ออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่ดี

ออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่ดี
ออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่ดี


ปัจจุบันการออกกำลังกายได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นจากคนเกือบทุกเพศทุกวัย จุดประสงค์ในการออกกำลังกายก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางท่านออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ในขณะที่บางท่านออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ วิธีการออกกำลังกายของสองเป้าหมายนี้ต่างกันหรือไม่? แล้วโดยทั่วไปควรออกกำลังกายอย่างไร?

“การออกกำลังกายแบบแอโรบิค” และ “การออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิค” ต่างกันเช่นไร
หลายๆ คนคงเคยได้ยินคำเหล่านี้ แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าทั้งสองคำมีความแตกต่างกันอย่างไร

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค  หมายถึง  การออกกำลังกายที่มีการใช้พลังงานโดยอาศัยออกซิเจนในร่างกาย โดยลักษณะจะเป็นการออกกำลังกายที่ไม่รุนแรงมากแต่มีความต่อเนื่องเช่น เดินวิ่งเหยาะๆ ถีบจักรยาน กระโดดเชือก หรือ เต้นแอโรบิก เป็นต้น จึงเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง


การออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิค  หมายถึง  การออกกำลังกายที่มีการใช้พลังงานโดยไม่อาศัยออกซิเจน แต่จะอาศัยสารเคมีในร่างกายแทน ลักษณะจะเป็นการออกกำลังกายใช้แรงมาก เช่น วิ่งระยะสั้น ยกน้ำหนัก เทนนิส เป็นต้น จึงเป็นการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และให้สามารถออกแรงได้มากในชั่วระยะเวลาสั้นๆ


ออกกำลังกายมาก-น้อย แค่ไหนจึงจะมีประโยชน์ต่อหัวใจ
การออกกำลังกายที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหัวใจและปอด คือ ออกกำลังกายมากพอที่จะทำให้หัวใจเต้น (หรือชีพจร) มีค่าระหว่าง 60-80% ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจของบุคคลนั้นๆ ซึ่งอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ เท่ากับ 220-อายุ(ปี)

ตัวอย่าง  เช่น คนอายุ 50 ปี มีอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ เท่ากับ 220-50 = 170 ครั้งต่อนาที ดังนั้นการออกกำลังกายที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหัวใจ คือ ออกกำลังกายแล้วหัวใจเต้นได้ 60-80% ของ 170 ครั้งต่อนาที เทียบเท่ากับ ระหว่าง 119-136 ครั้งต่อนาที

บางครั้งการจับชีพจรขณะออกกำลังกายอาจไม่สะดวก ผู้ออกกำลังกายสามารถใช้การสังเกตความรู้สึกเหนื่อยจากการออกกำลังกายแทนได้

§  ออกกำลังกายระดับหนัก หมายถึง ออกกำลังกายจนรู้สึกเหนื่อยมากโดยหายใจแรงและเร็ว หรือหอบขณะออกแรง/ออกกำลังกายไม่สามารถคุยกับคนข้างเคียงได้จนจบประโยค

§  ออกกำลังกายระดับปานกลาง หมายถึง การออกกำลังกายหรืออกแรงจนทำให้รู้สึกค่อนข้างเหนื่อยหรือเหนื่อยกว่าปกติพอควรโดยหายใจเร็วกว่าปกติเล็กน้อย หรือหายใจกระชั้นขึ้นไม่ถึงกับหอบ หรือขณะออกกำลังกายหรือออกแรง ยังสามารถพูดคุยกับคนข้างเคียงได้จนจบประโยคและรู้เรื่อง

§  ออกกำลังกายในระดับน้อย  หมายถึง  การออกกำลังกายหรืออกแรงน้อย ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยมากกว่าปกติ

แนวทางการออกกำลังกาย
(Physical Activity Guidelines 2007 - American College of Sports Medicine and the American Heart Association)


สำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงอายุ 18 ถึง 65 ปี

ออกกำลังกายแบบแอโรบิคระดับปานกลางนาน 30 นาทีต่อวันสัปดาห์ละ 5 วัน
หรือ
ออกกำลังกายแบบแอโรบิคระดับหนักนาน 20 นาทีต่อวันสัปดาห์ละ 3 วัน

โดยทั้งสองแบบควรทำควบคู่ไปกับการออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิคเพื่อเพิ่มแรงและความทนทานของกล้ามเนื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วันที่ไม่ใช่วันติดกัน


สำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงอายุเกิน 65 ปี (หรือ อายุ 50-64 ปีที่มีภาวะเรื้อรังซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหวหรือความแข็งแรงของร่างกาย เช่น โรคข้ออักเสบ)

ออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับปานกลาง* นาน 30 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 5 วัน

หรือ

ออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับหนัก** นาน 20 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 3 วัน

* ในกรณีนี้ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับปานกลาง หมายถึง การออกกำลังกายแบบแอโรบิกจนทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจเพิ่มขึ้น

**ในกรณีนี้ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับหนัก  หมายถึง การออกกำลังกายแบบแอโรบิกจนทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจเพิ่มขึ้นมาก

ทั้งนี้ควรทำควบคู่ไปกับการออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิคเพื่อเพิ่มแรงและความทนทานของกล้ามเนื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วันที่ไม่ใช่วันติดกันหากมีความเสี่ยงของการหกล้ม ควรหลีกเลี่ยงวิธีการออกกำลังกายที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ และควรจัดทำแผนกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างละอียดและเหมาะสม

นอกจากการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเรื้อรังและอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ที่สำคัญการออกกำลังกายช่วยลดและป้องกันภาวะความเครียดทางอารมณ์ได้อีกด้วย ดังนั้นหันมาออกกำลังกายกันเถอะค่ะ



เอกสารอ้างอิง
1. Haskell W, Lee I-M, Pate RR, et al.Physical Activity and Public Health: Updated Recommendation for Adults from the American College of Sports Medicine and the American Heart Association. Medicine & Science in Sports & Exercise 2007; 39(8): 1423-34.
2. Nelson M, Rejeski WJ, BLAIR SN, et al. Physical Activity and Public Health in Older Adults: Recommendation from the American College of Sports Medicine and the American Heart Association. Medicine & Science in Sports & Exercise 2007; 39(8): 1435-45.
3. American College of Sports Medicine.  ACSM/AHA Physical Activity Guidelines 2007. 2007. Available from: URL:http://www.acsm.org/AM/Template.cfm?Section=Home_Page&TEMPLATE=CM/HTMLDisplay.cfm&CONTENTID=7764 [cited 2010 Sep 24].
4. American College of Sports Medicine. Exercise is good medicine for preventing and reducing an angry mood[Online]. 2010 Jun 4.  Available from: URL:http://www.acsm.org/AM/Template.cfm?Section=ACSM_News_Releases&TEMPLATE=/CM/ContentDisplay.cfm&CONTENTID=14762[cited 2010 Oct 1].
5. Doctor's Senior Exercise.  Aerobic versus Anaerobic [Online]. 2010.  Available from: URL:http://www.doctorsexercise.com/journal/aerobic.htm [cited 2010 Sep 25].
6. กิฎาพล วัฒนกูล. การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ [Online]. 2004 Sep 10. Available from: URL:http://www.fp.pmk.ac.th/news/exercise/ [cited 2010 Sep 25].

ภญ.กิตติมา วัฒนากมลกุล
ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สุขภาพดี, ดูแบสุขภาพ

อาการเป็นลม

อาการเป็นลม



คนเป็นลมหน้ามืด  เป็นผลเนื่องมาจากเลือดไปสู่สมองน้อยไปชั่วคราว   สาเหตุอาจเนื่องมาจาก   ร่างกายอ่อนเพลีย  อยู่ในที่แออัดอากาศถ่ายเทไม่สะดวก  การออกแรงหรือกำลังมากเกินไป  อากาศร้อน    อบอ้าว  ตื่นเต้น  ตกใจ  เสียใจมากเกินไป

            อาการ    จะมีอาการวิงเวียน  หน้ามืด  ตามัว  ใจสั่น  ใบหน้าซีดเซียว  มีเหงื่อออกชุ่มตามฝ่ามือ  ฝ่าเท้า  และหน้าผาก  อาจล้มลงและหมดสติ  ชีพจรเบา  หายใจหอบถี่

การปฐมพยาบาล

    1.    ขยายเสื้อผ้าให้หลวม

    2.    ห้ามคนมุงดูรอบๆ

    3.    เมื่อหมดสติ  ให้ผู้ป่วยนอนลง  ให้ศีรษะต่ำกว่าตัวเล็กน้อยหรือนอนราบก็ได้

    4.    ให้ดมแอมโมเนีย

    5.    เช็ดเหงื่อตามฝ่ามือ  ฝ่าเท้าและหน้าผาก

    6.    พัดให้คนเป็นลม

    7.    ถ้ายังไม่รู้สึกตัว  ควรให้ความอบอุ่น  ทำการผายปอดและรีบส่งโรงพยาบาล ติดต่อไปยังเบอร์ 1669 ซึ่งเป็นสายด่วนศูนย์นเรนทร เพื่อทำการแจ้งเหตุ และติดต่อเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
ให้การช่วยเหลือและนำส่งโรงพยาบาลโดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ 



การป้องกัน

- รักษาสุขภาพให้แข็งแรง
   เช่น กินอาหารและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
   ออกกำลังกาย สม่ำเสมอ


- หลีกเลี่ยงชนวนที่ทำให้เป็นลมหน้ามืด
  เช่น ที่แออัดอบอ้าว

- หมั่นตรวจสุขภาพร่างกายอย่างน้อยก็ปีละครั้ง


http://krusathien.bmk2.net/payaban/

ภาวะอ้วน

ภาวะอ้วน

ภาวะอ้วนเป็นสาเหตุสำคัญอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง แนะควบคุมอาหารและออกกำลังกาย



ตั้งแต่เปิดศักราชปีมะแมผ่านสารพัดงานเลี้ยงตั้งแต่ปีใหม่ วาเลนไทน์ และล่าสุดตรุษจีน หลายคนคงเริ่มกลุ้มใจกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าภาวะอ้วนเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและอีกมากมายหลายโรค แต่หลายคนคงคาดไม่ถึงว่าภาวะอ้วนเป็นสาเหตุสำคัญอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง
จากการที่เซลล์ไขมันส่วนเกินมีการสร้างฮอร์โมนเพศที่มีชื่อว่าเอสโตรเจนเพิ่มมากขึ้น ในสภาวะปกติฮอร์โมนตัวนี้พบได้ทั้งในเพศชายและหญิง แต่ในเพศหญิงจะพบมากกว่า เพราะถูกสร้างจากรังไข่เป็นหลัก และถูกสร้างจากอวัยวะอื่นในปริมาณที่น้อยกว่า เช่น ตับ ต่อมหมวกไต เต้านมและเซลล์ไขมัน เจ้าฮอร์โมนตัวนี้องค์การวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศจัดให้เป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่มที่หนึ่ง คือมีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ เมื่อในร่างกายคนอ้วนมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงกว่าปกติ จึงมีการจับกับตัวรับฮอร์โมนในเซลล์มากขึ้น ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอในเซลล์ กลายเป็นเซลล์มะเร็งและกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งมีการแบ่งตัวมากขึ้นในที่สุด

ดังนั้นภาวะอ้วนจึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งเต้า ส่วนการที่จะรู้ว่าตัวเราเข้าขั้นอ้วนแล้วหรือยัง ก็คำนวณได้จากค่าดัชนีมวลกาย โดยการเอาน้ำหนักเป็นกิโลกรัมตั้งแล้วหารด้วยความสูงเป็นเมตร ได้เท่าไหร่ก็เอาความสูงเป็นเมตรหารซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ถ้าค่าที่ได้อยู่ในช่วง 18-25 แปลว่าน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ ถ้าเกินกว่า 25 ก็แสดงว่าเริ่มน้ำหนักเกินแล้ว ถ้าค่าที่ได้เกินกว่า 30 ก็เรียกว่าอ้วนได้อย่างเต็มปากเต็มคำ หากรูปร่างของคนอ้วนนั้นมีลักษณะรูปทรงแบบอ้วนลงพุงป่องตรงกลางตัว แบบนี้เขาเรียกว่าอ้วนแบบทรงลูกแอปเปิ้ล หุ่นแบบนี้มีผลเสียและมีความเสี่ยงต่อสุขภาพมากกว่า พวกนี้มักมีระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูง นอกจากจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูงแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งมากกว่าพวกอ้วนแบบทรงลูกแพร์ที่มีไขมันสะสมมากบริเวณบั้นท้ายและต้นขา
ใครที่รู้ตัวว่าอ้วนหรือเริ่มจะอ้วนแล้ว ก็อย่าผัดวันประกันพรุ่ง เริ่มลดน้ำหนักอย่างถูกต้องด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกายเป็นหลักได้แล้วนะครับ เอาแค่ลดได้สัปดาห์ละครึ่งกิโลก็โอเคแล้ว ใจเย็นๆ อย่าใจร้อน เดี๋ยวจะหัวใจวายไปซะก่อน

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

http://www.thaihealth.or.th/Content/27519-%E2%80%98%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%99%E2%80%99%20%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%20.html

กล้วยมีคุณค่า

กล้วยมีคุณค่า

กล้วยเป็นผลไม้ที่หาทานได้ง่าย มีคุณประโยชน์

กล้วยแต่ละแบบนั้นก็ให้ประโยชน์ต่างกัน

          1. กล้วยดิบ
          มีสารฝาดสมานชื่อ แทนนิน ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ช่วยป้องกันผนังกระเพาะลำไส้ไม่ให้เชื้อโรคและของรสเผ็ดจัด เช่น พริก เข้าไปทำลายผนังกระเพาะลำไส้ ช่วยแก้ท้องเสีย

          2. กล้วยที่เพิ่งเริ่มสุก (กล้วยห่าม)
          เปลือกยังสีเขียวอยู่ประปราย เป็นทั้งยาและอาหารที่ดีมากสำหรับคนท้องเสีย เพราะนอกจากจะช่วยแก้ท้องเสียแล้ว ยังช่วยหล่อลื่นลำไส้ ช่วยเพิ่มกากเวลาถ่าย กล้วยกึ่งดิบกึ่งสุกยังมีธาตุโพแทสเซียมสูงมาก ดังนั้นเวลาใช้กล้วยแก้ท้องเสีย ก็เท่ากับให้ธาตุโพแทสเซียมไปในตัวด้วย

          3. กล้วยสุก
          เป็นยาระบายแก้ท้องผูก เพราะมีสารเพ็กตินอยู่มาก ช่วยเพิ่มกากในลำไส้ กล้วยที่สุกงอมมากๆ จะมีฤทธิ์ระบายสูง เพราะมีสารเพ็กตินมาก ต้องทานเป็นประจำวันละ 5-6 ลูก จึงจะเห็น

          4. กล้วยสุกงอม
          กล้วยที่สุกเต็มที่จะสร้างสารที่เรียกว่า TNF ซึ่งมีความสามารถที่จะไปต่อสู้กับเซลล์ที่ผิดปกติ ยิ่งกล้วยสุกมากเท่าไหร่ ก็จะเกิดจุดสีดำที่เปลือกมากขึ้น ยิ่งมีจุดดำนี้มากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้เกิดภูมิต้านทานมากขึ้น ในการทดลองโดยศาสตราจารย์ญี่ปุ่นผู้หนึ่งแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว

          ในการเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้จากผลไม้ต่างๆ ปรากฏว่า กล้วยให้ผลดีที่สุด มันช่วยทำให้เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น เพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย และสร้างสารต้านมะเร็ง


http://www.thaihealth.or.th/Content/25376-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%204%20%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2.html

อาหารกระป๋องที่ไม่ควรบริโภค

อาหารกระป๋องเป็นโทษต่อสุขภาพได้ ถ้าเสื่อมสภาพ


ลักษณะ 7 ประการของอาหารกระป๋องที่ไม่ควรบริโภค

1. กระป๋องบุบบี้หรือโป่งพองและเป็นสนิม
2. เมื่อกดลงบนปากกระป๋องแล้วยุบลงไป
3. เมื่อเขย่าจะมีเสียงกระฉอกของน้ำกับอากาศ
4. เปิดกระป๋องแล้วมีอากาศ(ลม)ออกมาจากภายใน
5. เปิดแล้วได้กลิ่นเน่าบูดหรือกลิ่นผิดไปจากเดิม
6. เมื่อเทอาหารออกเห็นสนิมหรือรอยถลอกในกระป๋อง
7. อาหารที่ผลิตมานานมากหรือหมดอายุแล้ว

/// ขอบคุณรข้อมูลจาก Fda Thai