหาหมอ

Image result for หอบ


25. แมลงเข้าหู
ควรพาเข้าไปในที่มืด แล้วใช้ไฟฉายส่ง (แมลงอาจจะออกมาตามแสง) หรือเอาน้ำหยอดให้แมลงลอยขึ้นมา หรือใช้น้ำมัน หรือกลีเซอรีนโบแรกซ์ หยอดหูแมลงจะตายในหู แล้วเขี่ยหรือคีบออก ถ้าเคยมีประวัติหูน้ำหนวกข้างนั้น หรือทำตามดังกล่าวไม่ได้ผล ควรไปหาหมอ

Image result for แมลงเข้าหู


26. เลือดกำเดา
ให้นั่งนิ่ง หงายศีรษะไปด้านหลัง หรือนอนหนุนไหล่หนีบศีรษะให้สูง ใช้ผ้าสะอาดม้วนอุดรูจมูกข้างนั้น หรือใช้นิ้วมือบีบจมูกทั้ง 2 ข้างให้แน่น ให้หายใจทางปากแทนหรือกดจุด วางน้ำแข็งหรือผ้าเย็นบนสันจมูก หน้าผาก ใต้ขากรรไกร ถ้าเลือดไม่หยุด รีบพาไปโรงพยาบาล

Image result for เลือดกำเดา


27. หัวโน ห้อเลือด ฟกซ้ำ
มีเลือดออกใต้ผิวหนังโดยไม่มีบาดแผลในระยะแรกใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบแล้วใช้ดินสอพองผสมมะนาวพอก เกิน 24 ชม. แล้วประคบและคลึงด้วยผ้าชุบน้ำร้อน วันละ 2 ถึง 3 ครั้ง ก้อนจะค่อยๆ ยุบลง

Image result for หัวโน


28. ท้องเดิน (ท้องร่วง ท้องเดิน)
ในผู้ใหญ่และเด็กโต งดอาหารรสจัดและย่อยยาก ให้กินอาหารเหลว แทนจนกว่าอาการจะดีขึ้น ดื่มน้ำเกลือ น้ำข้าวต้มใส่เกลือ (ใส่เกลือครึ่งช้อนช้าในน้ำข้าว 1 ขวด น้ำปลากลม) หรือน้ำอัดลมใส่เกลือบ่อย ๆ

Image result for ท้องเดิน


29. ท้องเดินในเด็กเล็ก
ถ้าดื่มนมแม่อยู่ให้ดื่มนมแม่ต่อไป (ถ้าดื่มนมผสมอยู่ให้ชงเจือจางเท่าตัว และดื่มนมต่อไป) และดื่มน้ำเกลือชาวบ้าน หรือน้ำข้าวต้มใส่เกลือเพิ่มเติม เมื่ออาการดีขึ้นให้กินอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย ไม่ต้องให้ยาที่ใช้แก้ท้องเดินชนิดใดทั้งสิ้น ถ้าถ่ายท้องรุนแรง อาเจียนรุนแรง ต้องไปหาหมอโดยเร็ว

Image result for ท้องเดิน

30. ท้องผูก
ในผู้ใหญ่และเด็กโต ดื่มน้ำและกินอาหารพวกผัก ผลไม้ ให้มาก ๆ งดชา กาแฟ และออกกำลังกายให้มากขึ้น ถ้าไม่หายให้กินยาถ่ายหรือยาระบาย หรือใช้สมุนไพร หรือกดจุด ถ้ามีอาการปวดท้องรุนแรง หรืออาเจียนรุนแรง ควรรีบไปหาหมอ ท้องผูกในเด็กเล็ก ให้ดื่มน้ำมาก ๆ ดื่มน้ำส้มคั้น น้ำมะขาม หรือเปลี่ยนนมผงที่กิน ถ้าไม่ได้ผล ใช้ยาสวน หรือใช้แท่งกลีเซอรียนเหน็บกัน

Image result for ท้องผูก


สาระความรู้ดังกล่าว 
มาจากข้อมูลที่เคยเผยแพร่ในหนังสือคู่มือชาวบ้าน โดย นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพและคณะ